เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


โกรทฮอร์โมน ยาต้านความชรา?


รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.พิมลพรรณ พิทยานุกุล ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก: http://aucklandmobilebeauty.net/yahoo_si...06_std.jpg
อ่านแล้ว 66,040 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 19/04/2560
อ่านล่าสุด 16 นาทีที่แล้ว
https://tinyurl.com/yc2rr4j5
Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ https://tinyurl.com/yc2rr4j5
 
ริ้วรอยบนหน้าผาก รอบดวงตา ร่องแก้ม และถุงใต้ตาบนใบหน้าคือสัญลักษณ์ของคนมีอายุ นอกจากนั้นยังพบริ้วรอยตามผิวหนังลำตัว มือ แขน ขา และตามส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ต้องสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอกโดยเฉพาะอย่างยิ่งแสงแดด ความร้อน อากาศทั้งที่แห้งและร้อนชื้น

ภาพจาก : http://aucklandmobilebeauty.net/yahoo_site_admin/assets/images/
Elderly-hands2.7231306_std.jpg

ยาต้านความชรา
เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่เรียกหา มีการวิจัยพบว่าร่างกายของคนเรา ตอนที่เป็นเด็กจะมีฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตซึ่งเรียกว่า โกรทฮอร์โมน (Human Growth Hormone) เป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นจากต่อมใต้สมอง ฮอร์โมนชนิดนี้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของร่างกาย สร้างกล้ามเนื้อ กระตุ้นการสร้างมวลกระดูก ช่วยย่อยน้ำตาลและไขมัน ส่งเสริมการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย พอถึงวัยกลางคน ปริมาณการผลิตฮอร์โมนจากต่อมจะลดลง และเมื่ออายุสูงวัยขึ้นตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป ฮอร์โมนชนิดนี้จะลดลงเหลือเพียง 20% ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น หย่อนยาน กล้ามเนื้อเหลว ไขมันลงพุง ความสดใสหรือกระปรี้กระเปร่าหดหาย ความเครียดความกังวลเข้าแทนที่ ผิวหนังซีด กระดูกบาง นอนไม่หลับ ฯลฯ
เนื่องจากประโยชน์ของโกรทฮอร์โมน จึงมีการคิดค้นและสังเคราะห์ฮอร์โมนเลียนแบบธรรมชาติขึ้นเพื่อใช้ในการรักษาคนป่วยที่ร่างกายบกพร่องในการสร้างโกรทฮอร์โมนแต่กำเนิด ทำให้ร่างกายไม่สมส่วน แขนขามีกล้ามเนื้อลีบ รูปร่างแคระแกรน
โกรทฮอร์โมนสังเคราะห์
ได้รับการยอมรับจากสำนักคณะกรรมการอาหารและยา สหรัฐอเมริกา ให้ใช้รักษาคนป่วยที่ร่างกายบกพร่องในการสร้างฮอร์โมนชนิดนี้แต่กำเนิด หรือในคนป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจำเป็นต้องได้รับโกรทฮอร์โมน อย่างไรก็ตามพบว่าในสหรัฐอเมริกา มีการนำโกรทฮอร์โมนมาใช้ผิดวัตถุประสงค์ถึง 30% โดยถูกนำมาใช้สำหรับเป็นยาอายุวัฒนา ชะลอวัยในผู้นสูงอายุ เนื่องจากโกรทฮอร์โมนจะช่วยเสริมสร้างมวลกระดูก และกล้ามเนื้อ ทำให้ผิวหนังเต่งตึง ไม่หย่อนยาน และรู้สึกกระปี้กระเป่าหลังได้รับโกรทฮอร์โมน อารมณ์แจ่มเฉกเช่นหนุ่มสาว
อาการข้างเคียงของการใช้โกรทฮอร์โมน
ความพยายามที่จะนำโกรทฮอร์โมนมาเป็นยาต้านความชราในคนที่สุขภาพแข็งแรง ร่างกายไม่เป็นโรคนั้น มีโทษมากกว่าคุณ เพราะจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงมากมาย เช่น
  • ทำให้เกิดโรคเบาหวาน
  • เกิดมะเร็งลำไส้
  • เกิดโรคหัวใจ
  • ทำให้แขน ขา บวม
  • ทำให้ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ
  • ผู้ชายที่ได้รับโกรทฮอร์โมน จะมีกล้ามเนื้ออกหรือเต้านมขยายใหญ่
ยาชนิดนี้ในปัจจุบันจะมีการผลิตออกมาเป็นเม็ด เพื่อความสะดวกสำหรับการกิน จะพบโฆษณาตามอินเตอร์เนท ยาชนิดนี้ถูกจัดประเภทเป็นยาควบคุม ไม่อนุญาตให้ใช้เป็นอาหารเสริมสำหรับเป็นยาต้านความชรา แม้แต่คลินิกแพทย์ที่จ่ายยาชนิดนี้ให้คนไข้ด้วยวัตถุประสงค์ของการชะลอวัย ถือว่าผิดกฎหมาย
นักวิทยาศาสตร์แนะนำว่า หากเราต้องการให้ร่างกายได้รับโกรทฮอร์โมนเพิ่มขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ให้ร่างกายและจิตใจเป็นหนุ่มเป็นสาว เราสามารถช่วยตัวเราเองได้โดยการจัดโปรแกรมสำหรับกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเอง คือ ต้องเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตแบบเดิมๆ เช่น
  1. ให้เวลาสำหรับการนอนหลับพักผ่อนที่มากเพียงพอทุกวันอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
  2. เลิกกินอาหารจานด่วน อาหารขยะที่เต็มไปด้วยน้ำตาล ไขมันและแป้ง รวมทั้งให้เลิกพฤติกรรมการชอบซื้อและกินอาหารกล่องสำเร็จรูป อาหารถุง หรืออาหารแช่แข็งจากซุปเปอร์มาร์เก็ต
  3. ออกกำลังกายให้มากเพียงพอ อย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่เพียงเพื่อตามแฟชั่น
  4. เลิกเหล้าหรืออัลกอฮอล และบุหรี่
  5. พยายามเลิกกินยาสารพัดชนิดมากมายโดยไม่มีเหตุอันจำเป็น เพราะยาเหล่านั้นคือเคมีทั้งหลายที่จะทำลายตับไตและตับอ่อนเราได้
  6. ลดความเครียดจากภาระงานในแต่ละวันด้วยวิธีต่างๆตามแต่ความชอบ เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือ นั่งสมาธิ
  7. รับประทานอาหารเสริมที่ผ่านการวิจัยที่น่าเชื่อถือ เช่น เช่น แคลเซี่ยมเพื่อเสริมกระดูก ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ผักใบเขียว ผลไม้สด เป็นต้น
พบว่าผู้ที่สามารถควบคุมตนเองให้เปลี่ยนวิธีดำเนินชีวิตเช่นนี้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สามารถบังคับตนเองให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะเห็นผลชัดเจนเพียงไม่กี่เดือนว่า ผิวพรรณเต่งตึง สภาพจิตใจสดใส ไม่หดหู่ ระบบขับถ่ายดี สุขภาพแข็งแรง ทั้งนี้เป็นผลมาจากการกระตุ้นการให้ร่างกายสร้างโกรทฮอร์โมนเองโดยไม่ต้องกินยาหรือฉีดยาเข้าสู่กระแสเลือด ไม่ต้องพึ่งเข้มฉีดยา ไม่มีความเสี่ยงกับการเอาสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย
คนเราไม่สามารถที่จะเพียงแต่คิดอยากเป็นหนุ่มเป็นสาวและไม่อยากแก่ด้วยการไปพบแพทย์ที่คลินิค ให้แพทย์จ่ายยา ฉีดยา ลอกหน้าให้ใส หรือดึงหน้าร้อยไหมให้ตึงหรืออื่นๆ เพราะสภาพจิตใจไม่ได้ดีขึ้นด้วย ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะไม่สัมพันธ์กัน
นักวิทยาศาสตร์พบว่า คนที่สุขภาพแข็งแรงคือผู้ที่โดยอัตโนมัติอยู่ในโปรแกรมของการชะลอวัย ทำให้มีอายุยืนยาว ชาวตะวันตกในประเทศที่เจริญมากๆ เช่น สหรัฐอเมริกา จะพบว่าชาวอเมริกันทุกวันนี้จะเรียกได้ว่าอยู่ในโปรแกรม “เร่งความชราภาพ” ไม่ใช่ชะลอความชราภาพ เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่มักจะหลีกเลี่ยงหรือผัดผ่อนการออกกำลังกาย กินอาหารจานด่วนและอาหารขยะเป็นประจำ กินอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลปริมาณมาก บางคนอยู่ในวัยหนุ่มสาว แต่ทำงานมากเกินพอดี มีเวลาพักผ่อนน้อยเกินไป เกิดความเครียด แต่พยายามดูแลตนเองด้วยการกินไวตามินและอาหารเสริมเป็นกำมือเพราะคิดว่าจะช่วยชะลอวัยได้ ความจริงพฤติกรรมเหล่านี้เป็นการดำเนินชีวิตที่อยู่ในโปรแกรม “เร่งความชราภาพ” โดยไม่รู้ตัว
ทุกท่านลองพิจารณาตนเองดูว่า ท่านอยู่ในโปรแกรมแบบไหน “เร่งให้ตัวเองแก่เร็ว” หรือไม่? แต่พยายามถามหาและเรียกร้องเทคโนโลยีของการชะลอความแก่!
แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Melmed GY, Devlin SM, Vlotides G, Dhall D, Ross S, Yu R, Melmed S. Anti-aging therapy with human growth hormone associated with metastatic colon cancer in a patient with Crohn's colitis. Clin Gastroenterol Hepatol; 2008, 6(3):360-3.
  2. Human growth hormone (HGH): Does it slow aging? http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/healthy-aging/in-depth/growth-hormone/
  3. Human Growth Hormone (HGH) Directory. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/human-growth-hormone-hgh-directory
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้

งานประชุมวิชาการที่กำลังเปิดรับสมัคร


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


โรคพยาธิหอยคัน 3 วินาทีที่แล้ว
5 วินาทีที่แล้ว
ยาที่ผู้หญิงพึงระวัง 9 วินาทีที่แล้ว
มะเขือเทศ กับ ไลโคพีน 29 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้