ขยะอาหาร (Food Waste)
ศาสตราจารย์ ดร.ภญ. ลีณา สุนทรสุข ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
15,764 ครั้ง เมื่อ 3 ช.ม.ที่แล้ว | |
2021-01-28 |
อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตสำหรับมนุษย์ แต่ทราบหรือไม่ว่าในแต่ละปีมีอาหารจำนวนมากที่ถูกทิ้งไปให้กลายเป็น “ขยะอาหาร (food waste)” จำนวนมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่เหลือทิ้งจากมื้ออาหารในแต่ละวันจากครัวเรือน โรงอาหาร ร้านอาหาร ภัตตาคาร งานเลี้ยงต่าง ๆ หรือถูกกำจัดออกจากกระบวนการเกษตรกรรม อุตสาหกรรมการผลิต การขนส่งและการกระจายผลิตภัณฑ์อาหารสู่ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ก่อนถึงมือผู้บริโภค ในแต่ละปีขยะอาหารเหล่านี้มีปริมาณสูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ (1.3 พันล้านตันต่อปี) หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของปริมาณอาหารที่ผลิตขึ้นทั่วโลก ในต่างประเทศมีการเก็บสถิติปริมาณขยะอาหารที่ประชากรในแต่ละประเทศผลิตขึ้นดังแสดงในตาราง
ข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่าปัญหาขยะอาหารเป็นประเด็นสาธารณะที่ทุกภาคส่วนควรให้ความร่วมมือในการแก้ไขเพื่อลดปริมาณขยะอาหาร เนื่องจากทำให้เกิดความสูญเสียทางเศษฐกิจและสิ้นเปลืองทรัพยากรจำนวนมาก เนื่องจากในกระบวนการผลิตอาหารและการทำลายขยะอาหารล้วนมีต้นทุนทั้งสิ้น ทั้งต้นทุนทางตรงและต้นทุนทางอ้อม เช่น ค่าแรง ค่าวัตถุดิบ ค่าขนส่ง ค่าปุ๋ย ค่าสารเคมี ทรัพยากรดิน และน้ำ เป็นต้น รวมทั้งการสูญเสียพลังงานจำนวนมากในการกำจัดขยะอาหาร เช่น พลังงานความร้อนเพื่อใช้ในการเผาขยะอาหาร หรือการฝังกลบขยะอาหาร รวมทั้งยังก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากขยะอาหารในแต่ละปีซึ่งมีปริมาณเท่ากับแก๊สเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากการคมนาคม
การช่วยกันลดปริมาณขยะอาหารจึงเป็นหน้าที่ของทุกคน โดยอาศัยหลักการ 3R ซึ่งประกอบด้วย Reduce, Reuse, Recycle
Reduce ได้แก่ การลดปริมาณอาหาร การจัดทำรายการซื้ออาหารเพื่อซื้อเฉพาะสิ่งที่จำเป็น ไม่กักตุน เตรียมอาหารเท่าที่ปริมาณที่จะรับประทาน โดยเฉพาะในงานเลี้ยงสังสรรค์ต่าง ๆ ซึ่งมักจะมีการเตรียมอาหารเผื่อเป็นจำนวนมาก ควรลดปริมาณลงและเตรียมเท่าที่จำเป็น
Reuse ได้แก่ การนำวัตถุดิบที่เหลือมาทำเป็นอาหารเมนูใหม่ การนำอาหารที่รับประทานเหลือจากร้านหรือภัตตาคารเพื่อนำไปรับประทานต่อสำหรับมื้อถัดไป การนำอาหารที่เหลือไปเป็นอาหารสัตว์ ร้านค้าหรือร้านอาหารต่าง ๆ อาจจะนำอาหารที่เหลือซึ่งยังอยู่ในสภาพที่ดีจำหน่ายลดราคา นำไปบริจาคหรือมอบให้แก่พนักงานไปบริโภค
Recycle ได้แก่ การนำขยะอาหารไปทำปุ๋ยหมักหรืออาหารสัตว์ การนำน้ำมันพืชใช้แล้วไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ (biofuel)
หากทุกคนสามารถทำได้ตามหลักการข้างต้นก็จะช่วยลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดภาวะโลกร้อนและเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม
![]() |
เอ็นไซม์ กับผักผลไม้สด 6 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
เทโทรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) พิษร้ายจากปลาปักเป้า 11 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
วัคซีนงูสวัด 13 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาแก้วิงเวียน ระวัง! อย่าใช้พร่ำเพรื่อ 18 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ไอโอดีน, เบตาดีน ป้องกันสารกัมมันตรังสีได้จริงหรือ 28 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตา (เบาหวานขึ้นตา) 36 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
“ตดหมูตดหมา” เพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้จริงหรือ? 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ข้อควรรู้เบื้องต้นเรื่อง “แอนติเจน เทสต์ คิท” เพื่อคัดกรองโรคโควิด-19 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
รู้จักชุดตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีด้วยตนเอง (HIV self-testing) 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ชะเอมเทศ กับความดันโลหิตสูง 1 นาทีที่แล้ว |
![]() ![]() |
|
ที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานภายในคณะฯ
HTML5 Bootstrap Font Awesome