หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สวัสดีค่ะ ดิฉันมีเรื่องยารักษาสิวมาปรึกษาค่ะ พอดีว่าไปพบหมอรักษาสิวมา แล้วหมอให้ยามา 2 ตัวค่ะ เป็นยากิน ตัวแรกยาเป็นเม็ดสีขาวเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8 cm ด้านหนึ่งมีรูป 6 เหลี่ยม อีกด้านมีเลข 100 ยาตัวนี้หมอให้กินหลังอาหารเช้าเย็น ครั้งละเม็ด ค่ะ ยาตัวที่สองมีสีชมพูอ่อนเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.6 cm ด้านหนึ่งมีเส้นขีดตรงกลาง อีกด้านไม่มีอะไร โดยหมอให้กินตัวนี้ก่อนนอนค่ะครังละ 2เม็ด หมอบอกว่าเป็นยาแก้อักเสบกับยาแก้แพ้ อยากทราบว่ายา 2 ตัวนี้มันมีผลกระทบอะไรที่เป็นอันตรายมั้ยค่ะ อยากรู้ถึงระยะยาวด้วยค่ะ เพราะเห็นเคยมีข่าวว่ามีคนกินยารักษาสิวแล้วตับวายตาย ช่วยตอบด้วยนะค่ะ อยากหาข้อมูลเพิ่มอ่ะค่ะ ถามหมอแล้วกลัวหมอตอบไม่หมด ขอบคุณล่วงหน้านะค่ะ

ถามโดย ส้มโอ เผยแพร่ตั้งแต่ 04/09/2009-23:04:12 -- 5,586 views
 

คำตอบ

จาก ข้อมูลรายละเอียดของเม็ดยาที่คุณส้มโอให้มานั้นดีมากเลยครับ แต่อย่างไรก็ดีจากการค้นหายังไม่พบว่ามียาของบริษัทใดเลยที่เข้ากับลักษณะ เม็ดยาดังกล่าว อาจเป็นไปได้ว่ายาที่แพทย์สั่งจ่ายอาจเป็นยาที่ผลิตจากบริษัทในประเทศซึ่ง ไม่ได้ถูกรวบรวมไว้ในหนังสืออ้างอิงหรือฐานข้อมูลใดๆ ดังนั้นการหาข้อมูลในเรื่องของผลกระทบจากการรับประทานยาเม็ดทั้ง 2 ชนิดนั้นยังไม่สามารถทำได้ครับ หากเป็นไปได้คุณส้มโออาจจะต้องสอบถามชื่อตัวยาจากแพทย์มาเลยครับดีกว่าครับ ซึ่งตรงนี้เป็นสิทธิ์ของเราอยู่แล้วที่จะได้รับรู้ข้อมูลการรักษาหรือยาที่ ได้รับครับ จากนั้นส่งคำถามมาใหม่อีกครั้ง เพื่อให้เกิดความถูกต้องของข้อมูลและความปลอดภัยของคุณส้มโอครับ ส่วนในเรื่องข่าวที่มีคนรับประทานยารักษาสิวแล้วตับวายนั้น ยาดังกล่าวอาจหมายถึงยาที่เป็นอนุพันธุ์ของวิตามิน A คือ isotretinoin ซึ่งมีชื่อทางการค้า ได้แก่ Roaccutane®, Isotane®, A-Contren® เป็นต้น ซึ่งยาดังกล่าวมีความผลข้างเคียงที่เป็นพิษต่อตับ (hepatotoxicity)เล็กน้อย ซึ่งหากหยุดใช้ยาความเป็นพิษก็จะหายไป แต่หากใช้ยาดังกล่าวร่วมกับยาอื่นๆที่เป็นพิษต่อตับเหมือนกัน หรือผู้ป่วยมีความผิดปกติของตับอยู่แล้วก็อาจทำให้ความเป็นพิษจากยา isotretinoin เพิ่มขึ้นได้และอาจทำให้เสียชีวิตในที่สุดครับ อย่างไรก็ดียาที่คุณส้มโอได้รับไม่น่าจะเป็น isotretinoin ครับ

Reference:
Desai A, Kartono F, Del Rosso JQ. Systemic Retinoid Therapy: A Status Report on Optimal Use and Safety of Long-Term Therapy. Dermatol Clin 2007;25:185–193.

Keywords:
-





ภูมิคุ้มกันและการติดเชื้อ

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้