Eng |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรชากร เอื้อติวงศ์
ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เวลาต้องเดินทางไม่ว่าจะทางรถ ทางเรือ หรือทางเครื่องบิน เชื่อว่าหลายๆคนคงเคยมีอาการเวียนหัว คลื่นไส้ หรือถึงกับอาเจียน เราเรียกอาการเหล่านี้ว่า “เมาจากการเคลื่อนไหว (motion sickness)” ซึ่งอาการนี้สามารถเกิดกับการโดยสารยานพาหนะได้ทุกประเภท โดยสาเหตุเกิดจากสมองรับสัญญาณที่ขัดแย้งกันระหว่างสิ่งที่ตามองเห็นกับสิ่งที่ร่างกายรับรู้ เช่น เวลานั่งรถยนต์ร่างกายรับรู้ว่านั่งอยู่กับที่แต่ตากลับมองเห็นว่ามีการเคลื่อนตัว ส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้ เวียนหัว อาเจียน แต่เมื่อใดที่ยานพาหนะหยุดเคลื่อนไหว อาการก็จะค่อยๆ ดีขึ้นและหายเป็นปกติ
อย่างไรก็ตาม “อาการเมาจากการเคลื่อนไหว” ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน ในบางคนที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ อาจจะทำให้มีอาการ “เมาจากการเคลื่อนไหว”ได้มากกว่าผู้อื่น ได้แก่
สำหรับคนที่มักมีอาการอาการเมารถ เมาเรืออยู่แล้ว หนึ่งวิธีที่ใช้ป้องกันไม่ให้เกิดอาการนั่นก็คือ “การรับประทานยาป้องกันอาการเมาจากการเคลื่อนไหว” หรือ “ยาแก้เมารถ” ยาที่ใช้ในกลุ่มนี้แบ่งตามการออกฤทธิ์ มี 2 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มยาแก้แพ้ หรือกลุ่มยาต้านฮิสตามีน (antihistamine) จะออกฤทธิ์โดยจับกับตัวรับฮิสตามีนและต้านการออกฤทธิ์ของสารสื่อประสาทแอซิติลโคลีน (acetylcholine) ยาในกลุ่มนี้จะมีผลข้างเคียงทำให้เกิดการง่วงซึม ยาที่ใช้ในกลุ่มนี้ได้แก่
- Dimenhydrinate เป็นยาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ขนาดรับประทาน 50-100 มิลลิกรัม (1-2 เม็ด) โดยแนะนำรับประทานก่อนออกเดินทางประมาณ 30 นาทีเพื่อให้ยาดูดซึมและออกฤทธิ์ สามารถรับประทานซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง ถ้ายังมีอาการ
2. กลุ่มยาต้านการออกฤทธิ์ของสารสื่อประสาทแอซิติลโคลีน โดยมีกลไกเข้าจับกับตัวรับแอซิติลโคลีน ยาในกลุ่มนี้มีผลข้างเคียงทำให้เกิดการง่วงซึม และผลข้างเคียงอื่นๆที่อาจจะพบ เช่นปากแห้ง คอแห้ง ท้องผูก ยาที่ใช้ในกลุ่มนี้ได้แก่
การรับประทานยาป้องกันอาการเมาจากการเคลื่อนไหว เป็นวิธีการที่ง่ายและได้ประสิทธิภาพดี แต่อย่างไรก็ตามแนะนำให้ปรึกษาเภสัชกรก่อนรับประทานยา โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก คนที่มีโรคประจำตัว สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา
Photo: Freepik
1. Leung K. A. and H. L. Kam (2019). Motion sickness: an overview. Drugs Context 2019; 8:2019-9-4. DOI:10.7573/dic.2019-9-4.
2. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a682539.html [เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2567]
3. https://www.bbc.com/thai/articles/c15g1dejz9no [เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2567]
4. https://go.drugbank.com/drugs/DB01231 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2567]