คำตอบ
ยาที่คนทั่วไปเรียกว่า “ยาแก้แพ้” นั้น เป็นยาต้านฮีสตามีน เช่น คลอร์เฟนิรามีน (chlorpheniramine), เซทิริซีน (cetirizine), ลอราทาดีน (loratadine) ช่วยลดอาการของโรคหวัด ยาเหล่านี้อาจบดบังอาการทางผิวหนังที่เกิดจากการแพ้ยาหรือแพ้วัคซีน แต่กรณีที่ถามมานี้ได้รับวัคซีนมาแล้ว 7 วันจึงไม่มีผลดังกล่าว ส่วนยาที่ใช้บรรเทาอาการคัดจมูก เช่น ซูโดอีเฟดรีน (pseudoephedrine), ฟีนิลเอฟรีน (phenylephrine) จากเอกสารข้อมูลผลิตภัณฑ์ (product information) ของวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer-BioNTech COVID-19 vaccine) พบว่ายังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับปฏิกิริยาระหว่างวัคซีนนี้กับยาใด และจากการสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมไม่พบว่ายาต้านฮีสตามีนที่กล่าวมา, ซูโดอีเฟดรีนและฟีนิลเอฟรีน จะมีผลในการรบกวนฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันของวัคซีนชนิดใด ดังนั้นภายหลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์มาแล้วหากมีความจำเป็นสามารถรับประทานยาแก้แพ้และยาบรรเทาอาการคัดจมูกที่มีตัวยาดังกล่าวได้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับยาอื่นได้ในเรื่อง “ยากับวัคซีนโควิด-19 : มีผลกระทบต่อกันอย่างไร?” โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ที่
https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/589
Reference:
1. Comirnaty (COVID-19 Vaccine, mRNA) suspension for injection, for intramuscular use. Highlights of prescribing information. Revised: 12/2021. https://www.fda.gov/media/151707/download
2. Farzam K, Sabir S, O’Rourke MC. Antihistamines, updated 2021 Dec 13]. In: StatPearls. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK538188/
Keywords:
chlorpheniramine, cetirizine, loratadine, pseudoephedrine, phenylephrine, Pfizer-BioNTech COVID-19 vaccine, วัคซีนไฟเซอร์, ยาแก้แพ้, ยาต้านฮีสตามีน