เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


แคลเซียม .. สาระน่ารู้


พิชญ์ภิญญาณ์ แก้วปานันท์ นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 45,574 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 19/10/2557
อ่านล่าสุด 12 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

แคลเซียม เป็นแร่ธาตุที่พบมากที่สุดในร่างกาย โดยร้อยละ 99 ของแคลเซียมในร่างกายจะเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน หน้าที่สำคัญ เช่น พัฒนาและสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน ควบคุมการทำงานของหลอดเลือด ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการเต้นของหัวใจ การส่งความรู้สึกไปตามเส้นประสาท การปลดปล่อยฮอร์โมน เป็นต้น1,2 ร่างกายจะมีกลไกที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับแคลเซียมในเลือดให้สมดุล หากในเลือดมีระดับแคลเซียมต่ำ ร่างกายจะดึงแคลเซียมที่สะสมในกระดูกเพื่อรักษาสมดุลของแคลเซียมในเลือด ปกติร่างกายจะไม่สามารถสร้างแคลเซียมขึ้นมาได้เอง จึงต้องรับประทานเข้าไปเพื่อทดแทนแคลเซียมที่ถูกนำไปใช้หรือถูกขับทิ้งออกจากร่างกาย ซึ่งถ้าร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอจะทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้1,3

  1. โรคกระดูกพรุนเป็นภาวะที่ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง ทำให้กระดูกเปราะบางและมีโอกาสหักได้ง่าย โดยคนที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปจะเริ่มมีการสูญเสียมวลกระดูกมากขึ้น และอัตราการสูญเสียจะเพิ่มขึ้นทุกปี
  2. โรคความดันโลหิตสูง มีการศึกษาพบว่าคนที่ความดันโลหิตสูงมักจะรับประทานแคลเซียมน้อยกว่าคนปกติ และระดับแคลเซียมที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้ความดันโลหิตลดลง เพราะแคลเซียมช่วยให้กล้ามเนื้อบีบตัวได้ดีและทำให้หัวใจและหลอดเลือดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. อาการก่อนมีประจำเดือน เช่น ปวดหัว อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า อยากอาหาร เป็นต้น โดยมีการศึกษาพบว่าผู้หญิงที่รับประทานแคลเซียมขนาด 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน จะลดอาการก่อนมีประจำเดือนได้ร้อยละ 50 
    กระทรวงสาธารณสุขกำหนดปริมาณแคลเซียมที่แนะนำให้บริโภคในแต่ละวันสำหรับกลุ่มอายุต่างๆ4 ดังต่อไปนี้ 
     
    แหล่งของแคลเซียมที่ได้รับ อาจมาจากการรับประทานอาหาร เช่น นม ปลาตัวเล็กที่ทานได้ทั้งกระดูก กุ้งฝอย กุ้งแห้ง กะปิ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ (ยกเว้นเต้าหู้ไข่) เป็นต้น หรือรับประทานยาเม็ดแคลเซียม แต่ผลิตภัณฑ์ยาเม็ดแคลเซียมจะมีความแตกต่างกันที่รูปเกลือ ซึ่งจะให้ปริมาณแคลเซียมที่ไม่เท่ากัน5 ดังต่อไปนี้ 
     
    ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ในท้องตลาดจะเป็นแคลเซียมในรูปเกลือคาร์บอเนต ซึ่งให้แคลเซียมได้มากที่สุด คือ ร้อยละ 40 ดังนั้นในผู้สูงอายุ จะต้องรับประทานผลิตภัณฑ์ยาแคลเซียมคาร์บอเนตวันละ 2,000 มิลลิกรัม จึงจะได้แคลเซียม 800 มิลลิกรัมตามความต้องการ หรือในผู้หญิงตั้งครรภ์ จะต้องรับประทานผลิตภัณฑ์ยาแคลเซียมคาร์บอเนตวันละ 2,500 มิลลิกรัม จึงจะได้แคลเซียม 1000 มิลลิกรัมตามความต้องการ นอกจากรูปเกลือที่ต่างกันแล้ว ผลิตภัณฑ์ยาเม็ดแคลเซียมยังมีหลายรูปแบบ คือ ยาเม็ดแข็ง ยาเม็ดฟู่ และยาแคปซูล หากต้องการรับประทานยาเม็ดแคลเซียมควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร 
     

 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Calcium [Internet]. Baltimore: University of Maryland Medical Center (UMMC); 2013. Available from: http://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/calcium. Accessed 2014 May 23.
  2. Calcium dietary supplement fact sheet [Internet]. Bethesda: National institutes of health (NIH); 2013. Available from: http://ods.od.nih.gov/factsheets/CalciumHealthProfessional/. Accessed 2014 May 23.
  3. Standing committee on the scientific evaluation of dietary reference intakes, food and nutrition board, Institute of medicine. Dietary reference intakes for calcium, phosphorus, magnesium, vitamin D and fluoride [Internet]. Washington, DC: National Academy Press; 1997. Available from:  http://books.nap.edu/openbook.php?record_id=5776&page=90. Accessed 2014 May 25.
  4. แนวทางเวชปฏิบัติเรื่อง โรคกระดูกพรุน [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2548. ที่มา: http://www.dms.moph.go.th/imrta/images/pdf_cpg/2548/15.pdf. วันที่อ้างถึง 23 พ.ค. 2557.
  5. บุษบา จินดาวิจักษณ์. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน: ยารักษาโรคกระดูกพรุน ใช้อย่างไร [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553. ที่มา:http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=30 วันที่อ้างถึง 25 พ.ค. 2557.


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


แคลเซียม .. สาระน่ารู้ 1 วินาทีที่แล้ว
4 วินาทีที่แล้ว
ยาแก้ไอ ... มีกี่แบบ ?? 4 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2025
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้