Knowledge Article


อันตรกิริยา (ยาตีกัน) ของว่านหางจระเข้กับยาแผนปัจจุบัน


ณัฏฐณิชชา มหาวงษ์
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
33,756 View,
Since 2012-05-06
Last active: 1 days ago

Scan to read on mobile device
 
A - | A +


ว่านหางจระเข้เป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณมากมายและมีความปลอดภัยสูง จึงเป็นสมุนไพรที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและมีผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบรวมทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง ซึ่งผู้ป่วยบางคนอาจรับประทานเป็นอาหารเสริมหรือเพื่อรักษาโรคร่วมกับยารักษาโรคแผนปัจจุบัน แต่จากรายงานในปัจจุบันพบว่าพืชสมุนไพรหลายชนิดเมื่อใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบันอาจก่อให้เกิดอันตรกิริยา (interaction) ได้ นั้นคือเมื่อใช้ยาและสมุนไพรร่วมกันแล้ว ทำให้ยานั้นมีฤทธิ์ในการรักษาเพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยอันตรกิริยาที่เกิดขึ้นอาจเป็นผลจากเอนไซม์ Cytochrome P450 (CYP) ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการเมตาบอลิซึมของยา ซึ่งเอนไซม์ CYP มีหลายไอโซฟอร์ม (isoform) เช่น CYP1A1, CYP2D6, CYP2E1 และ CYP3A4 เป็นต้น และว่านหางจระเข้ก็มีรายงานเกี่ยวกับการทำงานของเอนไซม์ชนิดนี้ มีรายงานการศึกษาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบของว่านหางจระเข้ (น้ำว่านหางจระเข้และวุ้นว่านหางจระเข้) ต่อการเหนี่ยวนำและการยับยั้งการแสดงออกของโปรตีน CYP พบว่าน้ำว่านหางจระเข้ทำให้มีการ แสดงออกของโปรตีน CYP2C11, CYP2E1 และ CYP3A1 ใน microsome ของเซลล์ตับลดลง 50% เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ในขณะที่วุ้นว่านห่างจระเข้ทำให้มีการแสดงออกของโปรตีน CYP2C1 ลดลง 50% และการแสดงออกของโปรตีน CYP1A2, CYP2E1 และ CYP3A1 เพิ่มขึ้น 50% เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม บางรายงานแสดงให้เห็นว่าน้ำว่านหางจระเข้ทำให้มีระดับโปรตีน CYP1A2 และ CYP3A4 เพิ่มขึ้นในเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ LS180 ถึง 1.7 + 0.3 และ 1.8 + 0.4 เท่าของกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ยังมีการศึกษาสารสกัดจากน้ำว่านหางจระเข้ด้วยเอทานอลต่อการทำงาน ของเอนไซม์ CYP3A4 และ CYP2D6 จากคน (recombinant human CYP) พบว่าน้ำว่านหาง จระเข้สามารถยับยั้งเอนไซม์ CYP โดยมีความเข้มข้นที่สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ CYP3A4 และ CYP2D6 ได้ 50% (IC50) เท่ากับ 8.35 + 0.72 และ 12.5 + 2.1 มก./มล. ตามลำดับ นอกจากนี้สารสกัดจากน้ำว่านหางจระเข้สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ CYP ทั้งอาศัยและไม่อาศัย nicotinamide adenine dinucleotide phosphate (NADPH) แสดงให้เห็นถึงสารสกัดจากน้ำว่านหางจระเข้สามารถยับยั้งเอนไซม์ CYP3A4 และ CYP2D6 โดยผ่านกลไกที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาออกซิเดชันของ CYP ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากน้ำว่าน หางจระเข้มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ CYP3A4 และ CYP2D6 ผ่านสองกลไก ในรายงานนี้ยังชี้แนะว่าน้ำ ว่านหางจระเข้ไม่รบกวนเมตาบอลิซึมของยาในคน เนื่องจากปริมาณที่รับประทานตามปกติจะทำให้มีว่านหางจระเข้ในเลือดน้อยกว่าค่า IC50 มาก อย่างไรก็ตามควรระมัดระวังการทานยาพร้อมกับน้ำ ว่านหางจระเข้ เนื่องจากยังมีความคลุมเครือของข้อมูลว่าว่านหางจระเข้มีฤทธิ์กระตุ้นและ/หรือยับยั้งเอนไซม์ CYP และยังเกี่ยวข้องกับการทำงานของเอนไซม์ CYP ได้หลายไอโซฟอร์ม ซึ่งอาจส่งผลเมื่อใช้ทางคลินิก ทั้งนี้ยังต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
Others articles

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้

Public Knowledge Articles



View all articles
-->

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

Faculty of Pharmacy, Mahidol University.

447 Sri-Ayuthaya Road, Rajathevi, Bangkok 10400, THAILAND
Designed & Developed by Department of Information Technology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University.
Copyright © 2013-2020
 

We use Cookies

This site uses cookies to personalise your experience and analyse site traffic. By Clicking ACCEPT or continuing to browse the site you are agreeing to our use of cookies.