หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

มักได้ยินคำพูดจากชาวบ้านและคนแก่บ่อยๆว่าการให้น้ำเกลือแล้วทำให้อ้วน ถ้าป่วยจะไม่ยอมให้น้ำเกลือเด็ดขาด จริงๆแล้วมันคืออะไร ช่วยไขข้อข้องใจแก่ชาวบ้านด้วยนะครับ

ถามโดย Ateelek เผยแพร่ตั้งแต่ 12/11/2012-09:43:48 -- 48,340 views
 

คำตอบ

การให้น้ำเกลือในผู้ป่วยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาภาวะสมดุลของน้ำและสารน้ำในร่างกาย หรือสมดุลของภาวะกรดด่าง เกลือแร่ในร่างกาย ใช้รักษาภาวะช็อก เนื่องจากเสียเลือด เสียน้ำ หรือจากสาเหตุอื่น ๆให้พลังงานทดแทนเป็นการชั่วคราว ในกรณีผู้ป่วยรับประทานอาหารและน้ำไม่ได้เพียงพอ นอกจากนี้ก็มีการให้ไปพร้อมกับยาฉีดเข้าหลอดเลือด ตามปกติแล้วร่างกายจะสูญเสียน้ำออกจากร่างกายและชดเชยได้โดยการดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ แต่เมื่อร่างกายมีการสูญเสียน้ำมากกว่าปกติ เช่น ท้องเดิน อาเจียน เหงื่อออกมาก ไข้สูง เสียเลือดจากอุบัติเหตุ เป็นต้น จึงต้องมีการให้สารน้ำทดแทน เช่นน้ำเกลือ เป็นต้น น้ำเกลือเป็นคำเรียกในภาษาชาวบ้านหมายถึงยาฉีดเข้าหลอดเลือดที่มีปริมาณมาก แต่ในทางการแพทย์จริง ๆ แล้วน้ำเกลือจะมีหลายชนิด ซึ่งมีองค์ประกอบแตกต่างกัน บางชนิดมีแต่เกลือแร่ บางชนิดมีสารอาหารอื่นด้วย เช่น มีน้ำตาลผสมอยู่ เพื่อช่วยให้พลังงานทดแทนแก่ผู้ป่วย ดังนั้นการให้น้ำเกลือไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยอ้วนแต่อย่างใด แต่อาจรู้สึกว่าตัวบวมขึ้นเนื่องจากเป็นการเพิ่มปริมาตรของเหลวในร่างกายอย่างหนึ่ง ถ้ามากเกินกว่าความสามารถในการขับออกของสภาวะร่างกายในขณะนั้น ก็จะทำให้เกิดการบวมน้ำขึ้น และเมื่อหยุดให้น้ำเกลือแล้ว อาการบวมน้ำหรือตัวบวมก็จะกลับมาเป็นปกติ ในทางปฏิบัติจะมีการเฝ้าระวังการบวมน้ำในระหว่างการให้น้ำเกลืออยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา

Reference:
-

Keywords:
-





ทางเดินอาหาร

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้