Eng |
รองศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
การมองเห็นทำให้มนุษย์และสัตว์สามารถรับรู้การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา โดยการกระตุ้นจอประสาทตาหรือจอตา (retina) ซึ่งอยู่ชั้นในสุดของลูกตาและมีเซลล์หลายชนิดเรียงตัวกันเป็นชั้นๆ มีตัวรับแสงที่สำคัญได้แก่ เซลล์รูปแท่ง และเซลล์รูปกรวย ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นกระแสประสาทแล้วส่งไปตามเส้นประสาทตาเข้าสู่สมองเพื่อแปลภาพ ถ้าจอตาลอกจะมีผลต่อการมองเห็น อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้ ดังนั้นการสังเกตุพบความผิดปกติเริ่มแรกและได้รับการรักษาโดยเร็วจึงสามารถช่วยลดโอกาสการสูญเสียได้
ภาพจาก : https://c8.alamy.com/comp/ARCPJA/retinal-detachment-refers-to-separation-of-the-inner-layers-of-the-ARCPJA.jpg
จอประสาทตาลอก
หมายถึงภาวะที่เกิดการลอกหรือแยกตัวของจอตาจากตำแหน่งเดิม มักพบในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป แบ่งตามสาเหตุและลักษณะทางพยาธิสรีรวิทยาได้ 3 ชนิดคือ
อาการของผู้ป่วยที่มีจอตาลอก
อาการเริ่มต้น คือ มองเห็นจุดดำลอยไปมา บางรายตามัวและมองเห็นคล้ายหยากไย่ เมื่ออยู่ในที่มืดมองเห็นแสงวาบๆ คล้ายฟ้าแลบ หรืออาจพบว่าลานสายตาผิดปกติ ทำให้การมองเห็นมีภาพบางส่วนหายไป เมื่อมีอาการดังกล่าวข้างต้นควรรีบไปพบจักษุแพทย์ด่วนเพื่อ รับการตรวจจอตาโดยละเอียด และรักษาได้ทันที ซึ่งจะช่วยให้การมองเห็นได้เป็นปกติมากที่สุด
ดังนั้นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ควรได้รับการตรวจจอประสาทตาเป็นประจำสม่ำเสมอ และถ้าพบความผิดปกติให้รีบไปปรึกษาจักษุแพทย์ทันที ให้ได้รับการรักษาโดยเร็วเพื่อป้องกันการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร