หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ถ้าเราสูกดมยาหม่องเป็นประจำจะมีผลต่องสุขภาพอย่างไรบ้างค่ะ

ถามโดย ปอ เผยแพร่ตั้งแต่ 14/10/2009-11:15:40 -- 9,208 views
 

คำตอบ

ยา หม่องจัดเป็นยาสามัญประจำบ้านที่มีการใช้กันมาเป็นเวลานานจนทำให้บางคนถึง กับต้องมียาหม่องติดตัวเพื่ออยู่ตลอดเวลาจนกลายเป็นยาสามัญประจำตัวไป ยาหม่องที่มีอยู่ในท้องตลาดมีอยู่หลายยี่ห้อหลายรูปแบบ ทั้งชนิดที่เป็นขี้ผึ้งหรือชนิดน้ำ ซึ่งส่วนประกอบในแต่ละยี่ห้อหรือแต่ละรูปแบบก็จะแตกต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่แล้วส่วนประกอบในยาหม่องมักจะเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหย (volatile oil) เช่น menthol, การบูร, อบเชย, สะระแหน่ เป็นต้น และนอกจากนี้ยาหม่องบางสูตรอาจมี mehtyl salicylate ผสมอยู่เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยอีกด้วย ข้อบ่งใช้ของยาหม่อง ได้แก่ บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แมลงสัตว์กัดต่อย ข้อมูล จากการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้ยาหม่องเป็นระยะเวลานานนั้นยังไม่ มีปรากฏครับ แต่มีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของสารที่เป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ของยาหม่อง ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นระบุในเอกสารข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ของศูนย์ ข้อมูลวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์ กรมควบคุมมลพิษ ว่าอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุจมูกได้[1] และสารบางชนิดเช่น menthol พบข้อมูลว่าหากสูดดมมากเกินไป(ไม่ได้ระบุไว้ว่ามากแค่ไหน) อาจทำให้เกิดอาการมึนงง สับสน มองเห็นภาพซ้อน และกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ [2] ดังนั้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้และลดความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงและความเป็นพิษ ควรใช้ยาหม่องเมื่อจำเป็นเท่านั้นครับ

Reference:
1. ศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์ กรมควบคุมมลพิษ. เอกสารข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ [Online]. [cited 2009 Oct 20]. Available from: URL: http://msds.pcd.go.th/name.asp.

2. Committee on herbal medicinal products (HMPC). Community herbal monograph on mentha x piperita l., aetheroleum[Online].2007 Oct 31 [cited 2009 Oct 20]. Available from: URL: http://www.emea.europa.eu/pdfs/human/hmpc/menthae_piperitae_aetheroleum/34946606enfin.pdf.

Keywords:
-





ทางเดินหายใจและหูตาคอจมูก

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้