เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


ยาโกรทฮอร์โมนสำหรับผู้ใหญ่


รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิง นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์
หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก : https://besthghdoctor.com/wp-content/uploads/2020/08/HGH-device-1024x680.jpg
อ่านแล้ว 49,552 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 01/03/2565
อ่านล่าสุด 14 นาทีที่แล้ว
Access Denied
Access Denied (authentication_failed)
Your username or password incorrect : General authentication failure due to bad user ID or authentication token. You will not be permitted access until your credentials can be verified.
This is typically caused by an incorrect username or password, but could also be caused by network authenticated problems.
Mahidol University will launch the new network authentication system on August 1, 2014. Please check the username required for accessing the university Internet, MU WiFi and VPN from August 1, 2014 onwards.

read more

มหาวิทยาลัยปรับเปลี่ยนระบบการยืนยันตัวตน (Network Authentication) ในการเข้าใช้งานระบบ Internet, MU WiFi และ VPN ของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2557 เป็นต้นไป

รายละเอียดเพิ่มเติม

For assistance, contact internet consult support team email consult@mahidol.ac.th or 02-849-6228,02-849-6229.
&level=L" border="0" alt=" Access Denied
Access Denied (authentication_failed)
Your username or password incorrect : General authentication failure due to bad user ID or authentication token. You will not be permitted access until your credentials can be verified.
This is typically caused by an incorrect username or password, but could also be caused by network authenticated problems.
Mahidol University will launch the new network authentication system on August 1, 2014. Please check the username required for accessing the university Internet, MU WiFi and VPN from August 1, 2014 onwards.

read more

มหาวิทยาลัยปรับเปลี่ยนระบบการยืนยันตัวตน (Network Authentication) ในการเข้าใช้งานระบบ Internet, MU WiFi และ VPN ของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2557 เป็นต้นไป

รายละเอียดเพิ่มเติม

For assistance, contact internet consult support team email consult@mahidol.ac.th or 02-849-6228,02-849-6229.
" style="margin-top:10px;border:1px solid #eee" />
Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ Access Denied
Access Denied (authentication_failed)
Your username or password incorrect : General authentication failure due to bad user ID or authentication token. You will not be permitted access until your credentials can be verified.
This is typically caused by an incorrect username or password, but could also be caused by network authenticated problems.
Mahidol University will launch the new network authentication system on August 1, 2014. Please check the username required for accessing the university Internet, MU WiFi and VPN from August 1, 2014 onwards.

read more

มหาวิทยาลัยปรับเปลี่ยนระบบการยืนยันตัวตน (Network Authentication) ในการเข้าใช้งานระบบ Internet, MU WiFi และ VPN ของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2557 เป็นต้นไป

รายละเอียดเพิ่มเติม

For assistance, contact internet consult support team email consult@mahidol.ac.th or 02-849-6228,02-849-6229.
 


“โกรทฮอร์โมน (growth hormone)” หรือ “ฮอร์โมนเจริญเติบโต” เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นการเจริญเติบโตในเด็ก การขาดฮอร์โมนนี้หรือมีการหลั่งฮอร์โมนไม่เพียงพอจะทำให้เด็กเติบโตช้าและตัวเตี้ย ความสำคัญของโกรทฮอร์โมนไม่ได้มีเฉพาะช่วงวัยเด็กเท่านั้นแต่มีตลอดช่วงชีวิต แม้ว่าผู้ใหญ่จะต้องการฮอร์โมนนี้ในปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับเด็กแต่ปริมาณที่เพียงพอมีความสำคัญต่อการดำรงชีพ ผู้ใหญ่ที่ขาดโกรทฮอร์โมนหรือมีไม่เพียงพอจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลายอย่างจนอาจบั่นทอนอายุขัย จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาโกรทฮอร์โมนทดแทน ในบทความนี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสำคัญของโกรทฮอร์โมนในผู้ใหญ่และผลเสียหากขาดฮอร์โมนนี้, ยาโกรทฮอร์โมนที่ใช้ในผู้ใหญ่และประโยชน์ที่ได้รับ, ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยาโกรทฮอร์โมน และผลไม่พึงประสงค์ พร้อมทั้งข้อควรคำนึงเมื่อใช้ยาโกรทฮอร์โมนในผู้ใหญ่

ความสำคัญของโกรทฮอร์โมนในผู้ใหญ่และผลเสียหากขาดฮอร์โมน

ในร่างกายโกรทฮอร์โมน (growth hormone หรือ somatotropin หรือ GH) หลั่งจากส่วนหน้าของต่อมใต้สมอง (anterior pituitary gland) เมื่อได้รับการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนจากสมองส่วนที่เรียกว่าไฮโปทาลามัส (hypothalamus) โกรทฮอร์โมนประกอบด้วยกรดอะมิโน 191 ตัว การหลั่งฮอร์โมนนี้เกิดขึ้นตลอดทุกช่วงอายุ โดยหลั่งมากช่วงวัยเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กและหลั่งลดลงในผู้ใหญ่โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ด้วยเหตุนี้เด็กที่ขาดโกรทฮอร์โมนบางคนเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่อาจไม่ต้องการฮอร์โมนทดแทน ในขณะที่บางคนยังคงต้องการ การหลั่งโกรทฮอร์โมนเกิดสูงสุดขณะนอนหลับทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โกรทฮอร์โมนมีบทบาทในเมแทบอลิซึม (เมแทบอลิซึมหมายถึงกระบวนการสร้างและสลายสาร) ของโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมัน จึงมีความสำคัญต่อพัฒนาการและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ในทุกวัย ด้วยเหตุนี้โกรทฮอร์โมนจึงมีความสำคัญตลอดช่วงชีวิต ผู้ใหญ่ที่ขาดฮอร์โมนนี้ (รวมถึงการมีไม่เพียงพอ) มีความเสี่ยงต่อการเกิดผลเสียต่อร่างกายมากกว่าคนทั่วไป โดยจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือความบกพร่องบางอย่าง เช่น โรคอ้วน, โรคเบาหวาน, โรคของหัวใจและหลอดเลือด, โรคกระดูกพรุนและเกิดกระดูกหักเมื่อสูงอายุ, ประสิทธิภาพทางกายลดลง ทำให้อ่อนล้าง่าย ใช้แรงมากไม่ได้และทนการออกกำลังกายนานไม่ได้, ผิวบางและแห้ง, สุขภาวะทางจิตลดลง ไม่ชอบเข้าสังคม แม้แต่การพูดคุยกับเพื่อนฝูงหรือคนในครอบครัว และอาจเกิดภาวะวิตกกังวลหรือภาวะซึมเศร้า สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและอายุขัยได้ ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ชัดเจนขึ้นในผู้สูงอายุ (ดูรูป) หลายคนไม่รู้ตัวถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จนเมื่อได้รับการรักษาด้วยการให้โกรทฮอร์โมนทดแทนจึงรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อ ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ยาโกรทฮอร์โมนในผู้ใหญ่)



สาเหตุของการขาดโกรทฮอร์โมนในผู้ใหญ่

ภาวะขาดโกรทฮอร์โมนในผู้ใหญ่ต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (ด้านโรคของต่อมไร้ท่อ) โดยต้องผ่านการตรวจร่างกายและประเมินความสามารถของต่อมใต้สมองในการหลั่งโกรทฮอร์โมน สาเหตุของการขาดโกรทฮอร์โมนในผู้ใหญ่อาจต่อเนื่องมาจากวัยเด็ก หรือเริ่มเกิดขึ้นเมื่อเป็นผู้ใหญ่
  1. การขาดโกรทฮอร์โมนต่อเนื่องมาจากวัยเด็ก เด็กที่ขาดโกรทฮอร์โมนภายหลังได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตและเพิ่มความสูง จนถึงวัยที่ส่วนปลายของกระดูกยาว (epiphysis) เชื่อมปิดกันแล้ว เมื่อโตขึ้นการทำงานของต่อมใต้สมองอาจดีขึ้นประกอบกับผู้ใหญ่ต้องการโกรทฮอร์โมนน้อยลง ปริมาณที่ร่างกายสร้างได้เล็กน้อยจึงอาจเพียงพอ แต่มีจำนวนไม่น้อยที่โกรทฮอร์โมนยังคงไม่เพียงพอเพื่อการทำหน้าที่ในร่างกาย ด้วยเหตุนี้ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ภายหลังหยุดการรักษาด้วยยาโกรทฮอร์โมนทดแทนสักระยะหนึ่งซึ่งไม่น้อยกว่า 1 เดือน ควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโรคของต่อมไร้ท่อเพื่อรับการตรวจร่างกายและประเมินความสามารถของต่อมใต้สมองในการหลั่งโกรทฮอร์โมน เพื่อการวินิจฉัยว่าจะต้องได้รับการรักษาต่อไปหรือไม่
  2. การขาดโกรทฮอร์โมนที่เริ่มเกิดขึ้นเมื่อเป็นผู้ใหญ่ อาจมีสาเหตุดังนี้
    • เนื้องอก อาจเกิดที่ไฮโปทาลามัส (ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนมากระตุ้นส่วนหน้าของต่อมใต้สมองให้หลั่งโกรทฮอร์โมนดังกล่าวแล้วข้างต้น) หรือเกิดที่ต่อมใต้สมอง หรือเกิดโดยรอบบริเวณเหล่านั้น เนื้องอกอาจกดหรือเบียดกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนจนเซลล์เหล่านั้นทำงานไม่ได้ หรือการขาดฮอร์โมนเป็นผลตามมาจากการรักษาเนื้องอกโดยการผ่าตัดหรือฉายรังสี จนเป็นอันตรายต่อกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมน ซึ่งการเกิดเนื้องอกเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของการขาดโกรทฮอร์โมนที่เริ่มเกิดขึ้นเมื่อเป็นผู้ใหญ่
    • ต่อมใต้สมองทำงานน้อยจนขาดฮอร์โมนทุกอย่าง (panhypopituitarism) ในกรณีเช่นนี้การรักษาต้องได้รับฮอร์โมนอื่นร่วมด้วยนอกเหนือจากโกรทฮอร์โมน สาเหตุอาจเกิดจากการบาดเจ็บที่สมองจากเหตุต่าง ๆ เช่น อุบัติเหตุที่ศีรษะ, โรคหลอดเลือดสมอง (stroke), การมีภาวะเลือดไหลบริเวณฐานกะโหลกศีรษะ, การติดเชื้อที่สมองหรือเยื่อหุ้มสมอง
    • ภาวะไฮโปทาลามัสหลั่งฮอร์โมนน้อยแบบเรื้อรัง ทำให้มีปริมาณฮอร์โมนน้อยเกินไปในการกระตุ้นต่อมใต้สมองให้หลั่งโกรทฮอร์โมน ซึ่งคล้ายกับที่เกิดในเด็ก แต่สาเหตุนี้พบได้น้อย
ยาโกรทฮอร์โมนที่นำมาใช้

ผู้ใหญ่ที่ขาดโกรทฮอร์โมนต้องได้รับการรักษาด้วยยาโกรทฮอร์โมนเพื่อให้ทดแทน ปริมาณที่ใช้สำหรับผู้ป่วยแต่ละรายแตกต่างกัน ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความสามารถของร่างกายในการหลั่งฮอร์โมนว่ายังมีมากหรือน้อยเพียงใด, อายุ ซึ่งปริมาณที่ต้องการลดลงตามวัย, เพศ ซึ่งผู้หญิงที่มีการใช้ยาประเภทเอสโตรเจนอาจต้องการยาโกรทฮอร์โมนในปริมาณที่มากกว่าผู้ชาย เนื่องจากเอสโตรเจนมีฤทธิ์ลดการสร้างไอจีเอฟ-1 ที่ตับ (ดูข้อมูลเกี่ยวกับไอจีเอฟ-1 ในหัวข้อ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยาโกรทฮอร์โมน) ยาโกรทฮอร์โมนที่มีใช้ในขณะนี้เป็นยาฉีดเข้าใต้ผิวหนัง อาจเป็นชนิดฉีดทุกวัน ได้แก่ โซมาโทรพิน (somatropin) และชนิดที่ออกฤทธิ์นานซึ่งฉีดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ได้แก่ โซมาแพซิแทน (somapacitan)
  1. โซมาโทรพิน (somatropin) เป็นรีคอมบิแนนต์ฮิวแมนโกรทฮอร์โมน (recombinant human growth hormone หรือ rhGH) ที่มีกรดอะมิโน 191 ตัวและเรียงกันเหมือนโกรทฮอร์โมนของคน มีจำหน่ายหลายผลิตภัณฑ์และมีรูปแบบที่สามารถฉีดยาด้วยตนเอง ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่แต่ปริมาณที่ใช้ต่างกันมาก ในผู้ใหญ่ขนาดยาที่ใช้อาจคิดตามน้ำหนักตัวหรือไม่คิดตามน้ำหนักตัวดังที่จะกล่าวข้างล่างนี้ แต่จะเริ่มด้วยขนาดต่ำและเพิ่มทีละน้อยโดยดูจากผลการรักษา ผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง) และระดับไอจีเอฟ-1 ในซีรัม หากเกิดผลข้างเคียงอาจต้องลดขนาดยา ซึ่งขนาดยาที่เหมาะสมในแต่ละคนจะต่างกัน ในการปรับเพิ่มขนาดยาหากเป็นผู้สูงอายุจะปรับเพิ่มน้อยและเพิ่มช้ากว่าคนหนุ่มสาว และขนาดยาที่เหมาะสมจะต่ำกว่าคนหนุ่มสาว เนื่องจากมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงได้มากกว่า

    --กรณีที่คิดตามน้ำหนักตัว เริ่มด้วยขนาดต่ำไม่เกิน 0.006 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ฉีดเข้าใต้ผิวหนังทุกวัน (รวมทั้งสัปดาห์แล้วไม่เกิน 0.04 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) อาจค่อย ๆ ปรับเพิ่มทุก 4-8 สัปดาห์ (1-2 เดือน) โดยขึ้นกับผลการรักษา ผลข้างเคียง และระดับไอจีเอฟ-1 ในซีรัม โดยขนาดสูงสุดต่อวันในผู้ที่มีอายุไม่เกิน 35 ปีจะไม่เกิน 0.025 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และในผู้ที่อายุมากกว่า 35 ปีจะไม่เกิน 0.0125 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งขีดจำกัดสำหรับขนาดยาเริ่มต้นและการปรับเพิ่มขนาดยาของแต่ละผลิตภัณฑ์อาจต่างจากนี้ได้เล็กน้อยตามผลการศึกษาทางคลินิกของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ) การคิดขนาดยาตามน้ำหนักตัวอาจไม่เหมาะกับคนอ้วน

    --กรณีที่ไม่คิดตามน้ำหนักตัว ขนาดเริ่มต้น 0.2 มิลลิกรัม/วัน (ช่วงที่ใช้ได้อยู่ระหว่าง 0.15-0.30 มิลลิกรัม/วัน) อาจปรับเพิ่มทีละน้อยทุก 1-2 เดือนในขนาดประมาณ 0.1-0.2 มิลลิกรัม/วัน โดยขึ้นกับผลการรักษา ผลข้างเคียง และระดับไอจีเอฟ-1 ในซีรัม

    โดยทั่วไปขนาดยาโกรทฮอร์โมนที่ใช้สำหรับผู้ใหญ่เป็นดังนี้

    --อายุน้อยกว่า 30 ปี: 0.4-0.5 มิลลิกรัม/วัน (ผู้ที่เคยได้รับการรักษาด้วยยาโกรทฮอร์โมนในวัยเด็ก ช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่วัยผู้ใหญ่อาจใช้ขนาดสูงกว่านี้)
    --อายุ 30-60 ปี: 0.2-0.3 มิลลิกรัม/วัน
    --อายุมากกว่า 60 ปี หรือผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน: 0.1-0.2 มิลลิกรัม/วัน
  2. ยาโกรทฮอร์โมนชนิดออกฤทธิ์นาน ยาโกรทฮอร์โมนชนิดที่ใช้กันมากเพื่อเป็นฮอร์โมนทดแทนคือโซมาโทรพิน ใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนังทุกวัน ผู้ป่วยหลายคนกลัวเจ็บจึงไม่ชอบ อีกทั้งบางคนอาจลืมฉีดยา จึงมีการพัฒนายาให้มีการออกฤทธิ์ได้นานขึ้นโดยการดัดแปลงโครงสร้างยาหรือผลิตในรูปแบบที่มีการปล่อยตัวยาทีละน้อย เพื่อให้ออกฤทธิ์ได้นานขึ้น (เช่น PEGylated formulation, pro-drug formulation, noncovalent albumin binding growth hormone, depot formulation) เพื่อลดการฉีดยาเหลือสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือฉีดทุก 2 สัปดาห์ หรือฉีดทุกเดือน บางชนิดมีการนำมาใช้ระยะหนึ่งแล้วเลิกใช้ ขณะนี้ยาโกรทฮอร์โมนชนิดออกฤทธิ์นานที่มีใช้แล้วในบางประเทศ มีทั้งชนิดที่ใช้กับเด็ก คือ โลนาเพกโซมาโทรพิน (lonapegsomatropin) โครงสร้างประกอบด้วยตัวยาโซมาโทรพินที่เชื่อมกับพาหะ (methoxypolyethylene glycol carrier) ซึ่งทำหน้าที่ปล่อยตัวยาทีละน้อยอย่างช้า ๆ ทำให้ยาออกฤทธิ์ได้นาน และชนิดที่ใช้กับผู้ใหญ่ คือ โซมาแพซิแทนดังข้อมูลที่จะกล่าวข้างล่างนี้ อย่างไรก็ตามยาโกรทฮอร์โมนชนิดออกฤทธิ์นานถือว่าเป็นสิ่งใหม่ การฉีดสัปดาห์ละ 1 ครั้งหรือห่างกว่านี้จะต่างจากการหลั่งโกรทฮอร์โมนตามธรรมชาติ ซึ่งในแต่ละวันหลั่งสูงสุดขณะนอนหลับ (ไม่ได้หลั่งสม่ำเสมอตลอดทั้งวัน) อีกทั้งโครงสร้างยามีการดัดแปลงเล็กน้อยจึงไม่เหมือนโกรทฮอร์โมนในร่างกาย ด้วยเหตุนี้ยังต้องการผลการศึกษาระยะยาวมาสนับสนุนทั้งด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาชนิดออกฤทธิ์นานเหล่านี้

    โซมาแพซิแทน (somapacitan) โครงสร้างยามีกรดอะมิโน 191 ตัวคล้ายโกรทฮอร์โมนในร่างกาย (ยานี้เป็น human growth hormone analog) แต่ตรงกรดอะมิโนตำแหน่งที่ 101 มีการเปลี่ยนแปลงโดยเชื่อมต่อด้วยส่วนที่จะใช้จับกับอัลบูมิน (albumin-binding moiety) เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้นาน ผลิตโดยกรรมวิธีรีคอมบิแนนต์ดีเอ็นเอเทคโนโลยี (recombinant DNA technology) เป็นยาสำหรับใช้กับผู้ใหญ่ (อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อนำมาใช้กับเด็ก) ผลิตในรูปแบบปากกาพร้อมฉีดสำหรับใช้กับผู้ป่วยรายเดียว (single-patient-use prefilled pen) มีตัวยา 10 มิลลิกรัม ในปริมาตร 1.5 มิลลิลิตร (6.7 มิลลิกรัม /มิลลิลิตร) ฉีดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เริ่มแรก 1.5 มิลลิกรัม เพิ่มได้ครั้งละ 0.5-1.5 มิลลิกรัม ทุก 2-4 สัปดาห์ โดยขึ้นกับผลการรักษา ผลข้างเคียง และระดับไอจีเอฟ-1 ในซีรัม หากเกิดผลข้างเคียงจะลดขนาดยา ทั้งนี้ขนาดสูงสุดไม่เกิน 8 มิลลิกรัม ฉีดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง สำหรับผู้ที่มีอายุกว่า 65 ปีเริ่มด้วยขนาดต่ำลง คือ 1 มิลลิกรัม ฉีดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง การเพิ่มขนาดยาแต่ละครั้งในผู้สูงอายุจะน้อยและช้ากว่าในคนหนุ่มสาว
ยาโกรทฮอร์โมนฉีดบริเวณไหนและฉีดเวลาใด?

ยาโกรทฮอร์โมนที่มีใช้ขณะนี้เป็นชนิดฉีดเข้าใต้ผิวหนัง อาจฉีดบริเวณท้อง ต้นแขน สะโพกส่วนก้น หรือต้นขา ควรเปลี่ยนบริเวณที่ฉีดในแต่ละครั้งเพื่อไม่ให้เกิดการฝ่อของเนื้อเยื่อไขมันและรอยฟกช้ำตรงที่ฉีด ในกรณีที่ฉีดยาทุกวัน ไม่ควรฉีดใกล้มื้ออาหารจนเกินไป (ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังอาหาร) เนื่องจากโกรทฮอร์โมนทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน (insulin resistance) นอกจากนี้การฉีดยาช่วงค่ำหรือใกล้เวลาเข้านอนยาจะออกฤทธิ์ได้ดีเนื่องจากคล้ายกับการหลั่งโกรทฮอร์โมนตามธรรมชาติในร่างกายซึ่งหลั่งสูงสุดขณะนอนหลับ อีกทั้งยาจะแสดงฤทธิ์ได้ดีช่วงท้องว่าง หากลืมฉีดยาในวันใด วันถัดไปให้ฉีดตามเวลาปกติและไม่ต้องเพิ่มขนาดยา กรณีที่ฉีดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หากลืมไม่เกิน 3 วัน (72 ชั่วโมง) ให้ฉีดทันทีที่นึกได้ หากเกิน 3 วันให้ข้ามการฉีดในสัปดาห์นั้น และฉีดครั้งถัดไปตามปกติ

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยาโกรทฮอร์โมน

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา (pharmacological action) หมายถึงฤทธิ์ของยา (เช่น ยาโกรทฮอร์โมน) ซึ่งเป็นสารที่ให้เข้าสู่ร่างกายเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น การรักษาโรค ในขนาดที่ใช้ได้ผล ส่วนฤทธิ์ทางสรีรวิทยา (physiological action) หมายถึงฤทธิ์ของสารในร่างกายที่มีอยู่แล้วในปริมาณที่หลั่งตามธรรมชาติเพื่อการทำหน้าที่ตามปกติ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยาโกรทฮอร์โมนส่วนใหญ่จะเหมือนกับการแสดงฤทธิ์ทางสรีรวิทยาของโกรทฮอร์โมนในร่างกาย ยาโกรทฮอร์โมนอาจแสดงฤทธิ์โดยตรงผ่านตัวรับ (GH receptor) ที่อยู่บนผิวเซลล์ หรือแสดงฤทธิ์ผ่านสารชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างคล้ายอินซูลิน คือไอจีเอฟ-1 (IGF-1 หรือ insulin-like growth factor-1 หรือ somatomedin C) ซึ่งโกรทฮอร์โมนที่มีในร่างกายและยาโกรทฮอร์โมน (ซึ่งให้จากภายนอก) จะกระตุ้นการสร้างไอจีเอฟ-1 ที่ตับ ระดับไอจีเอฟ-1 ในซีรัมจะสัมพันธ์กับประสิทธิภาพของยาจึงใช้ในการประเมินผลการรักษา ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยาโกรทฮอร์โมนที่จะกล่าวถึง (เพื่อให้เกิดความเข้าใจทั้งด้านการนำยาไปใช้ประโยชน์และด้านผลไม่พึงประสงค์) มีดังนี้
  1. กระตุ้นการเจริญในระดับเซลล์ จนถึงระดับเนื้อเยื่อและอวัยวะ (ทั้งอวัยวะภายนอกและอวัยวะภายใน) ทำให้เด็กมีกล้ามเนื้อโครงร่างและกระดูกเจริญเติบโต มีรูปร่างสูงใหญ่ นำมาใช้รักษาภาวะเด็กเติบโตช้าและตัวเตี้ยเพราะขาดฮอร์โมนนี้และจะหยุดให้ยาเมื่อส่วนปลายของกระดูกยาวเชื่อมปิดกันแล้ว จึงไม่นำมาใช้รักษาภาวะตัวเตี้ยในผู้ใหญ่
  2. กระตุ้นเมแทบอลิซึมของโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และอิเล็กโทรไลต์

    โปรตีน: ทำให้เกิดการสร้างโปรตีนในร่างกาย (anabolic effect) และลดการสร้างยูเรีย โกรทฮอร์โมนเป็นฮอร์โมนเสริมสร้าง ยาโกรทฮอร์โมนจึงเป็นสารที่ห้ามใช้ทางการกีฬา

    คาร์โบไฮเดรต: ทำให้เกิดการสลายไกลโคเจน (glycogen) มีการนำคาร์โบไฮเดรตไปใช้มากขึ้นและทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น

    ไขมัน: ทำให้เกิดการสลายไขมันไปเป็นกรดไขมันอิสระ (free fatty acid) ดังนั้นการที่ยาโกรทฮอร์โมนช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อในขณะที่ลดเนื้อเยื่อไขมัน จึงมีการนำยาโกรทฮอร์โมนไปใช้ในทางที่ผิดในด้านการกีฬาเพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อโตขึ้นในขณะที่น้ำหนักไม่เพิ่มขึ้น (เนื่องจากมีเนื้อเยื่อไขมันลดลง)

    อิเล็กโทรไลต์: ทำให้เกิดการสะสมแมกนีเซียม โซเดียม โพแทสเซียมและฟอสเฟตในร่างกายเพิ่มขึ้น ซึ่งฟอสเฟตเป็นส่วนประกอบของกระดูก ส่วนการสะสมโซเดียม (รวมถึงน้ำ) ทำให้มีความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
  3. ฤทธิ์อื่น ๆ เช่น เพิ่มจำนวนเม็ดเลือดแดง, เพิ่มการสร้างคอนดรอยตินซัลเฟต (chondroitin sulfate) ซึ่งสารนี้เป็นส่วนประกอบของกระดูกอ่อน, เพิ่มการสร้างคอลลาเจน (collagen), ลดการหลั่งฮอร์โมนไทโรโทรปิน (thyrotropin หรือ thyroid-stimulating hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน (thyroid hormone) ดังนั้นการใช้ยาโกรทฮอร์โมนจึงทำให้ไทรอยด์ฮอร์โมนหลั่งน้อยลง
ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ยาโกรทฮอร์โมนในผู้ใหญ่

ภาวะขาดโกรทฮอร์โมนในผู้ใหญ่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลเสียหลายอย่างดังที่กล่าวข้างต้น บางรายอาจไม่รู้สึกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น ต่อเมื่อได้รับการรักษาด้วยยาโกรทฮอร์โมนแล้วพบการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นหลายอย่าง ดังกล่าวข้างล่างนี้
  1. ผลต่อส่วนประกอบของร่างกายที่เป็นไขมันและกล้ามเนื้อ การขาดโกรทฮอร์โมนจะมีเนื้อเยื่อไขมัน (adipose tissue) มากขึ้นในขณะที่กล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อไร้ไขมัน (lean tissue) ลดลง มีเนื้อเยื่อไขมันมาสะสมบริเวณท้องทำให้อ้วนกลางลำตัวซึ่งลดได้ยาก ผู้ที่เคยได้รับโกรทฮอร์โมนในวัยเด็กภายหลังหยุดใช้และโตเป็นผู้ใหญ่พบว่าหลายคนมีแนวโน้มอ้วนขึ้น ยาโกรทฮอร์โมนช่วยลดไขมันส่วนเกินโดยเฉพาะที่ท้องและเพิ่มกล้ามเนื้อ
  2. ผลต่อแร่ธาตุในกระดูก ผู้ใหญ่ที่ขาดโกรทฮอร์โมนจะมีแร่ธาตุสะสมในกระดูกลดลง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนและกระดูกหักเมื่ออายุมากขึ้นได้เร็วกว่าคนที่ไม่ขาดโกรทฮอร์โมน โดยเฉพาะหากในวัยเด็กกระดูกเจริญไม่ดีและการสะสมแร่ธาตุในกระดูกเกิดได้ไม่ดีจะยิ่งเร่งให้เกิดผลเสียดังกล่าว แม้มีการคาดการณ์ว่าเมื่อให้ยาโกรทฮอร์โมนทดแทนน่าจะช่วยเพิ่มแร่ธาตุในกระดูกได้แต่มีเพียงบางการศึกษาที่เห็นผลดี ในขณะที่หลายการศึกษายังไม่เห็นถึงผลดีดังกล่าว ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับกระดูกใช้เวลานานจึงต้องมีการศึกษาที่ใช้เวลานานขึ้น
  3. ผลต่อสมรรถภาพทางกาย (physical performance) การขาดโกรทฮอร์โมนทำให้มีมวลกล้ามเนื้อน้อยลง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจึงลดลง เป็นเหตุให้ประสิทธิภาพทางกายลดลง ใช้แรงมากไม่ได้ อ่อนล้าง่าย และออกกำลังกายนานไม่ได้ ผู้ใหญ่ที่ขาดโกรทฮอร์โมนจะมีความสามารถในการใช้ออกซิเจนและใช้พลังงานได้ลดลงไม่ว่าช่วงพักหรือช่วงทำงาน การรักษาด้วยยาโกรทฮอร์โมนช่วยให้การออกกำลังกาย การใช้ออกซิเจนและการสูบฉีดเลือดของหัวใจเกิดได้ดีขึ้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลโดยตรงจากฤทธิ์ของโกรทฮอร์โมนที่เพิ่มมวลกล้ามเนื้อโครงสร้างและกล้ามเนื้อหัวใจ
  4. ผลต่อไขมันในเลือด ผู้ใหญ่ที่ขาดโกรทฮอร์โมนมีแนวใน้มที่จะมีระดับไขมันในเลือดทั้งค่าโคเลสเตอรอลรวม (total cholesterol), แอลดีแอล-โคเลสเตอรอล (LDL-cholesterol หรือโคเลสเตอรอลที่ติดไปกับไลโพโปรตีนความหนาแน่นต่ำ) และไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) สูงกว่าค่าปกติ ในขณะที่เอชดีแอล-โคเลสเตอรอล (HDL-cholesterol หรือโคเลสเตอรอลที่ติดไปกับไลโพโปรตีนความหนาแน่นสูง) มีระดับต่ำกว่าค่าปกติ จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) การให้ยาโกรทฮอร์โมนช่วยลดไขมันในเลือดโดยเฉพาะเมื่อให้ร่วมกับยาลดไขมันในกลุ่มสแตติน (statins)
  5. สุขภาวะทางจิต (psychological well-being) ผู้ใหญ่ที่ขาดโกรทฮอร์โมนจะรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่ชอบเข้าสังคม มีภาวะวิตกกังวลตลอดจนภาวะซึมเศร้า การให้ยาโกรทฮอร์โมนช่วยด้านสุขภาวะทางจิต ทำให้มีความสุขและอารมณ์ดีขึ้น ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  6. ผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด โกรทฮอร์โมนมีผลซับซ้อนต่อระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ใหญ่ที่ขาดโกรทฮอร์โมนจะพบภาวะดื้อต่ออินซูลินทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากระดับไอจีเอฟ-1 ที่ลดลง การให้ยาโกรทฮอร์โมนจะเพิ่มระดับไอจีเอฟ-1 จึงช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้การลดเนื้อเยื่อไขมันอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตามหากให้ยาโกรทฮอร์โมนในขนาดสูงจะกระตุ้นการสลายไกลโคเจนและทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นได้ (ตามฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่กล่าวข้างต้น) ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้วหากต้องใช้ยาโกรทฮอร์โมนจะเริ่มต้นในขนาดต่ำ
จะต้องใช้ยาโกรทฮอร์โมนไปนานเท่าไร?

โดยทั่วไปตราบใดที่ยังคงได้รับประโยชน์จากการใช้ยาโกรทฮอร์โมนในการลดผลเสียอันเกิดจากภาวะขาดโกรทฮอร์โมนและเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี อีกทั้งไม่เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย สามารถใช้ยาต่อเนื่องเรื่อยไป แต่ถ้าใช้แล้วพบว่าไม่เกิดประโยชน์ประการใดเป็นเวลานาน 1 ปี แพทย์ผู้ให้การรักษาอาจพิจารณาหยุดการใช้ยา

ผลไม่พึงประสงค์ของยาโกรทฮอร์โมน

โซมาโทรพิน (ชนิดฉีดทุกวัน) เป็นยาโกรทฮอร์โมนชนิดที่มีใช้มานานแล้วและค่อนข้างปลอดภัยไม่ว่าจะใช้รักษาภาวะขาดโกรทฮอร์โมนในเด็กหรือในผู้ใหญ่ ผลไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย ได้แก่ ปลายแขน-ขาบวม, ปวดแขน-ขา, ตึงแขน-ขา, ปวดข้อ, ปวดกล้ามเนื้อ, บวมน้ำ, ความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน (paresthesia), ความดันโลหิตสูง และปวดศีรษะ ส่วนผลไม่พึงประสงค์ของโซมาแพซิแทน (ชนิดฉีดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง) ที่พบบ่อย ได้แก่ ปลายแขน-ขาบวม, ปวดหลัง, ปวดข้อ, อาหารไม่ย่อย, การนอนหลับผิดปกติ, เวียนศีรษะ, ต่อมทอนซิลอักเสบ, อาเจียน, ต่อมหมวกไตทำงานไม่เพียงพอ (adrenal insufficiency), ความดันโลหิตสูง, ระดับครีเอทีนฟอสโฟไคเนส (creatine phosphokinase) ในเลือดเพิ่มขึ้น, น้ำหนักตัวเพิ่ม และโลหิตจาง ส่วนผลไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ของยาโกรทฮอร์โมนที่อาจพบมีดังนี้
  1. การแพ้ยา พบได้น้อย อย่างไรก็ตามหากเกิดการแพ้ไม่ว่าจะแพ้ต่อส่วนประกอบใด ๆ ห้ามใช้ยานั้นอีก
  2. การเกิดปฏิกิริยาตรงบริเวณที่ฉีด เช่น เจ็บปวดบริเวณที่ฉีด, เนื้อเยื่อไขมันบริเวณที่ฉีดฝ่อ, รอยฟกช้ำ ในการฉีดยาแต่ละครั้งควรเปลี่ยนบริเวณที่ฉีดใหม่
  3. การดื้อต่อฤทธิ์อินซูลิน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น โดยเฉพาะเมื่อใช้ยาในขนาดสูง
  4. การเกิดแอนติบอดีต่อต้านยา พบน้อยและอาจไม่รบกวนผลการรักษา
  5. ความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอกและโรคมะเร็ง หรือทำให้ผู้ที่เป็นโรคอยู่แล้วเป็นมากขึ้น (เนื่องจากสารไอจีเอฟ-1 มีฤทธิ์กระตุ้นการเจริญของเซลล์) ซึ่งยาโกรทฮอร์โมนจะไม่ใช้กับผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  6. ผลอื่น ๆ เช่น เกิดการสะสมน้ำและอิเล็กโทรไลต์เฉียบพลัน, ความดันในกะโหลกศีรษะสูง, ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนหลั่งน้อย (hypothyroidism), ภาวะตับอ่อนอักเสบ
ข้อควรคำนึงเมื่อใช้ยาโกรทฮอร์โมนในผู้ใหญ่
  1. ความสำคัญของโกรทฮอร์โมนไม่ได้มีเฉพาะช่วงวัยเด็กเท่านั้นแต่มีตลอดช่วงชีวิต ภาวะขาดโกรทฮอร์โมนในผู้ใหญ่ต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโรคของต่อมไร้ท่อ และผู้ใหญ่ที่ขาดฮอร์โมนควรได้รับยาโกรทฮอร์โมนทดแทน
  2. ยาโกรทฮอร์โมนไม่ได้ใช้เพื่อเพิ่มความสูงในผู้ใหญ่ เนื่องจากส่วนปลายของกระดูกยาวเชื่อมปิดกันแล้ว แต่ใช้เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดผลเสียจากการขาดโกรทฮอร์โมนและเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
  3. ขนาดของยาโกรทฮอร์โมนที่นำมาใช้รักษาภาวะขาดโกรทฮอร์โมนในผู้ใหญ่จะน้อยมากเมื่อเทียบกับขนาดที่ใช้ในเด็ก และขนาดยาไม่ได้ใช้เท่าเดิมไปตลอด เมื่ออายุมากขึ้นขนาดยาจะลดลง ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีหรือผู้ป่วยโรคเบาหวานจะใช้ในขนาดต่ำกว่าคนหนุ่มสาวหรือผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน
  4. ฮอร์โมนพวกเอสโตรเจนรบกวนประสิทธิภาพของยาได้ ผู้หญิงที่ใช้ยาประเภทฮอร์โมนเอสโตรเจนเพื่อการคุมกำเนิดหรือเพื่อเป็นฮอร์โมนทดแทน ไม่ว่าจะใช้อยู่แล้ว เริ่มใช้หรือหยุดใช้ก็ตาม ควรแจ้งแพทย์ผู้ให้การรักษา
  5. การฉีดยาด้วยตนเอง บุคลากรทางการแพทย์จะแนะนำวิธีฉีดยาให้ อย่าฉีดยาเองโดยที่ยังไม่ได้ผ่านการเรียนรู้วิธีฉีดที่ถูกต้อง และควรศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสารที่เป็นข้อมูลผลิตภัณฑ์ยานั้น
  6. เมื่อต้องฉีดยาเอง ตำแหน่งที่ฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังอาจเป็นบริเวณท้อง ต้นแขน สะโพกส่วนก้น หรือต้นขา ซึ่งบริเวณนั้นต้องมีลักษณะปกติ ไม่บวม ไม่แดง ไม่มีรอยช้ำหรือเป็นก้อนแข็ง, ให้เปลี่ยนบริเวณที่ฉีดในแต่ละครั้งเพื่อไม่ให้เกิดการฝ่อของเนื้อเยื่อไขมันตรงที่ฉีดหรือเกิดรอยฟกช้ำ และใช้ยาตามขนาดที่แนะนำ การใช้ยาเกินขนาดจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลไม่พึงประสงค์ทั้งชนิดที่เกิดเฉียบพลันและผลในระยะยาว
  7. ควรฉีดยาอย่างสม่ำเสมอตามข้อแนะนำ หากลืมฉีดยาในวันใด วันถัดไปให้ฉีดตามเวลาปกติและไม่ต้องเพิ่มขนาด ในกรณีที่ฉีดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หากลืมฉีดยาให้ฉีดทันทีที่นึกได้แต่ต้องลืมไม่เกิน 3 วัน (72 ชั่วโมง) หากเกิน 3 วันให้ข้ามการฉีดในสัปดาห์นั้นและฉีดครั้งถัดไปตามปกติ
  8. การใช้ยาโกรทฮอร์โมนชนิดออกฤทธิ์นาน ควรเฝ้าระวังการเกิดผลไม่พึงประสงค์ซึ่งอาจพบได้มากกว่าชนิดฉีดทุกวัน เนื่องจากโครงสร้างตัวยาต่างจากฮอร์โมนธรรมชาติเล็กน้อย และการออกฤทธิ์ของยาจะต่อเนื่องจึงต่างจากการหลั่งฮอร์โมนตามธรรมชาติซึ่งหลั่งในแต่ละช่วงของวันไม่เท่ากัน
  9. เข้ารับการตรวจร่างกายตามนัดทุกครั้ง เพื่อประเมินด้านประสิทธิภาพของยาและการเฝ้าระวังผลไม่พึงประสงค์ของยาที่อาจเกิดขึ้น เพื่อการปรับขนาดยาให้เหมาะสม
เอกสารอ้างอิง
  1. Alexopoulou O, Maiter D. An update on diagnosis and treatment of adult growth hormone deficiency. https://www.louvainmedical.be/sites/default/files/content/article/pdf/lmed-03-2018-01-endocrino.pdf. Accessed: February 15, 2022.
  2. Yuen KCJ, Alter CA, Miller BS, Gannon AW, Tritos NA, Samson SL, et al. Adult growth hormone deficiency: optimizing transition of care from pediatric to adult services. Growth Horm IGF Res 2021. doi: 10.1016/j.ghir.2020.101375. Accessed: February 15, 2022.
  3. Scarano E, Riccio E, Somma T, Arianna R, Romano F, Di Benedetto E, et al. Impact of long-term growth hormone replacement therapy on metabolic and cardiovascular parameters in adult growth hormone deficiency: comparison between adult and elderly patients. Front Endocrinol 2021. doi: 10.3389/fendo.2021.635983. Accessed: February 15, 2022.
  4. Kim SH, Park MJ. Effects of growth hormone on glucose metabolism and insulin resistance in human. Ann Pediatr Endocrinol Metab 2017; 22:145-52.
  5. Tavares ABW, Collett-Solberg PF. Growth hormone deficiency and the transition from pediatric to adult care. J Pediatr 2021; 97:595-602.
  6. Yuen KCJ, Miller BS, Boguszewski CL, Hoffman AR. Usefulness and potential pitfalls of long-acting growth hormone analogs. Front Endocrinol 2021. doi: 10.3389/fendo.2021.637209. Accessed: February 15, 2022.
  7. Ricci Bitti S, Franco M, Albertelli M, Gatto F, Vera L, Ferone D, et al. GH replacement in the elderly: is it worth it? Front Endocrinol 2021. doi: 10.3389/fendo.2021.680579. Accessed: February 15, 2022.
  8. Vaňuga P, Kužma M, Stojkovičová D, Smaha J, Jackuliak P, Killinger Z, et al. The long-term effects of growth hormone replacement on bone mineral density and trabecular bone score: results of the 10-year prospective follow-up. Physiol Res 2021; 70(suppl 1):S61-S68.
  9. van Bunderen CC, Olsson DS. Growth hormone deficiency and replacement therapy in adults: impact on survival. Rev Endocr Metab Disord 2021; 22:125-33.
  10. Reed ML, Merriam GR, Kargi AY. Adult growth hormone deficiency - benefits, side effects, and risks of growth hormone replacement. Front Endocrinol 2013. doi: 10.3389/fendo.2013.00064. Accessed: February 15, 2022.
  11. Johannsson G. Long-acting growth hormone for replacement therapy. J Clin Endocrinol Metab 2011; 96:1668-70.
  12. Miller BS, Velazquez E, Yuen KCJ. Long-acting growth hormone preparations - current status and future considerations. J Clin Endocrinol Metab 2020. doi: 10.1210/clinem/dgz149. Accessed: February 15, 2022.
  13. Lal RA, Hoffman AR. Perspectives on long-acting growth hormone therapy in children and adults. Arch Endocrinol Metab 2019; 63:601-7;
  14. Sogroya (somapacitan-beco) injection, for subcutaneous use. Highlights of prescribing information. Reference ID: 4663035, revised: 08/2020. https://www.accessdata.fda.gov/drugsatfda_docs/label/2020/761156s000lbl.pdf. Accessed: February 15, 2022.
  15. RxList--The Internet Drug Index for prescription drug information. https://www.rxlist.com/script/main/hp.asp. Accessed: February 15, 2022.

งานประชุมวิชาการที่กำลังเปิดรับสมัคร


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ตกขาว .. รักษาอย่างไร 7 วินาทีที่แล้ว
13 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้