โรคเกาต์ (gout) ดูแลอย่างไรดี
นศภ.ปณิดา ไทยอ่อน นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
106,797 ครั้ง เมื่อ 17 นาทีที่แล้ว | |
2017-03-01 |
โรคเกาต์ (gout) เกิดจากการสะสมผลึกเกลือโมโนโซเดียมยูเรต (monosodium urate) ในน้ำไขข้อและเนื้อเยื่อต่างๆ สืบเนื่องจากการมีระดับกรดยูริกในเลือดสูง (hyperuricemia) ที่มีค่ามากกว่า 6 และ 7 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในเพศหญิงและชายตามลำดับ ทั้งนี้การตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคเกาต์ทำได้โดยการตรวจพบผลึกเกลือโมโนโซเดียมยูเรต จากน้ำไขข้อหรือก้อนที่เห็นเป็นตะปุ่มตะป่ำ เรียกว่าก้อนโทฟัส (tophus) อย่างไรก็ตามระดับกรดยูริกในเลือดสูงอย่างเดียวนั้น ยังไม่สามารถที่จะยืนยันว่าเป็นโรคเกาต์ได้ ต้องมีอาการปวดบวมที่ข้อ หรือพบก้อนโทฟัส (tophus) ร่วมด้วย1,2 โรคเกาต์ ถือเป็นโรคข้ออักเสบที่พบบ่อยมีอุบัติการณ์การเกิด 4.3 คนต่อประชากรไทย 100,000 คน3 พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ดังนั้นสิ่งสำคัญที่จะให้ผู้ป่วยรับมือกับโรคเกาต์ได้ คือความเข้าใจในตัวโรคและการดูแลที่ถูกต้อง
ภาพจาก : http://img.webmd.com/dtmcms/live/webmd/consumer_assets/
site_images/articles/health_tools/gout_slideshow/phototake_photo_of_gout_finger.jpg
โรคเกาต์ สามารถแบ่งได้ 3 ระยะ คือเมื่อเกิดอาการปวดข้อขึ้นมาหรือกำเริบอีกครั้ง เราเรียกว่า ระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน (acute gouty arthritis) โดยทั่วไปสามารถหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์4 แต่ละคนอาจมีสาเหตุกระตุ้นอาการปวดข้อที่ไม่เหมือนกัน เช่น ปวดเมื่อมีอากาศหนาวเย็น5 การรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูง6 (เนื่องจากพิวรีนสามารถเปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นกรดยูริกได้) การดื่มแอลกอฮอล์7,8 หรือการใช้ยาบางชนิดที่ส่งผลให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้น2 ในขณะที่ผู้ป่วยโรคเกาต์ไม่มีอาการปวดข้อจะเรียกว่า ระยะปลอดอาการ (intercritical period) สุดท้ายหากปล่อยให้เกิดระดับกรดยูริกสูงบ่อยๆ จะนำไปสู่โรคเกาต์ ระยะเรื้อรังที่มีก้อนโทฟัส (chronic tophaceous gout) กลายเป็นข้ออักเสบเรื้อรังหลายๆ ข้อ อาการอักเสบกำเริบรุนแรงมากบ้างน้อยบ้างสลับกันไป และมีการทำลายของกระดูกข้อต่อเพิ่มมากขึ้น3
ยารักษาโรคเกาต์กำเริบเฉียบพลัน ใช้เมื่อมีอาการปวด เพื่อลดการอักเสบภายในข้อสามารถหยุดยาได้เมื่ออาการปวดข้อดีขึ้นแล้ว1,2 ยาที่ใช้เป็นส่วนใหญ่ ได้แก่
ยารักษาโรคเกาต์อีกประเภทหนึ่ง คือยาลดกรดยูริก ใช้เมื่อมีข้ออักเสบกำเริบเป็นๆ หายๆ บ่อยกว่า 2 ครั้งต่อปี มีข้ออักเสบเรื้อรัง หรือมีปุ่มโทฟัสเกิดขึ้น ยาประเภทนี้มีจุดประสงค์เพื่อละลายผลึกเกลือโมโนโซเดียมยูเรตออกจากเนื้อเยื่อและป้องกันไม่ให้ตกผลึกเพิ่มขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยจะต้องรับประทานไปตลอดชีวิต1 มีด้วยกัน 2 กลุ่ม ได้แก่
นอกจากการใช้ยาอย่างถูกต้องแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมด้วยจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาโรคเกาต์ให้ดียิ่งขึ้น เช่น
นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเกาต์ที่มีโรคประจำตัวอื่นๆ ร่วมด้วย และยาที่ใช้บางตัวอาจส่งผลให้ระดับกรดยูริกสูงขึ้นได้ เช่น ยาขับปัสสาวะกลุ่ม thiazide ยาไซโคลสปอริน (cyclosporine) ยาแอสไพรินขนาดต่ำ (ต่ำกว่า 1 กรัมต่อวัน) จึงควรมีการติดตามระดับกรดยูริกในเลือดสม่ำเสมอ โดยสรุปแล้วการดูแลโรคเกาต์นั้นไม่ยากหากผู้ป่วยมีความเข้าใจในตัวโรค และการใช้ยาอย่างถูกต้องร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคู่กันไป จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการปวดข้อ ลดการรุดหน้าของโรคไม่ให้รุนแรง และทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นอีกด้วย
![]() |
โรคเบาหวานกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) 1 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ฟอร์มาลิน-ฟอร์มัลดีไฮด์ 2 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
การพัฒนาอนุภาคนาโนและระบบนำส่ง ตอนที่ 3 6 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)...กินอย่างไรให้เหมาะสม 13 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ลูกตัวเหลือง เรื่องไม่เล็กของเด็กเปลี่ยนสี 20 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาแก้ปวดศีรษะไมเกรน Ergotamine ใช้อย่างไรจึงจะปลอดภัย 20 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
การคัดเลือกยาเข้าโรงพยาบาล ตามวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) และการประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา (price performance) 21 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาเขียว ยาไทยใช้ได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก… 23 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
เมล็ดชะโก...เครื่องเทศสำคัญในพริกแกงข้าวซอย 24 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
แพ้ยา?? คุณแน่ใจได้อย่างไร 32 วินาทีที่แล้ว |
![]() ![]() |
|
ที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานภายในคณะฯ
HTML5 Bootstrap Font Awesome