เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


เมื่อสัตว์เลี้ยงได้รับสารพิษ : แนวทางการปฐมพยาบาลเบื้องต้น


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สพ.ญ.นรรฆวี แสงกลับ

ภาควิชาสรีรวิทยา

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 72,960 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 22/06/2566
อ่านล่าสุด 2 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

เชื่อเลยว่าปัญหาสัตว์เลี้ยงได้รับสารพิษนั้นเป็นเหมือนกับฝันร้ายที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงทุกคนไม่อยากเจออย่างแน่นอน แต่อย่างไรก็ดีด้วยนิสัยของทั้งน้องหมาน้องแมวที่มักจะอยากรู้อยากเห็นทำให้อาจจะเผลอไปสัมผัสหรือกินสารเคมีเข้าไปได้ ดังนั้นคงจะดีกว่าถ้าเรารู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาและทำให้น้อง ๆ มีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น โดยแนวทางการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับสัตว์เลี้ยงที่ได้รับสารพิษมีดังต่อไปนี้

กรณีที่สัตว์เลี้ยงสัมผัสกับสารพิษที่ผิวหนัง

  1. ส่วนใหญ่สารพิษที่อันตรายต่อผิวหนังมักเป็นสารที่มีความเป็นกรดหรือเบสสูง ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือล้างด้วยน้ำสะอาดหรือใช้สบู่อ่อน ๆ ผสมกับน้ำ โดยล้างบริเวณที่โดนทันที
  2. ไม่ควรนำน้ำสบู่ล้างบริเวณดวงตาและจมูกของสัตว์เลี้ยงเพราะอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองหรือสำลักฟองได้
  3. พาไปพบสัตวแพทย์โดยเร็วแม้ว่าสัตว์เลี้ยงจะไม่มีอาการรุนแรง และควรหยิบขวดผลิตภัณฑ์หรือฉลากสารเคมีที่สัตว์สัมผัสโดนไปด้วย

กรณีที่สัตว์เลี้ยงได้รับสารพิษทางการกิน

  1. ตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก ต้องรู้ให้แน่ชัดก่อนว่าสัตว์เลี้ยงกินสารพิษชนิดอะไรเข้าไป
  2. หากสัตว์เลี้ยงได้รับสารพิษยังไม่เกิน 1 ชั่วโมง ให้กระตุ้นการอาเจียนด้วยการใช้นิ้วล้วงลำคอ หรือใช้วิธีป้อนไข่ขาวดิบ หรือป้อนไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 3% ในขนาด 1-2 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หากเกิน 1 ชั่วโมงให้รีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที
  3. ห้ามทำให้สัตว์อาเจียนเด็ดขาด หากพบว่า
    • สัตว์เลี้ยงไม่ได้สติ อ่อนแรง ชัก ยืนทรงตัวไม่อยู่ เพราะเมื่อสัตว์อาเจียนอาจจะสำลักเข้าหลอดลมได้
    • สัตว์เลี้ยงกินสารพิษที่เป็นกรดหรือด่างรุนแรง เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ
    • สัตว์เลี้ยงกินสารพิษที่มีส่วนประกอบของพาราฟิน น้ำมันปิโตรเลียม และสารระเหย
    • สัตว์เลี้ยงกินสารพิษที่มีส่วนผสมของผงซักฟอกหรือสารที่ทำให้เกิดฟอง
  4. รีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุด พร้อมกับหยิบขวดสารเคมี ซองยา ฉลาก หรือวัตถุต้องสงสัยที่คาดว่าสัตว์เลี้ยงของเรากินเข้าไปด้วย โดยพบว่าหากยิ่งพาไปพบสัตวแพทย์เร็วขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้สัตว์เลี้ยงมีโอกาสมีชีวิตรอดสูงขึ้นเท่านั้น

จะเห็นว่าการที่สัตว์เผลอกินสารพิษเข้าไปนั้นเป็นอันตรายไม่น้อยเลย ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงของเราเสี่ยงอันตรายกับสารพิษหรือสารเคมีต่าง ๆ เราจึงควรเก็บสารพิษหรือสารเคมีให้มิดชิด โดยเก็บในตู้ที่ปิดล็อกหรือเก็บในตู้สูงที่สัตว์เลี้ยงไม่สามารถเข้าถึงได้ ไม่วางขวดสารพิษหรือสารเคมีทิ้งไว้ระเกะระกะ ใช้เสร็จแล้วให้เก็บเข้าที่ทันที และเมื่อมีการใช้เคมีในบริเวณบ้าน เช่น น้ำยาถูพื้น ยาฆ่าแมลง ควรกันสัตว์เลี้ยงออกจากบริเวณที่ใช้ เพื่อลดความเสี่ยงของการได้รับสารเคมี

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Wag Labs, Inc. Poisoning: First Aid and After Care for Your Dog [Internet]. 2017 [updated 2023 March 10; cited 2023 Jun 22]. Available from: https://wagwalking.com/wellness/poisoning-first-aid-and-after-care-for-your-dog
  2. petMD. Poisons in Dogs [Internet]. 2022 Aug 26 [cited 2023 Jun 22]. Avaiable from: https://www.petmd.com/dog/conditions/toxicity/c_multi_poisoning.
  3. ผศ.น.สพ.ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร และ สพ.ญ.ดร.ฉัตรวลี บุญธรรม.  เมื่อสัตว์เลี้ยงได้รับสารเคมี มีวิธีขจัดสารพิษอย่างไร. รายการ Pet Care Onair. สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2564 [อ้างอิงเมื่อ 22 มิถุนายน 2566]. อ้างอิงจาก: https://curadio.chula.ac.th/Program-Detail.php?id=11495
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


1 วินาทีที่แล้ว
วิตามินและแร่ธาตุ 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2025
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้