เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


รู้ให้ชัดกับ ยาแก้อักเสบ


อาจารย์ เภสัชกร ธีรัตถ์ เหลืองมั่นคง ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 631,593 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 27/01/2556
อ่านล่าสุด 1 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

อักเสบ มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า Inflammation ซี่งเป็นภาวะที่ทำให้เกิดอาการปวด บวม แดงและรู้สึกร้อน ณ บริเวณที่มีการอักเสบเกิดขึ้น ภาวะอักเสบที่รู้จักกันดี ได้แก่ ข้ออักเสบ เอ็นอักเสบกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งอาการอักเสบที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุในการทำงานหรือเล่นกีฬา การใช้ยาเพื่อลดการอักเสบ ต้องใช้ยากลุ่มที่เรียกว่า “ยาแก้อักเสบ”หรือ “ANTI-INFLAMMATORY DRUG” หรือ“NSAIDs” (เอ็น-เซด ย่อมาจากคำว่า Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drugs) โดยยาแก้อักเสบนี้ ยังนิยมใช้ลดอาการปวดที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ปวดหัว ปวดประจำเดือน ปวดฟัน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ รวมทั้งยังอาจใช้ลดไข้อีกด้วย ทำให้มียาประเภทนี้จำหน่ายและใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ทั้งที่เป็นยากิน ยาฉีด ยาใช้ภายนอกทั้งในรูปเจลหรือสเปรย์ โดยยาแต่ละตัวจะมีข้อบ่งใช้และวิธีการใช้ยาแตกต่างกันไป 
 
สิ่งที่ควรคำนึงเสมอในการใช้ยากลุ่มนี้ คือ 
 

  1. “ยาแก้อักเสบ” มักระคายเคืองทางเดินอาหาร ควรรับประทานยาหลังอาหารทันทีและดื่มน้ำตามมากๆ
  2. “ยาแก้อักเสบ” มักใช้เพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น เมื่อหายจากอาการอักเสบและอาการปวดให้หยุดยาทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดที่เป็นยากิน เนื่องจากการใช้ยานานๆ นอกจากระคายเคืองทางเดินอาหารแล้ว อาจทำให้การหยุดไหลของเลือดผิดปกติ ความดันโลหิตสูง บวมน้ำและเกิดภาวะไตวายได้(ระยะเวลาในการใช้ยา ขึ้นกับข้อบ่งใช้และสภาวะโรคที่เป็น จากคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร)


“ยาแก้อักเสบ” ซึ่งมีใช้ในประเทศไทย ได้แก่ 
 
เนื่องจากยากลุ่มนี้สามารถหาซื้อได้ที่ร้านยาทั่วไป ทำให้หลายคนเข้าใจผิดและไปที่ร้านยาเพื่อขอซื้อยาแก้อักเสบมาใช้สำหรับอาการเจ็บคอซึ่งมีสาเหตุจากการติดเชื้อ โดยที่ไม่ทราบว่าแท้จริงแล้ว โรคติดเชื้อต้องรักษาด้วย “ยาฆ่าเชื้อ” หรือ “ANTI-BIOTIC” ซึ่งมีผลช่วยทำลายเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อนั้น ทำให้นอกจากยาจะไม่ช่วยให้อาการเจ็บคอหายเร็วขึ้นแล้ว ยังอาจทำให้ผู้ใช้ยาเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาแก้อักเสบอีกด้วย ดังนั้น ก่อนซื้อยามาใช้ทุกครั้ง ควรแจ้งถึงสาเหตุที่ต้องใช้ยากับเภสัชกรให้ชัดเจนก่อนเสมอ

 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. MIMS Thailand. 124th ed. Bangkok: UBM Medica; 2011.
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ยาคุมกำเนิดชนิดฉีด 20 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้