ภาษาไทย
ไทย
About us
Message from The Dean
History of the Faculty
Vision & Mission
Organization Chart
Administration & Staff
Departments
Honours & Awards
News
Academics & Admission
Undergraduate Program
Undergraduate Program
(International Pharmacy School)
Graduate Programs
Alumni Voice
Services & Research
Area of Research Excellence
Supporting Facilities / Units
Journal of Pharmaceutical Sciences
Publication
Presentation
Public Knowledge Center
Mahidol IR
Download form for Human Research
Internationalization
Agreement & MOU
Student Exchange Program
Contact us
ไทย
Home
>
Services
>
Knowledge Center
>
Articles
Knowledge Article
โรคสมาธิสั้นในเด็กและวัยรุ่น
รองศาสตราจารย์ ดร.ชะอรสิน สุขศรีวงศ์
ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก :
http://study.com/cimages/multimages/16/hiperactividad_large.jpg
36,128
View,
Since 2015-09-30
Last active: 5h ago
Scan to read on mobile device
A -
|
A +
ปัจจุบันมีเด็กไทยจำนวนไม่น้อย ที่มีปัญหาทางจิตเวชเด็ก ส่งผลให้พ่อแม่ผู้ปกครองหลาย ๆ คนรู้สึกกังวลและสงสัยเกี่ยวกับความแตกต่างของบุตรหลานของตนเอง ที่ไม่เหมือนกับเด็กอื่น ๆ ทั่วไป ถึงแม้ว่าจะพยายามทุ่มเทดูแลเลี้ยงดู และทำทุกสิ่งทุกอย่างให้ดีที่สุดแล้วก็ตาม ซึ่งปัญหาทางจิตเวชเด็กส่วนใหญ่แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม คือ
ปัญหาทางอารมณ์ ได้แก่ ความวิตกกังวล ความกลัว อาการซึมเศร้า อาการย้ำคิดย้ำทำ อาการทางร่างกายที่ทำให้นึกถึงว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากจิตใจ
ปัญหาพฤติกรรม ซึ่งได้แก่ การดื้อดึง ท้าทาย อาละวาด ก้าวร้าว การต่อต้านสังคม เช่น การขโมยของ วางเพลิง ยาเสพติด
ปัญหาพัฒนาการช้าในด้านต่าง ๆ ได้แก่ สมาธิ การเคลื่อนไหว การใช้ภาษา การเล่น การควบคุมการขับถ่าย การเรียน เช่น การอ่าน การเขียน การสะกดคำ
ปัญหาความสัมพันธ์ ที่อาจ เกิดจากเด็กเอง เช่น เด็กออทิสติก เด็กสมาธิสั้น ซนไม่อยู่นิ่ง หรือเกิดจาก ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและผู้ปกครอง เช่น ความผิดปกติของความ ผูกพัน
อาการของโรคจิตเวชเด็กในแต่ละช่วงวัยจะแสดงออกแตกต่างกัน และไม่เหมือนอาการในวัยผู้ใหญ่ เพราะพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงอายุไม่เหมือนกัน ซึ่งเด็ก และวัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่มีความแตกต่างจากผู้ใหญ่ ทั้งในส่วนของการเจริญเติบโตของสมอง ร่างกาย และจิตใจ โดยสมองของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 5 ขวบ จะมีการเจริญเติบโตถึงร้อยละ 80 ของผู้ใหญ่ จากนั้นการเจริญเติบโต ก็จะช้าลง ซึ่งหากในช่วงดังกล่าวมีปัจจัยด้านลบมากระทบต่อการเจริญเติบโต ของสมอง ก็จะมีแนวโน้มทำให้เด็กเกิดปัญหาพัฒนาการช้า ผิดปกติ หรือเป็นโรคทางจิตเวชเด็กตามมาได้ ปัจจุบันปัญหาที่พบบ่อยในวัยเด็กอายุ ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ขวบ คือ ปัญหาทางด้านอารมณ์ และพฤติกรรม เช่น ดื้อ เอาแต่ใจ ความกลัว ความวิตกกังวล มาก กว่าปกติ ปัญหาพัฒนาการล่าช้า หรือผิดปกติ พูดช้า สติปัญญาต่ำกว่าปกติ รวมถึงโรคออทิสซึม ส่วนปัญหาที่พบบ่อยในเด็กวัยเรียนอายุตั้งแต่ 12-16 ปี นั้น คือ ปัญหาเรื่องการเรียน สืบเนื่องจากเด็กเป็นโรคสมาธิสั้น หรือเป็นโรคที่มีความบกพร่องของสมอง ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ ( Learning disorder) สติปัญญาต่ำกว่าปกติ รวมถึงปัญหาด้านอารมณ์ และพฤติกรรม ที่อาจเป็นผลต่อเนื่องมาจากปัญหา ในวัยเด็กเล็กที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขที่เหมาะสม
สำหรับปัญหาที่พบบ่อยในช่วงวัยรุ่น อายุตั้งแต่ 12-18 ปี คือ ปัญหาการเรียนแบบสื่อ ปัญหาการคบเพื่อน และปัญหาการปรับตัว ปัญหาทางจิตเวชเด็ก และวัยรุ่นนั้น ถ้าหากมีปัญหามากและซับซ้อนก็ต้องปรึกษากับแพทย์ หรือบุคลากรที่ทำงานทางด้านนี้ ซึ่งหากเด็กได้รับความช่วยเหลือ ที่เหมาะสมจะทำให้เด็กสามารถมีพัฒนาการตามวัยที่ปกติและมีพฤติกรรม อารมณ์ที่เหมาะสมแต่ถ้าเด็กไม่ได้รับการช่วยเหลือ ก็จะทำให้เด็กต้องเสียโอกาส อย่างเช่น ปัญหาเรื่องการเรียน ซึ่งปัจจัยหลักที่ ทำให้เด็กมีปัญหาในเรื่องเรียนจะเกิดจากตัวเด็กเอง
แต่ในปัจจุบันสามารถที่จะคัดกรอง และแยกแยะพัฒนาการของเด็กที่มีความเสี่ยง ที่จะพัฒนาเป็นโรคต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า หรือ เด็กออทิสติก เด็กที่มีความยากลำบากในการเรียนรู้ ( LD) เด็กสมาธิสั้น
โดยพบว่า โรคสมาธิสั้นเป็นโรคทางจิตเวชในกลุ่มเด็กที่พบได้ประมาณร้อยละ 5 ของเด็กอายุ 8-11 ปีและร้อยละ 5-10 ของเด็กวัยเรียนโดยพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 4-6 เท่า อาการสำคัญคือขาดสมาธิ ซนอยู่ไม่นิ่งและหุนหันพลันแล่น ทำให้มีผลต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และการเข้าสังคมกับผู้อื่น เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นไม่สามารถใช้ชีวิตในห้องเรียนได้เหมือนเด็กปกติ มักจะรบกวนชั้นเรียนเนื่องจากการที่ทำอะไรไม่ได้เท่ากับเพื่อน จะรู้สึกเศร้าและหงุดหงิด เมื่อไม่เป็นที่ชื่นชอบของเพื่อนร่วมชั้นจะไม่อยากไปโรงเรียน รู้สึกโดดเดี่ยวไร้ค่า ทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวได้ ผลกระทบของผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นที่ไม่ได้รับการประเมินและการบำบัดรักษานั้น มีความรุนแรงและเป็นปัญหาระยะยาวทั้งต่อตัวเด็ก ครอบครัวและสังคม
สรุปสถานการณ์ปัญหาในปัจจุบันของประเทศไทย
ภาคประชาชน
ยังขาดความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงและการดูแลและผลกระทบของโรคสมาธิสั้น
ขาดแคลนทุนทรัพย์ ขาดแหล่งสนับสนุนทางเศรษฐกิจ สังคม เพื่อการใช้จ่ายในการเดินทาง รักษาโรคสมาธิสั้นทั้งของผู้ป่วยและผู้ปกครอง
ความขาดแคลนบุคลากร
จำนวนจิตแพทย์เด็กมีจำนวนน้อย ประมาณ 150 คนต่อประชากรเด็กและวัยรุ่น 19.5 ล้านคน
สหวิชาชีพซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการจัดบริการมีความขาดแคลนใกล้เคียงกัน บริการจิตเวชเด็กและวัยรุ่นกระจุกอยู่ในเขตเมือง
มีสถานพยาบาลที่มีศักยภาพในการให้บริการทางด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่นน้อย ส่วนใหญ่อยู่ในเขตตัวเมือง หรือเป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยหรือโรงพยาบาลในสังกัดกรมสุขภาพจิต ความล่าช้าและความยากในการเข้าถึงบริการ
การประเมินผู้ป่วยใหม่แต่ละรายใช้เวลาในการประเมินตั้งแต่ 15-30 นาที
ระยะเวลารอนัดในคลินิกจิตเวชเด็กและวัยรุ่นติด อันดับ 1ใน 5 ของคลินิกที่มีระยะเวลารอนัดนาน
การนัดผู้ป่วยรายใหม่ยาก และใช้เวลานานเนื่องจากต้องมีการดูแล
การตรวจติดตามผู้ป่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่นรายเก่าเป็นระยะไปจนผู้ป่วยอายุประมาณ 18 ปี ทำให้มีผู้ป่วยที่อยู่ในระบบจำนวนมากเมื่อเทียบกับจำนวนบุคคลากรและสถานบริการ
โรคสมาธิสั้นเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติในการทํางานของสมองที่ทำให้ผู้ป่วยมีความบกพร่อง ในการควบคุมสมาธิและการแสดงออกทางพฤติกรรม โดยเริ่มแสดงอาการตั้งแต่ในวัยเด็ก และส่วนใหญ่มัก เป็นต่อเนื่องไปจนถึงวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ อาการของโรคสมาธิสั้นจะเปลี่ยนแปลงไปตามวัย โดยอาการ พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งจะลดลงเมื่อผู้ป่วยโตขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาช่วยเหลือที่ดีอาการความผิดปกติที่เป็น จะทําให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งในด้านการเรียน อาชีพ ครอบครัว และสังคม การรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นจึงต้องอาศัยการช่วยเหลือหลายวิธีร่วมกัน ที่สำคัญได้แก่การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคแก่ผู้ปกครอง การให้ คําแนะนําในการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย การประสานงานกับทางโรงเรียนเพื่อให้การช่วยเหลือในชั้นเรียน และการใช้ยาเพื่อลดอาการด้านพฤติกรรมที่เป็นปํญหา เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุม ตนเองและปรับตัวได้ดีขึ้นสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้
Others articles
บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้
โรคสมาธิสั้น-การดูแล-ลูกสมาธิสั้น
อ่านแล้ว 28,397 ครั้ง
Public Knowledge Articles
Top 10 Selenium-Rich Foods & Health Benefit
13m ago
Top 10 Potassium-Rich Foods & Health Benefit
24m ago
Young Coconut Water: The functional drink from nature
1h ago
AMD.. what to eat to delay it?
1h ago
Stevia: Natural sweetness...sweetener of choice
1h ago
Trans-fatty acids in fried foods and baked foods
4h ago
View all articles
-->
-
ปรับขนาดอักษร
+
ดูเว็บไซต์ในภาษาไทย
Faculty of Pharmacy, Mahidol University.
447 Sri-Ayuthaya Road, Rajathevi, Bangkok 10400, THAILAND
Designed & Developed by Department of Information Technology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University.
Copyright © 2013-2020
We use Cookies
This site uses cookies to personalise your experience and analyse site traffic. By Clicking ACCEPT or continuing to browse the site you are agreeing to our use of cookies.
ACCEPT