หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อยากทราบว่าขนาดยาsimvastatinในผู้ใหญ่ maximun dose เท่าไร? 80 mg/dayหรือไม่ แต่ในแนวทางปฎิบัติทำได้หรือไม่

ถามโดย เต๋า เผยแพร่ตั้งแต่ 20/09/2010-15:07:10 -- 21,196 views
 

คำตอบ

Simvastatin เป็นยากลุ่ม HMG CoA reducatase inhibitors ซึ่งมีข้อบ่งใช้ในการลดระดับไขมันในเลือดชนิด LDL-C และยังใช้เพื่อป้องกัน Cardiovascular event ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงด้วย ขนาดยาที่ใช้ทั่วไป เริ่มต้นที่ 5 mg ซึ่งสามารถลด LDL-C ได้ประมาณ 26% และสามารถ titrate ได้จนถึงขนาดยาสูงสุดคือ 80 mg ซึ่งสามารถลด LDL-C ได้ประมาณ 47% อย่างไรก็ตามข้อจำกัดที่สำคัญของยานี้และมีการประกาศเตือนจาก USFDA ในเรื่องการเกิด Rhabdomyolysis ซึ่งเป็น Dose-dependent adverse reaction ค่ะ โดยจะพบมากในผู้ป่วยที่มีการใช้ยาในขนาดสูง เช่น Simvastatin 40 mg ขึ้นไป นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาร่วมด้วยคือ การเกิด Drug interaction โดยเฉพาะกับกลุ่ม Fibrate (Gemfibrozil) หรือยากลุ่มที่เป็น Potent CYP 3A4 inhibitors เช่น Azole antifungals (Ketoconazole, itraconazole) ยาอื่น ๆ ที่พบว่ามี drug interaction เช่นกัน คือ cyclosporin, amiodarone, verapamil, diltiazem ซึ่งต้องมีการปรับขนาดยา simvastatin เสมอหากมีความจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกัน ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจพบได้เช่นกันคือ การที่ผู้ป่วยมี severe renal impairment, hepatic impairment ทำให้ต้องมีการปรับขนาดยาตามระดับของการทำงานของอวัยวะดังกล่าวค่ะ นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญคือผู้ป่วยควรได้รับความรู้ในด้านอาการผิดปกติที่ควรเฝ้าระวังและได้รับการติดตามค่าทางห้องปฏิบัติการที่สัมพันธ์กับภาวะดังกล่าวข้างต้น ได้แก่ อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อโดยไม่ทราบสาเหตุ, ปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ, การติดตามค่า CPK, renal function, Liver function test เป็นระยะ อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องได้รับ LDL-C tightly control คงต้องมีการพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญดังกล่าวข้างต้น หากมีปัจจัยเสี่ยงอาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการใช้ Simvastatin ในขนาดสูง และเปลี่ยนเป็นการใช้ยาอื่น ๆ ในกลุ่มเดียวกันที่มี potency ที่สูงกว่า เช่น atorvastatin, rosuvastatin เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิด dose-dependent adverse reaction ค่ะ นอกจากนี้ยังมีอีกทางเลือกหนึ่งคือ การใช้ Combination regimen ระหว่าง simvastatin และ ezetimibe ซึ่งมีการศึกษาพบว่าสามารถใช้ลด LDL-C ได้ดีและมีอุบัติการณ์การเกิด rhabdomyolysis หรือ myopathy ที่ต่ำกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ high dose simvastation monotherapy อย่างไรก็ตามยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีการติดตามผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นดังกล่าวข้างต้นร่วมด้วยเสมอ รายละเอียดเพิ่มเติมตามเอกสารอ้างอิงค่ะ

Reference:
1. Grundy SM, Cleeman JI, Merz CN, et al. Implication of recent clinical trials for the national cholesterol education program adult treatment panel III guidelines. J Am Coll Cardiol. 2004.44(3):730-32.
2. Med watch. Food and drug administration. Available at: [http://www.fda.gov/NewsEvents/Newsroom/ PressAnnouncements/ucm205215.htm]. Access date: 20 September 2010.
3. Pasternak RC, Smith SC Jr, Bairey-Merz CN, et al. ACC/AHA/NHLBI Clinical advisory on the use and safety of statins. Stroke. 2002.33(9):2337-41.

Keywords:
-





หัวใจและหลอดเลือด

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้