หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เป็นภูมิแพ้แล้วไปหาหมอมาครับ หมอจ่ายยาแก้แพ้มาไม่ทราบว่าเป็นยาอะไร กินไปซักพักหนึ่งรู้สึกว่าไม่ได้กลิ่นอะไรเลย เป็นเพราะเหตุใดครับ

ถามโดย อัครินทร์ เผยแพร่ตั้งแต่ 20/06/2010-22:14:36 -- 2,317 views
 

คำตอบ

จากข้อมูลที่ได้รับจากคำถาม ทราบเพียงข้อมูลจากคุณอัครินทร์ว่ามีโรคประจำตัวคือ ภูมิแพ้ และได้รับยาแก้แพ้ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็น antihistamine มาจากแพทย์ ทำให้ยังอาจได้รับข้อมูลที่ไม่เพียงพอที่จะประเมินสาเหตุของการเกิดความผิดปกติของการได้รับกลิ่น อย่างไรก็ตามปัญหาการรับกลิ่นได้น้อยลงมีสาเหตุใหญ่ ๆ คือ อุบัติเหตุทางศีรษะ, การติดเชื้อไวรัสจากการเป็นหวัด ทำให้เกิดการสูญเสียการรับกลิ่นแบบปลายประสาทเสื่อม (Sensory loss) และโรคทางช่องโพรงจมูกและไซนัส หรือการเป็นภูมิแพ้เรื้อรัง สาเหตุเนื่องจากช่องจมูกถูกอุดตัน (Conductive loss) นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจพบได้บ้าง เช่น การสูดรับสารพิษอย่างรุนแรง, โรคทางระบบประสาทและโรคพันธุกรรมบางอย่าง, โรคทางเมตะบอลิสม เช่น เบาหวาน, ภาวะต่อมทัยรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ นอกจากนี้อาจเป็นการเสื่อมสภาพของประสาทรับกลิ่นไปตามอายุ สำหรับข้อมูลเรื่องยาแก้แพ้ ที่ใช้โดยทั่วไปซึ่งปัจจุบันมีการแบ่งออกเป็น 3 รุ่น คือ 1. รุ่นที่ 1 (First generation) Sedating Antihistamine : เช่น Chlorpheniramine / Hydroxyzine / Tripolidine มีฤทธิ์ข้างเคียงต่อระบบประสาทส่วนกลาง ผลคือทำให้เกิดอาการมึนซึม ไม่สดชื่น ง่วงนอน และยังมีอาการไม่พึงประสงค์เช่น คอแห้ง ปากแห้ง ท้องผูก ปัสสาวะลำบาก 2. รุ่นที่ 2 (Second generation) Nonsedating Antihistamines : เช่น Terfenadine / Astemizole / Lolatadine ยากลุ่มนี้ได้พัฒนาเพื่อแก้จุดด้อยของยาในกลุ่มที่ 1 โดยมีคือ อาการง่วงซึมน้อย ออกฤทธิ์นานกว่า 12 ชั่วโมง และออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงกับ receptor ต่อ ฮีสตามีน มากกว่ายาในรุ่นที่ 1 3. รุ่นที่ 3 (Third generation) เช่น Fexofenadine ยากลุ่มนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยมีคุณสมบัติเหมือนรุ่นที่ 2 แต่หลีกเลี่ยงปัญหาเกี่ยวกับการเมตาโบลิซึ่ม ที่ตับ โดยได้พัฒนาในรูปแอคทิฟ ซึ่งสามารถออกฤทธิ์ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนสภาพที่ตับ โดยข้อมูลในเบื้องต้นยังไม่พบว่ายากลุ่ม antihistamines มีผลข้างเคียงในด้านการรับกลิ่นที่ผิดปกติ ดังนั้นข้อแนะนำ สำหรับคุณอัครินทร์คือ หากมีอาการนี้ระยะยาวควรมีปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินสาเหตุของ อาการนี้ต่อไป

Reference:
1. ประยุทธ ตันสุริยวงษ์. ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย. [Available from: http://www.rcot.org/demo/data_detail.php?op=knowledge&id=26]

Keywords:
-





ทางเดินหายใจและหูตาคอจมูก

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้