หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หน้าแรก
รู้จักคลังข้อมูลยา
บริการวิชาการ
ข่าวยา
คลิปความรู้เรื่องยา
New
สารคลังข้อมูลยา
เกร็ดความรู้สู่ประชาชน
ตอบปัญหาเรื่องยา
เก็บหน่วยกิต CPE
บริการสมาชิก
ค้นหา
ติดต่อเรา
หน้าแรก
>
บริการวิชาการ
>
ตอบคำถามเรื่องยา
อยากให้คุณแม่ (อายุ 55 ปี) ทานแคลเซียมเสริมแต่จะเลือกทานอย่างไร เพราะทราบมาว่า calcium มีหลายประเภท รบกวนช่วยแนะนำด้วย
ถามโดย ศศิธร เผยแพร่ตั้งแต่ 06/11/2003-11:49:08 -- 5,220 views
คำตอบ
การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ calcium เสริมสุขภาพ โดยทั่วไปพิจารณาที่ชนิดของเกลือแคลเซียม ในแต่ละชนิดของเกลือแคลเซียมจะมีปริมาณเนื้อแคลเซียมที่มีอยู่จริงไม่เท่ากัน เกลือใดที่มีเนื้อแคลเซียมมากจะมีโอกาสถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้มากกว่า และจะดูดซึมได้มากน้อยเพียงใด ยังขึ้นอยู่กับความสามารถในการละลายน้ำ, การแตกตัวของเกลือชนิดนั้น ๆ เกลือแคลเซียม ปริมาณแคลเซียม (%) Calcium glubionate 6.5 Calcium gluconate 9.3 Calcium lactate 13.0 Calcium citrate 21.0 Calcium acetate 25.0 Tricalcium phosphate 39.0 Calcium carbonate 40.0 Calcium chloride 27.3 Calcium gluceptate 8.2 ส่วนใหญ่ที่พบในผลิตภัณฑ์ แคลเซียมจะเป็นเกลือ carbonate, gluconate, citriate และ lactate-gluconate เป็นต้น ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบรับประทานต่าง ๆ กัน ได้แก่ ผลแคลเซียม, แคลเซียมอัดเม็ด, แคลเซียมเม็ดเคี้ยวและแคลเซียมเม็ดฟู่ นอกจากชนิดเกลือแคลเซียม ยังพิจารณาถึงปริมาณแคลเซียมที่ได้รับจากสารอาหารจากอดีตจนถึงปัจจุบัน, การออกกำลังกาย และโรคประจำตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของไตควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์แคลเซียม ปริมาณแคลเซียมที่มากในเกลือไม่ได้ก่อให้เกิดผลดีเสมอไป มักทำให้เกิดอาการท้องผูก, ท้องอืดอยู่บ่อย ๆ เช่นในเกลือ carbonate แต่มีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับเกลือชนิดอื่น ๆ
Reference:
Drug facts and comparisons pocket version, 7th edition, 2003.
Keywords:
-
วิตามินและอาหารเสริม
ดูคำถามทั้งหมด
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด
Mirdametinib ยาใหม่สำหรับ neurofibromatosis type 1
สัปดาห์ที่ 2 เดือน 07/2568
Symbravo® (meloxicam+rizatriptan) ยาสูตรผสมกับนวัตกรรมใหม่สำหรับการบรรเทาไมเกรน
สัปดาห์ที่ 1 เดือน 07/2568
Crinecerfont ยาใหม่สำหรับรักษา classic congenital adrenal hyperplasia
สัปดาห์ที่ 4 เดือน 06/2568
Fixed-dose albendazole-ivermectin ให้ผลดีสำหรับการติดเชื้อพยาธิผ่านดิน
สัปดาห์ที่ 3 เดือน 06/2568
Sotorasib + panitumumab ยาคู่ใหม่สำหรับมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงระยะแพร่กระจาย ที่มีการกลายพันธุ์ของยีน KRAS G12C
สัปดาห์ที่ 2 เดือน 06/2568
หน่วยคลังข้อมูลยา
447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้
ยอมรับ