Knowledge Article


คุมกำเนิดอย่างไรดีในช่วงโรคระบาด


อาจารย์ ดร.ภก.วสุ ศุภรัตนสิทธิ
ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก : https://www.pngfind.com/pngs/m/15-158745_male-and-female-symbol-transparent-gender-and-development.png
9,032 View,
Since 2020-04-09
Last active: 2h ago

Scan to read on mobile device
 
A - | A +


ปฏิเสธไม่ได้ว่าการระบาดของโควิด-19 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตรอบด้าน แต่ในผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจเป็นสาเหตุทำให้ประชาชนอยู่บ้านหรือที่พักส่วนตัวกันมากขึ้น มีเวลาพักผ่อน ไม่ต้องเผชิญปัญหาการจราจรติดขัดในทุกๆ วัน สามารถใช้ชีวิตกับสมาชิกในครอบครัวได้เพิ่มขึ้น ทำกิจกรรมที่มีความสนใจภายในบ้านหรือที่พักได้ รวมถึงโอกาสที่อาจจะทำให้คู่รักหลายคู่ได้ใช้เวลาร่วมกันมากขึ้น อย่างไรก็ตามจะต้องคำนึงถึงสภาพเศรษฐกิจและสภาพคล่องในระยะยาว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวางแผนครอบครัว และหนึ่งในตัวช่วยนั้นก็คือ การคุมกำเนิด



ภาพจาก : https://ichef.bbci.co.uk/images/ic/704xn/p06sfv7m.jpg

มีเพศสัมพันธ์อย่างไรให้ปลอดภัยในช่วงนี้

ในช่วงที่โควิด-19 ระบาดเช่นนี้ มีงานวิจัยมากมายรายงานโอกาสพบเชื้อที่บริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบทางเดินหายใจ ระบบขับถ่ายของเสียทางลำไส้ใหญ่ซึ่งจะออกไปทางทวารหนัก รวมไปถึงน้ำตาและเลือด แต่ไม่พบในปัสสาวะและบริเวณช่องคลอด อย่างไรก็ตามมีโอกาสที่คู่รักจะหายใจรดกันระหว่างมีเพศสัมพันธ์อยู่แล้ว การใส่หน้ากากอนามัยขณะที่มีการเคลื่อนไหวของร่างกายสามารถทำให้หน้ากากเลื่อนออกไม่กระชับเข้ากับใบหน้า ส่งผลให้ไม่สามารถป้องกันได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนั้นหากคำนึงถึงการฝากครรภ์ จำเป็นที่จะต้องเดินทางไปยังโรงพยาบาลซึ่งมีโอกาสจะสัมผัสเชื้อได้สูงตั้งแต่ขณะเดินทาง การทำหัตถการต่างๆ ขณะคลอดอาจทำให้เสี่ยงต่อทารกและแม่ที่จะติดเชื้อได้ ปัจจุบันยังไม่พบรายงานการติดเชื้อขณะคลอด ทั้งนี้อาจจะมีสาเหตุมาจากข้อมูลและตัวอย่างที่จำกัด

การป้องกันแต่แรกคือ งดการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งในช่วงเวลานี้อาจจะเริ่มจากการกักตัว 14 วันเป็นอย่างต่ำตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อจากคู่รัก การคุมกำเนิดจึงมีบทบาทสำคัญในการลดการแพร่กระจายของเชื้อได้ อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงโอกาสการติดเชื้ออื่นทางเพศสัมพันธ์ด้วย เพื่อให้การมีเพศสัมพันธ์เป็นไปอย่างปลอดภัย

วิธีคุมกำเนิดแบบต่างๆ ที่เหมาะสม

วิธีในการคุมกำเนิดนั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะไม่ใช้อุปกรณ์หรือยาใดๆ เพิ่มเติม ได้แก่ การหลั่งภายนอก หรือการนับระยะปลอดภัย ไปจนถึงการใช้อุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น การใส่ห่วงอนามัย การใช้ถุงยางอนามัย รวมไปถึงการใช้ยาคุมกำเนิดซึ่งมีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ยาฉีด ยาฝังใต้ผิวหนัง ยาแผ่นแปะผิวหนัง และยารับประทาน อย่างไรก็ตามผู้เขียนไม่แนะนำให้ใช้การรับประทานยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินในการคุมกำเนิดทั่วไป เนื่องจากจะเป็นการรับประทานฮอร์โมนสังเคราะห์ขนาดสูง ทำให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ ตามมาได้มาก และมีข้อจำกัดในการใช้อีกมากมาย เช่น ไม่สามารถใช้วิธีนี้เกิน 2 ครั้งภายใน 1 เดือน เป็นต้น ในส่วนของประสิทธิภาพของแต่ละวิธี ข้อดีและข้อควรระวังสามารถดูเพิ่มเติมได้จากตารางด้านล่างนี้ ซึ่งผู้ที่สนใจคุมกำเนิดสามารถเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย เลือกได้ตามความเหมาะสม และความชอบส่วนบุคคล















จะเห็นได้ว่าการคุมกำเนิดในปัจจุบันส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับฝ่ายหญิง ในขณะที่ฝ่ายชายมีเพียงการหลั่งภายนอกและการใช้ถุงยางอนามัย ไม่เช่นนั้นก็อาจจะต้องทำหมันเลย อย่างไรก็ตามในอนาคตกันใกล้นี้ น่าจะได้เห็นยาคุมกำเนิดสำหรับฝ่ายชายวางขายในร้านขายยาซึ่งอาจจะเป็นในรูปแบบยาแผ่นแปะผิวหนังหรือยารับประทาน

สุดท้ายนี้ผู้เขียนอยากฝากไว้โดยเฉพาะการใช้ยาทุกครั้งควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ หรือเภสัชกร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ยากับท่านเอง และอย่าลืมว่า “มีปัญหาเรื่องยา ปรึกษาเภสัชกรนะครับ”

บทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม

ยาเลื่อนประจำเดือน .. ที่นี่มีคำตอบ

ยาคุมฉุกเฉิน ... เรื่องจริงที่ผู้หญิงต้องรู้

ความรู้ทั่วไปเรื่องยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน

เอกสารอ้างอิง
  1. Chen, Dunjin et al. 2020. “Expert Consensus for Managing Pregnant Women and Neonates Born to Mothers with Suspected or Confirmed Novel Coronavirus (COVID-19) Infection.” International journal of gynaecology and obstetrics: the official organ of the International Federation of Gynaecology and Obstetrics.
  2. Guo, Yan-Rong et al. 2020. “The Origin, Transmission and Clinical Therapies on Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Outbreak - an Update on the Status.” Military Medical Research 7(1): 11.
  3. Kliegman, Robert M, and Joseph S Geme. 2019. Nelson Textbook of Pediatrics E-Book. Elsevier Health Sciences. https://books.google.co.th/books?id=LJuRDwAAQBAJ.
  4. Liang, Liang, and Ping Wu. 2020. “There May Be Virus in Conjunctival Secretion of Patients with COVID-19.” Acta ophthalmologica.
  5. Mullins, E et al. 2020. “Coronavirus in Pregnancy and Delivery: Rapid Review.” Ultrasound in Obstetrics & Gynecology. https://obgyn.onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1002/uog.22014.
  6. Qiu, Lin et al. 2020. “SARS-CoV-2 Is Not Detectable in the Vaginal Fluid of Women with Severe COVID-19 Infection.” Clinical infectious diseases: an official publication of the Infectious Diseases Society of America.
  7. Robbins, Cynthia L, and Mary A Ott. 2017. “Contraception Options and Provision to Adolescents.” Minerva pediatrica 69(5): 403–14.
  8. Wang, Wenling et al. 2020. “Detection of SARS-CoV-2 in Different Types of Clinical Specimens.” JAMA.
  9. Yuen, Fiona, Brian T Nguyen, Ronald S Swerdloff, and Christina Wang. 2020. “Continuing the Search for a Hormonal Male Contraceptive.” Best practice & research. Clinical obstetrics & gynaecology.
Others articles

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้

Public Knowledge Articles



View all articles
-->

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

Faculty of Pharmacy, Mahidol University.

447 Sri-Ayuthaya Road, Rajathevi, Bangkok 10400, THAILAND
Designed & Developed by Department of Information Technology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University.
Copyright © 2013-2020
 

We use Cookies

This site uses cookies to personalise your experience and analyse site traffic. By Clicking ACCEPT or continuing to browse the site you are agreeing to our use of cookies.