เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


ตรวจเลือดกับการตรวจร่างกายประจำปี


รองศาสตราจารย์.ดร.ภญ.พิสมัย กุลกาญจนาธร ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: http://www.dr-olivier-clinic.com/wp-cont...ckup-1.jpg
อ่านแล้ว 23,469 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 26/03/2560
อ่านล่าสุด 17 นาทีที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

ว่ากันว่า ตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ....แล้วอะไรเล่าเป็นหน้าต่างของตับ/ไต/ไส้พุง 
หัวใจ ตับ ไต ไส้ เป็นอวัยวะที่ทำงานเพื่อการดำรงชีวิตของคน โดยจะมีการผลิตสารชีวโมเลกุลนำสู่อวัยวะต่างๆทางกระแสเลือด และโดยกระแสเลือดเช่นกันที่นำสารชีวโมเลกุลที่ถูกใช้แล้วหมดสภาพการทำงานและเปลี่ยนรูปกลับหรือส่งออกภายนอกร่างกาย นอกจากนี้ก็จะทำหน้าที่ทำลายสารที่นำเข้าจากภายนอกร่างกาย (อาหาร ยา/อาหารเสริม) เพื่อขับถ่ายออกทาง ไส้ (ลำไส้ใหญ่ในรูปอุจจาระ) และไต (ในรูปปัสสาวะ) 
"การตรวจหาสารชีวโมเลกุลบางตัว ในกระแสเลือด/ปัสสาวะ/อุจาระ จึงเป็นหน้าต่างของตับ/ไต/ไส้พุง" 
 
ภาพจาก : http://www.dr-olivier-clinic.com/
wp-content/uploads/2014/01/dr-olivier-checkup-1.jpg 
อวัยวะต่างๆในร่างกายทำงานทุกวันเป็นปกติ แต่หากได้รับสารแปลกปลอมจากภายนอกมากก็จะต้องทำงานเพิ่มเพื่อทำลายสารแปลกปลอมนั้น เพื่อทำให้ร่างกายอยู่ในสภาวะปกติ อวัยวะเหล่านี้จะทำงานหนักขึ้นมากหรือน้อยหรือยาวนานแค่ไหน ขึ้นกับเจ้าของร่างกายจะขยันหาสารแปลกปลอมส่งเข้าไปมากหรือน้อย อย่างต่อเนื่องหรือเป็นครั้งคราว เมื่ออวัยวะต้องทำงานหนักขึ้นและต่อเนื่อง อาจเกิดความขัดข้องซึ่งเป็นได้ทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง ถ้าได้พักอย่างพอเพียงอวัยวะเหล่านี้ก็จะกลับมาทำงานได้ปกติ แต่หากต้องทำงานเพื่อทำลายสิ่งแปลกปลอมอย่างต่อเนื่องยาวนานอวัยวะเหล่านี้ก็จะเสื่อมและอาจหยุดทำงาน ซึ่งก็หมายถึงไม่สามารถผลิตสารชีวโมเลกุลที่จำเป็นต่อร่างกายหรือทำลายสารแปลกปลอมที่ร่างกายไม่ต้องการ ดังนั้นเจ้าของร่างจึงไม่ควรนำส่งสารแปลกปลอม(อาหาร ยา/อาหารเสริม) เข้าร่างกายเกินความจำเป็น โดยเฉพาะสารแปลกปลอมที่หวังว่าจะสร้างความสวยความงามเกินปกติ(ไม่ใช่ของดั้งเดิมที่พ่อแม่ให้มา) 
การมี/ไม่มีสารชีวโมเลกุลบางตัวในกระแสเลือด/ปัสสาวะ/อุจาระ จึงบ่งชี้สภาพของตับ/ไต/ไส้พุงได้ ควรตรวจเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง การตรวจสารชีวโมเลกุลต้องทำโดยห้องปฏิบัติการคลินิก หากค่าจากการตรวจสอบอยู่ในค่ากำหนดก็วางใจได้ อวัยวะเหล่านี้ยังคงทำงานได้ปกติ และต้องทำการตรวจซ้ำทุกปี แต่หากพบค่าผิดปกติ ควรทำการตรวจซ้ำทันที และหาสาเหตุของค่าที่ผิดปกติ เพื่อจะได้ตรวจติดตามอวัยวะที่เกี่ยวข้องโดยละเอียด เป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับกับอวัยวะเหล่านั้น 
หัวข้อตรวจสอบโดยทั่วไปและความหมาย/อวัยวะที่เกี่ยวข้อง 
 
ผลการตรวจเลือดระหว่างห้องปฏิบัติการคลินิกต่างๆ อาจไม่ตรงกัน เพราะใช้เทคนิคที่ต่างกัน ดังนั้น ในการตรวจจึงจำเป็นต้องมีค่าปกติของแต่ละการตรวจกำกับในใบรายงานผลด้วยเสมอ การอ่านผลด้วยตนเอง ควรต้องดูค่าปกติของแต่ละการตรวจควบคู่ไปด้วยเสมอ 
ผลการตรวจจะบอกการทำงานของตับไต ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญ ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง หากตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจสุขภาพประจำปี จะทราบภาวะของไต และจะป้องกันหรือชะลอภาวะไตวายได้ ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคไตวายเป็นจำนวนมาก สาเหตุหลักที่ทำให้ไตวายเนื่องจาก

  1. โรคเบาหวาน พบว่า 50% ของผู้ป่วยไตวาย เคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อน
  2. โรคความดันโลหิตสูง โรคนี้ทำให้หลอดเลือดเสื่อมทั่วร่างกาย ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตไม่พอ
  3. เกลือโซเดียม โซเดียมอุ้มน้ำทำให้ความดันโลหิตสูง ไตต้องทำงานหนักในการขับโซเดียมออกจากร่างกาย 
    โซเดียมส่วนใหญ่จะได้จากอาหาร ได้แก่ 
    - เกลือ (โซเดียมคลอไรด์) ในน้ำปลา ซีอิ๊ว ซอส ผงปรุงรส น้ำจิ้มต่างๆ 
    - ผงชูรส (โมโนโซเดียมกลูตาเมท) ในอาหารเกือบทุกชนิด และทุกร้านอาหาร 
    - ผงฟู (โซเดียมไบคาร์บอเนต) อาหารชุบแป้งทอดทั้งหมด ขนมปัง ปาท่องโก๋ เค้ก

** อาหารในปัจจุบัน เป็นอาหารแปรรูป ใช้นำมัน เกลือ ผงชูรส และแป้งฟูมากเกินไป คนจึงเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงเร็วขึ้น ผู้ป่วยโรคไตจึงมีอายุเฉลี่ยน้อยลงมากเมื่อเปรียบเทียบกับในอดีต ทำให้เป็นโรคไตวายเร็วขึ้น 
สุขภาพดีทำได้ไม่ยาก..สำรวจร่างกายด้วยตนเองอยู่เสมอ ยืนยันด้วยผลตรวจจากห้องปฏิบัติการคลินิก หลีกเลี่ยงอาหาร ยา และอาหารเสริมที่เกินจำเป็น 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. พีรศักดิ์ วรสุทโรสถ, สุนทร ดุริยะประพันธ์, ทักษิณ อาชวาคม, สายันต์ ตันพานิช, ชลธิชา นิวาสประกฤติ, ปรียานันท์ ศรสูงเนิน. ทรัพยากรพืชในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2 ไม้ผลและไม้ผลเคี้ยวมัน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์; 2544:573 หน้า.

-->

เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


มะระขี้นก 18 วินาทีที่แล้ว
1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้