บรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะ (Tamper-Evident Packaging): ตอนที่ 7
รศ. ดร. สมบูรณ์ เจตลีลา ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
26,241 ครั้ง เมื่อ 2 ช.ม.ที่แล้ว | |
2011-12-12 |
ฝาพลาสติก
เมื่อปิดผนึกภาชนะด้วยฝาพลาสติก การเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้นั้น จะต้องทำฝาให้ฉีกขาดอย่างสมบูรณ์เมื่อเอาออกจากภาชนะ หรือทิ้งส่วนของฝาไว้ที่ภาชนะ ฝาหรือส่วนของฝาจะต้องฉีกขาดเพื่อเปิดภาชนะหรือนำเอาผลิตภัณฑ์ออกมา ภาชนะและฝาที่ถูกแกะจะต้องไม่อยู่ในสภาพเดิม1, 2 ดังนั้นเมื่อมีการแกะฝาออกก็จะเห็นขวดที่มีฝาในลักษณะที่ฉีกขาดทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนถึงมือเรา ในตอนนี้จะกล่าวถึงฝาพลาสติกที่น่าสนใจ3 แบบด้วยกัน เพื่อนำมาศึกษาลักษณะพื้นฐานที่น่าสนใจ
ฝาพลาสติก
ฝาเกลียวกันขโมยชั้นเดียว มีลักษณะคล้ายกับฝาโลหะขึ้นรูปเกลียวกันขโมยที่กล่าวถึงในตอนที่แล้ว ผลิตจากพลาสติกหลอมที่ขึ้นรูปฝาด้วยแม่พิมพ์แบบฉีด เราจะเห็นรอยเกลียวเฉพาะข้างฝาด้านในเท่านั้น เมื่อมองด้านนอกจะเห็นริ้วเชื่อมเพื่อเลาะออก (tear-off strip) เป็นแนวชั้นเดียวที่เชื่อมระหว่างฝาด้านบนกับฝั่ง (bank) ด้านล่าง ซึ่งจะขาดง่ายเมื่อหมุนทวนเข็มนาฬิกา ส่วนฝั่งจะรัดแน่นกับคอและอยู่บนวงแหวนรอบคอ3
ฝาเกลียวกันขโมยสองชั้น
มีลักษณะคล้ายกับฝาเกลียวกันขโมยชั้นเดียว แต่จะปรากฏริ้วเชื่อมเป็นแนว 2 ชั้น ตรงกลางระหว่างแนวริ้วเชื่อมเรียก แถบ หรือ ซี่ (rib) ซึ่งจะขาดออกมาเป็นแถบเมื่อจับส่วนต้นของแถบหมุนทวนเข็มนาฬิกาจนกระทั่งแถบหลุดออก จึงสามารถเปิดฝาออกจากปากภาชนะ ผลิตจากพลาสติกหลอมที่ขึ้นรูปฝาด้วยแม่พิมพ์แบบฉีด ส่วนของฝั่งจะรัดแน่นกับคอแบบสรวมนอก (snap-on)
ฝาแบบเฟืองล้อ (Ratchet-Style Cap)
เป็นฝาพลาสติกที่ส่วนล่างเรียกเฟืองล้อ ติดกับส่วนฝาด้วยริ้วเชื่อมเพื่อเลาะออก (tear-away strip) จับเฟืองล้อให้หมุนตามเข็มนาฬิกาในทิศทางเดียวกับฟันเฟืองเฉียง (sloping teeth) ทำให้ปิดสนิทเมื่อหมุนไปสุด เมื่อต้องการเข้าถึงผลิตภัณฑ์จะต้องหมุนฝาทวนเข็มนาฬิกา ทำให้เฟืองล้อติดล็อคฟันเฟืองเฉียงและหมุนฝาได้อย่างเดียว ริ้วเชื่อมจึงขาดออกและทิ้งให้เห็นร่องรอยของเฟืองล้อล็อคคาฟันเฟือง3 ฝาชนิดนี้ออกแบบสำหรับปิดขวดยาหยอดตาปราศจากเชื้อบางยี่ห้อ ซึ่งเป็นขวดพอลิเอธิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำที่มีขีดการเด้งคืนตัวสูงหลังบีบ (high squeezability) เพื่อบีบยาหยอดตาออกมาทีละหยดจากปลายจงอยปาก นอกจากนี้ยังมีให้เห็นในฝาขวดน้ำดื่มหลายๆ ยี่ห้อ แต่ปราศจากจงอยปาก
![]() |
เมทานอลในเหล้าต้มสุราเถื่อน อันตรายถึงแก่ชีวิต 1 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
หน้าสวยด้วย “ทานาคาของเมียนม่าร์หรือกระแจะของไทย” 1 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
โรคจีซิกพีดี...ยาและอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ความเครียด และวิธีแก้ความเครียด 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ความรู้เรื่องวัคซีน HPV (Human Papilomavirus Vaccine) 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
การใช้ยาในหญิงมีครรภ์ : ข้อแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายต่อทารกในครรภ์ 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาคุม 24+4: วิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมกับผู้หญิงไทยยุคใหม่ 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ว่านชักมดลูก 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ทีมหมูป่า เด็กติดถ้ำ กับภาวะ Refeeding Syndrome ที่ต้องระวัง 2 นาทีที่แล้ว |
![]() |
วัคซีนโควิด-19 ตอนที่ 3 : การพัฒนาสู่รูปแบบที่ไม่ใช้เข็มฉีดยา 2 นาทีที่แล้ว |
![]() ![]() |
|
ที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานภายในคณะฯ
HTML5 Bootstrap Font Awesome