Loading…

เบญจกูล – อาหารเสริมแผนไทยสำหรับฤดูสมุฏฐาน

เบญจกูล – อาหารเสริมแผนไทยสำหรับฤดูสมุฏฐาน

รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. อ้อมบุญ วัลลิสุต ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

26,645 ครั้ง เมื่อ 1 ช.ม.ที่แล้ว
2016-10-07


ทฤษฎีการแพทย์แผนไทยมีแนวคิดการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมซึ่งพัฒนาบนพื้นฐานของอายุรเวทของอินเดีย จะเห็นได้จากศัพท์แพทย์เป็นภาษาบาลี สันสกฤต โดยที่มองว่าระบบการทำงานของร่างกายนั้น มี 3 ระบบใหญ่ คือ ระบบวาตะ ปิตตะ และ เสมหะหรือคัพภะ หรือไตรโดชา (Tri Dosha) โดยระบบวาตะเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนภายในร่างกาย รวมถึงระบบไหลเวียนโลหิต ระบบประสาท ระบบการเคลื่อนขึ้นหรือลงภายในร่างกาย ระบบหายใจ เป็นต้น ระบบปิตตะ เกี่ยวข้องกับระบบการย่อยอาหาร กระบวนการแยกสลาย (catabolism) ระบบการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ความเสื่อมชรา เป็นต้น ระบบเสมหะ เกี่ยวข้องกับระบบหล่อลื่น ระบบเอนไซม์ ระบบภูมิคุ้มกัน กระบวนการสร้าง (anabolism) เป็นต้น
 
ร่างกายประกอบด้วยธาตุรูป 4 ชนิด คือ ปถวีธาตุ 20 ประการ อาโปธาตุ 12 ประการ วาโยธาตุ 6 ประการ และเตโชธาตุ 4 ประการ ทั้งหมดรวม 42 ประการ ถูกจัดรวมเป็นระบบมหาภูตรูป ย่อรวมเหลือกองละ 3 เพื่อประโยชน์ในการตั้งตำรับยาบำรุงรักษาร่างกายดังแสดงในตารางที่ 1
 
ทฤษฎีการแพทย์แผนไทยได้คำนึงถึงปัจจัยภายนอกที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกายในส่วนของมหาภูตรูป คือการเปลี่ยนของสภาวะแวดล้อมอันเนื่องมาจากฤดูกาล ร่างกายต้องปรับเปลี่ยนการทำงานให้สอดคล้องเหมาะสม ไม่เช่นนั้นอาจเกิดการเสียสมดุลและนำมาซึ่งความไม่สบาย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 สถานะ คือกำเริบ หย่อน และ พิการ ในการปรับสมดุลให้ร่างกายสามารถทำงานเป็นปรกติแข็งแรงอยู่เสมอ มีพิกัดเบญจกูลประกอบด้วยสมุนไพรประจำธาตุทั้ง 4 และอากาศธาตุ ดังในตารางที่ 2
 
แพทย์ไทยได้กำหนดส่วนผสมของสมุนไพรเพื่อปรับสมดุลมหาภูตรูปทั้ง 3 กองของธาตุสมุฏฐานทั้ง 4 ไว้แล้ว ดังแสดงในตารางที่ 3-6
 
อนึ่ง การนับเดือนตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทยเป็นการนับตามจันทรคติอาศัยข้างขึ้นข้างแรมในการนับเดือน มีศัพท์ที่สัมพันธ์กับจักราศี มีเดือนแรกเรียกว่าเดือนอ้าย คือเดือนธันวาคม เริ่มนับการขึ้นต้นเดือนที่แรม 1 ค่ำ ไปจนถึงขึ้น 15 ค่ำในเดือน ถัดไปดังในตารางที่ 7
 
 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. พระคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย ใน แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 สอบทานถูกต้องตามต้นฉบับเดิม พ.ศ. 2466-2475 โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง จงเจริญ เลขที่ 253 ถนนบำรุงเมือง พระนคร 2505, 26-28.
  2. พระคัมภีร์สรรพคุณ ใน แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 สอบทานถูกต้องตามต้นฉบับเดิม พ.ศ. 2466-2475 โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง จงเจริญ เลขที่ 253 ถนนบำรุงเมือง พระนคร 2505, 331-333, 380-382.

บทความที่ถูกอ่านล่าสุด

ยาในน้ำนมแม่ ตอนที่ 2 : ยารักษาโรคเบาหวาน 1 วินาทีที่แล้ว
น้ำยาฆ่าเชื้อ กับ โควิด-19 โคโรน่าไวรัส 2 วินาทีที่แล้ว
ข้อควรรู้เบื้องต้นเรื่อง “แอนติเจน เทสต์ คิท” เพื่อคัดกรองโรคโควิด-19 3 วินาทีที่แล้ว
มะเร็งตับ รู้เร็ว วินิจฉัยเร็ว รักษาหายได้ 11 วินาทีที่แล้ว
น้ำเกลือแร่สำหรับท้องเสีย: เลือกที่ใช่ ใช้ถูกต้อง 11 วินาทีที่แล้ว
ดนตรีบำบัด 23 วินาทีที่แล้ว
พยาธิใบไม้และปัจจัยเสี่ยงมะเร็งตับ 24 วินาทีที่แล้ว
ยาลดไขมัน...ผลไม่พึงประสงค์ต่อกล้ามเนื้อ 25 วินาทีที่แล้ว
กลิ่นตัว ปัญหากวนใจที่แก้ไขได้ 26 วินาทีที่แล้ว
โรคมือเท้าปากในเด็ก 27 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
คลังความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
Copyright © 2021 - 2025
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา