Knowledge Article


เก็บยาในโรงพยาบาลให้ถูกวิธี


รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. ชะอรสิน สุขศรีวงศ์
ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก : http://www.clipartlord.com/wp-content/
uploads/2013/10/hospital5.png
71,989 View,
Since 2016-07-03
Last active: 1h ago

Scan to read on mobile device
 
A - | A +


การเก็บรักษายาที่ห้องยาของโรงพยาบาลนั้นต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากยามีหลากหลายรายการ หากเก็บไม่ถูกต้องจะทำให้ยาเสื่อมคุณภาพ และอาจทำให้หยิบยาผิด ผู้ป่วยเกิดอันตรายจากการได้รับยาที่ไม่ถูกต้อง

หลักการเก็บยาที่ถูกวิธีต้องคำนึงถึง ความปลอดภัย ถูกหลักวิชาการ และตรวจสอบง่าย ดังนี้

วิธีการเก็บรักษา
  1. การกำหนดสถานที่เก็บ มีแผนผังแสดงตำแหน่งการจัดเก็บเวชภัณฑ์ชัดเจนเพื่อความสะดวกแก่การค้นหา อาจกำหนดเป็นรหัสตัวเลขบอกสถานที่เก็บ
  2. ควรวางเวชภัณฑ์บนชั้น ไม่ควรวางไว้กับพื้นโดยตรง หากจำเป็นควรมีแผ่นไม้หรือแท่นรองรับเพื่อป้องกันความชื้นจากพื้นไม่ให้มาสู่ยา นอกจากนี้ยังทำให้การทำความสะอาดพื้นเป็นไปได้อย่างสะดวก
  3. ัดยาเป็นหมวดหมู่ อาจแบ่งตามรูปแบยา เช่น ยาเม็ด ยาฉีด ยาน้ำ ยาใช้ภายนอก เป็นต้น
  4. ัดเวชภัณฑ์ที่รับเข้าใหม่หรือที่มีอายุการใช้ยาวกว่าไว้ด้านในหรือด้านซ้าย จัดเวชภัณฑ์เก่าหรือที่มีอายุการใช้งานสั้นกว่าไว้ด้านนอกหรือด้านขวา
  5. ยาที่มีลักษณะภายนอกคล้ายกันควรทำสติกเกอร์ติดเพิ่ม เพื่อป้องกันการหยิบยาผิด ก่อนที่จะเก็บเข้าชั้นวาง ดังรูปที่ 1

    (จากเอกสารประกอบการบรรยาย วิชาการตลาดยา ของ ภญ. พ.ต.อ.หญิงศิริพร จรุงศักดิ์เศรษฐ์)
  6. ติดสติกเกอร์สีต่างๆ แสดงปีที่ยาหมดอายุ และพิมพ์หมายเลขของเดือนที่หมดอายุลงบนสติกเกอร์ ลงที่ขวดหรือกล่องให้เห็นชัดเจน ทำบัญชีควบคุมวันหมดอายุของยาและเวชภัณฑ์และตรวจสอบทุกเดือน หากพบว่ายาใดใกล้หมดอายุ (ภายใน 6 เดือนข้างหน้า) และมีค้างอยู่ในคลังเวชภัณฑ์จำนวนมากซึ่งอาจใช้ไม่หมดทันเวลา ให้รีบรายงานต่อผู้อำนวยการโรงพยาบาลและคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด เพื่อขอความร่วมมือในการใช้หรือทำการแลกเปลี่ยนกับผู้ขาย
  7. ยาที่ต้องเก็บรักษาเป็นพิเศษ เช่น
    • ยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ต้องแยกเก็บไว้เป็นสัดส่วนในที่มั่นคง แข็งแรง ปลอดภัย มีกุญแจใส่ไว้พิเศษ
    • ยาที่มีราคาแพงมาก ควรแยกเก็บ การหยิบยาต้องมีการควบคุม
    • ยาที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ต้องแยกเก็บ ควบคุมการเบิกจ่ายโดยผู้ที่มีอำนาจ
    • แอลกอฮอล์และวัสดุไวไฟอื่นๆ เช่น เอธิลคลอไรด์ (ethyl chloride), อะซีโตน (acetone) ต้องเก็บในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำและต้องเก็บแยกต่างหากจากเวชภัณฑ์อื่นๆ เพราะติดไฟได้ง่าย
    • ยาประเภทชีววัตถุ เช่น อินซูลิน วัคซีน เซรุ่ม แอนตี้ทอกซิน ท็อกซอยด์ต้องเก็บไว้ที่อุณหภูมิระหว่าง 2-8 องศาเซลเซียส ต้องเก็บไว้ในตู้เย็นที่ควบคุมอุณหภูมิสำหรับเก็บเวชภัณฑ์โดยเฉพาะ และควรติดสติกเกอร์ บอกสภาวะการเก็บที่ถูกต้อง ดังรูปที่ 2

      (จากเอกสารประกอบการบรรยาย วิชาการตลาดยา ของ ภญ. พ.ต.อ.หญิงศิริพร จรุงศักดิ์เศรษฐ์)
    • ยาที่มีความเสี่ยงสูง (high - alert drugs) หมายถึงยาที่มีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดอันตราย หรือผลเสียต่อผู้ป่วยอย่างรุนแรง ถ้าหากมีความผิดพลาดในการสั่งใช้ยา คัดลอกคำสั่งใช้ยา จ่ายยา หรือการให้ยา ดังนั้นจึงต้องมีการจัดเก็บยาอย่างรัดกุม เพื่อไม่ให้เกิดการหยิบผิด ดังนี้
      • ควรแยกยากลุ่มนี้ไว้ห่างกับยาที่มีรูปลักษณ์ภายนอกของภาชนะบรรจุที่คล้ายคลึงกัน เพื่อลดความคลาดเคลื่อนในการจ่าย/เตรียมยา
      • ติด Sticker สีแดงที่ภาชนะที่เก็บยา เพื่อให้ชัดเจน และเพิ่มความระวังในการใช้ยามากขึ้น ดังรูปที่ 3

        (จากเอกสารประกอบการบรรยาย วิชาการตลาดยา ของ ภญ. พ.ต.อ.หญิงศิริพร จรุงศักดิ์เศรษฐ์)
สภาวะที่ใช้เก็บยา

สภาวะในการเก็บรักษายาจะถูกระบุไว้ที่ฉลากยา อย่างไรก็ตาม การเก็บยาตามสภาวะการจัดเก็บยาที่ดีไม่ได้ยืนยันว่ายาจะมีความคงตัวตลอดไป เพราะจะต้องดูวันหมดอายุของยาด้วย ในกรณีที่ไม่ระบุสภาวะในการเก็บ ควรเก็บในสภาวะที่ป้องกันความชื้น ที่อุณหภูมิไม่เกิน 30o C และไม่แช่แข็ง

ระบบปรับอากาศของคลัง ควรมีการควบคุมอุณหภูมิ มีตู้เย็นพร้อมเทอร์โมมิเตอร์ประจำตู้ มีบันทึกการตรวจสอบอุณหภูมิของตู้เย็นอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน



เอกสารอ้างอิง
  1. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21083197
  2. https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/193
  3. http://www.healthtoday.net/thailand/Disease_n/disease177_5.html
  4. http://www.pharmyaring.com/download/drug_sharing1_pdf.pdf
Others articles

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้

Public Knowledge Articles



View all articles
-->

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

Faculty of Pharmacy, Mahidol University.

447 Sri-Ayuthaya Road, Rajathevi, Bangkok 10400, THAILAND
Designed & Developed by Department of Information Technology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University.
Copyright © 2013-2020
 

We use Cookies

This site uses cookies to personalise your experience and analyse site traffic. By Clicking ACCEPT or continuing to browse the site you are agreeing to our use of cookies.