ภาวะไอเรื้อรังหลังการติดเชื้อ
ผู้ช่วยศาสาตราจารย์ ดร.ภญ. บุญธิดา มระกูล ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
9,264 ครั้ง เมื่อ 2 ช.ม.ที่แล้ว | |
2022-10-03 |
เป็นอาการที่พบได้บ่อยภายหลังการติดเชื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อไวรัส ได้แก่ ไข้หวัด (Rhinovirus), ไข้หวัดใหญ่ (Influenza), Adenovirus, และ Respiratory syncytial virus (RSV) ภาวะดังกล่าวเรียกว่า “post-infectious cough” โดยส่วนมากผู้ป่วยจะมีอาการไอแห้ง และมีอาการในลักษณะกึ่งเฉียบพลัน คืออาการไอจะคงอยู่นานกว่า 3 สัปดาห์หลังการติดเชื้อแต่ไม่เกิน 8 สัปดาห์(1) โดยทั่วไปการติดเชื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนบนจะมีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายได้ภายใน 7-14 วัน อย่างไรก็ตามอาการไอเรื้อรังที่เกิดขึ้นหลังการติดเชื้อเชื่อกันว่ามีสาเหตุมาจากเสมหะหรือน้ำมูกที่ไหลลงคอ หรืออาจเกิดจากการอักเสบอันเนื่องมาจากการติดเชื้อในตอนแรก นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มความน่าจะเป็นในการเกิดภาวะไอเรื้อรังคือการติดเชื้อที่บริเวณทางเดินหายใจส่วนบนทำให้เกิดเมือกปริมาณมากซึ่งไม่สามารถกำจัดออกไปทางปอดได้อย่างเพียงพอ ภาวะไอเรื้อรังที่เกิดขึ้นดังกล่าวอาจส่งผลทำให้ระยะเวลาในการติดเชื้อของผู้ป่วยยาวนานขึ้นด้วย(2)
ภาพจาก : https://i0.wp.com/allergylosangeles.com/wp-content/uploads/2019/07/man-cough.jpg?fit=710%2C474&ssl=1
ในการวินิจฉัยภาวะไอเรื้อรังหลังการติดเชื้อ แพทย์จะมีการตรวจร่างกายและซักถามประวัติความเจ็บป่วย เช่น เวลาที่เริ่มเป็นหวัดหรือติดเชื้อ ลักษณะของการไอในปัจจุบัน และอาการอื่นๆ และทำการพิจารณาแยกแยะสาเหตุอื่นที่เป็นไปได้ซึ่งทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง ได้แก่ โรคกรดไหลย้อน (GERD), หอบหืด, ปอดอักเสบหรือหลอดลมอักเสบ, ไซนัสอักเสบจากแบคทีเรีย, การสูบบุหรี่, การใช้ยาลดความดันโลหิตในกลุ่ม Angiotensin-converting enzyme (ACE) inhibitor เช่น enalapril, captopril, ramipril การวินิจฉัยอาการจะมีการถามถึงลักษณะการไอเพื่อพิจารณาถึงสาเหตุว่ามาจากการมีเมือกเหลวในทางเดินหายใจไหลลงคอ (postnasal drip) หรือมีการอักเสบจากการติดเชื้อหรือไม่ เพื่อพิจารณาเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม
ยาที่ใช้รักษาอาการไอเรื้อรังหลังการติดเชื้อ(3) ได้แก่
![]() |
เบญจกูล – อาหารเสริมแผนไทยสำหรับฤดูสมุฏฐาน 1 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
แพ้ยา มีผื่นขึ้นรุนแรง คืออะไร 5 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
การใช้ฟ้าทะลายโจรเพื่อรักษาโรคโควิด-19 ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ 8 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ลูก ... นวัตกรรมของพ่อแม่ 17 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
อาหารหลากสี มีประโยชน์หลากหลาย (ตอนที่ 3): สารเคมีที่มีประโยชน์จากผักผลไม้ที่มีสีม่วงและสีน้ำเงิน 18 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
การปฏิบัติตัวเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ 21 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
เกิร์ด (GERD) - โรคกรดไหลย้อน 38 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาหอม กับคนวัยทำงาน 44 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
10 อันดับอาหารที่มีโปแทสเซียมสูง กับประโยชน์ที่มีต่อสุขภาพ 46 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
รอบรู้เรื่องธาตุกัมมันตรังสี 48 วินาทีที่แล้ว |
![]() ![]() |
|
ที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานภายในคณะฯ
HTML5 Bootstrap Font Awesome