หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อยากทราบว่ายา Imdomethacin,Colchicine และ Propranolol สามารถใช้ในการรักษาโรคทาง Skin ได้กับโรคแบบไหน อย่างไร เพราะเห็นแพทย์ที่โรงพยาบาลสั่งใช้ในผู้ป่วยหลายราย

ถามโดย กั๊ป เผยแพร่ตั้งแต่ 25/06/2010-17:01:21 -- 13,174 views
 

คำตอบ

Indomethacin และ Colchicine ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคหลอดเลือดอักเสบ (Cutaneous vasculitis) ซึ่งเป็นการอักเสบของหลอดเลือด อาจเกิดเฉพาะที่ผิวหนังหรือเป็นอาการแสดงร่วมกับการอักเสบของหลอดเลือดที่อวัยวะภายในอื่น ๆ เช่น หลอดเลือดที่ไต หัวใจ เป็นต้น โรคในกลุ่มนี้มีความรุนแรงต่างกัน สาเหตุการอักเสบของหลอดเลือดที่ผิวหนังเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ 1.โรคติดเชื้อ เช่น วัณโรค เชื้อแบคทีเรียบางประเภท เชื้อไวรัสตับอักเสบ 2.ปฏิกิริยาการแพ้ยาหรือสารเคมีบางชนิด 3.โรคออโตอิมมูน เช่น โรคเอสแอลอี 4.โรคมะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง 5.ไม่ทราบสาเหตุ ผู้ป่วยบางรายก็อาจไม่สามารถหาสาเหตุการอักเสบของหลอดเลือดได้ การรักษาอาการของหลอดเลือดอักเสบ ยาที่รักษาโรคหลอดเลือดอักเสบที่ผิวหนังมีหลายชนิด เช่น colchicine, dapsone, NSAIDs, prednisolone เป็นต้น Indomethacin เป็นยากลุ่ม non-steroid anti-inflammatory drugs (NSAID) ซึ่งกลไกในการรักษา Cutaneous vasculitis ยังไม่ทราบแน่ชัด ส่วน Colchicine เป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการอักเสบและบวมจากอาการปวดเก๊าท์อย่างเฉียบพลัน (gout attack) โดย colchicines มีกลไกการออกฤทธิ์คือ ยับยั้งกระบวนการ chemotaxis ของ polymorphonuclear leukocytes (PMNLs) มีรายงานการศึกษา (case report) ที่นำ colchicines มาใช้ในการรักษาภาวะ necrotizing vasculitis โดย colchicines ให้ประสิทธิภาพที่ดีในโรคที่มี PMNLs เป็นสาเหตุ โดยการเกิด necrotizing vasculitis เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น แพ้ยา (drug allergy), collagen disease, Behcet\’s syndrome, cryoglobulinemia และการติดเชื้อ จากรายงานการศึกษาขนาดของ colchicines ที่ใช้ในการรักษาภาวะ necrotizing vasculitis คือ 0.6 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ระยะเวลาที่รับประทานขึ้นอยู่กับสภาวะของโรค ควรรับประทานพร้อมอาหารเพื่อเป็นการลดอาการข้างเคียง และมีรายงานการศึกษาการใช้ indomethacin ใน Recurrent Cutaneous Necrotizing Eosinophilic Vasculitis Propanolol เป็นยากลุ่ม nonselective beta-aldrenergic blocker มีข้อบ่งใช้ในการรักษาความดันโลหิตสูง ส่วนการใช้ยา propranolol ในคนไข้ทีมีปัญหาด้านผิวหนังนั้นยังไม่มีข้อบ่งใช้เป็นเพียงกรณีศึกษา (Case report) โดยใช้ propranolol ในการรักษาเนื้องอกของหลอดเลือด (Vascular tumor) ชนิด hemangiomas ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กทารก ประมาณ 8-12 % ยังไม่ทราบกลไกแน่ชัด ยาที่ใช้ในการรักษาได้แก่ ยาสตีรอยด์ Interferon Alfa-2a วิธีผ่าตัดหรือใช้แสงเลเซอร์ ได้มีการนำ propranolol มาใช้ในขนาด 0.16 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทุก 8 ชั่วโมง สามารมเพิ่มขนาดได้ 0.67 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทุก 8 ชั่วโมง (2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน) และต้องมีการติดตามเช่น สัญญาณชีพและระดับน้ำตาลเนื่องจากอาการข้างเคียงของยา เนื้องอกของ หลอดเลือด (Vascular tumor) ในทารกพบได้บ่อยที่บริเวณศีรษะและคอ อาจเป็นมาแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง แบ่งเนื้องอกของหลอดเลือดตามลักษณะของ endothelium และลักษณะการดำเนินของโรค1 เป็น 2 ประเภทคือ hemangiomas และ vascular malformations 1. Hemangiomas เกิดจาก endothelial hyperplasia จะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะทารก แล้วฝ่อตัวในระยะกวัยเด็กไม่พบในผู้ใหญ่ โดยทั่วไปเมื่อเริ่มปรากฏมักมีลักษณะเพียงจุดแดงขนาดเล็ก 2. Vascular malformations เกิดจากความผิดปกติของ endothelium เป็นลักษณะขยายยืดออก (ectasia) ปกติพบแต่กำเนิดแต่บางครั้งอาจไม่สังเกตเห็นชัด ไม่ฝ่อตัว และมักมีการขยายขนาดขึ้น.

Reference:
1. Chang S, Carr W. Urticarial vasculitis. Allergy Asthma Proc. 2007 Jan-Feb;28(1):97-100.
2. Tanglertsampan C, Tantikun N, Noppakun N, Pinyopornpanit V. Indomethacin for recurrent cutaneous necrotizing eosinophilic vasculitis. J Med Assoc Thai. 2007 Jun;90(6):1180-2.
3. Denoyelle F, Leboulanger N, Enjolras O, Harris R, Roger G, Garabedian EN. Role of Propranolol in the therapeutic strategy of infantile laryngotracheal hemangioma. Int J Pediatr Otorhinolaryngol. 2009 Aug;73(8):1168-72. Epub 2009 May 29.
4. Chang MW. Propranolol for Infantile Hemangioma: Safety Issues and Proposed Protocol in journal watch medicine that matters. Goldsmith AL.(editor). December 2009 Vol. 17 No. 12

Keywords:
-





ผิวหนังและเครื่องสำอาง

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้