หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

มีแพทย์ท่านหนึ่งเคยสั่งจ่าย n-acetylcysteine ในindication สำหรับ เป็น antioxidant เพื่อความสวยงาม โดยคิดว่ายาจะไปเพื่มระดับglutathione ขึ้น หลังจากถูก metabolite เเละจะทำหน้าที่เป็น antioxidant ซึ่งจะช่วยในเรื่อง antiaging ได้ อยากทราบว่า เป็นไปได้จริงหรือไม่ เเละยาหลังจากถูกmetabolite เเล้วให้ glutathione ในระดับสูงพอที่จะเป็น antioxidant ได้โดยไม่เกิดพิษ หรือปล่าว (เเพทย์สั่งจ่าย 600mg TID ) ฉะนั้นสามารถ จ่าย NAC long 1x3 เพื่อ เป็น antioxidant ได้เลยหรือปล่าวครับ

ถามโดย confounded เผยแพร่ตั้งแต่ 24/04/2009-22:25:14 -- 39,376 views
 

คำตอบ

จากการสืบค้นข้อมูลทางวิชาการ ยังไม่พบข้อมูลการรับรองการใช้ NAC หรือกลูตาไธโอน เพื่อทำให้ผิวขาว ดังนั้นจึงขอนำบทความเกี่ยวกับกลูตาไธโอนที่เขียนโดยสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยมาให้อ่านก่อนค่ะ กลูต้าไทโอน ทำให้ผิวขาวจริงหรือไม่ กลูต้าไทโอน (Glutathinone) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญในร่างกายที่สามารถสร้างขึ้นเองจากอาหาร ประเภทโปรตีน ไข่และนม รวมถึงผลไม้ประเภท อะโวคาโด และจะถูกเก็บไว้ที่ตับที่ได้รับ สามารถพบได้ทุกเซลล์ เป็นสาร ที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 ชนิด ได้แก่ Cysteine, Glycine และ Glutamic acid หน้าที่หลักมีอยู่ 3 ประการ คือ 1. ต้านอนุมูลอิสระ Antioxidant : กลูตาไทโอนมีคุณสมบัติเป็นสารต้านปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น ที่มีความสำคัญตัวหนึ่งในร่างกาย และหากขาดไป วิตามินซีและอี อาจจะทำงานได้ไม่เต็มที่ 2. กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย Immune Enhancer : ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์หลายชนิดเพื่อให้ร่างกายต่อต้านสิ่งแปลกปลอมรวมถึงเชื้อแบคทีเรียและไวรัส นอกจากนี้กลูตาไทโอน ยังช่วยสร้างและซ่อมแซม DNA 3. การขจัดสารพิษ Detoxification : กลูตาไทโอนช่วยสร้างเอ็นไซม์ชนิดต่าง ๆ ที่ช่วยในการกำจัดพิษออกจากร่างกายโดยไปเปลี่ยนสารพิษชนิดไม่ละลายในน้ำ เช่น พวกโลหะหนัก สารระเหย ยาฆ่าแมลง แม้แต่ยาบางชนิด ให้เป็นสารที่ละลายน้ำได้ดีขึ้นและง่ายต่อการกำจัดออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันตับ จากการถูกทำลายโดย แอลกอฮอล์ (สุรา) สารพิษจากบุหรี่ และยาพาราเซตามอลเกินขนาด (Overdose) ฯลฯ ข้อบ่งใช้ในทางการแพทย์ สารนี้บางประเทศขึ้นทะเบียนเป็นยา และ บางประเทศใช้เป็นอาหารเสริม แต่ในประเทศไทย สารนี้ยังไม่ผ่านการอนุมัติจาก องค์การอาหารและยา มีรายงานการใช้สาร กลูต้าไทโอน ในหลายกรณี เช่น โรคทางระบบประสาท เช่น พาร์กินสัน โดยใช้ฉีดเข้าทางเส้นเลือดดำ ใช้รักษาภาวะการเป็นพิษจากโลหะหนัก พิษจากยาพาราเซ็ทตามอล ทำลายพิษในตับ ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานในคนไข้ AIDS , มะเร็ง และใช้ต้านความชรา แต่ข้อมูลที่ใช้รักษาฝ้า และทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งเหมือนมีแสงออร่า นั้นยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยัน พบว่าเป็นผลข้างเคียงจากการใช้สารนี้ที่ใช้รักษาโรคอื่นแล้วผิวขาวขึ้น จึงมีการนำมาใช้ทำให้ผิวขาวขึ้น ปัญหาของกลูต้าไทโอน 1. ผลข้างเคียงที่น่ากลัว คือการฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำ มีโอกาสที่จะแพ้ได้ ทั้งการแพ้สารกลูตาไทโอน เอง หรืออาจจะแพ้ สารฆ่าเชื้อ หรือ สารกันเสีย หรือ สารปนเปื้อน ขณะนี้มีรายงานในต่างประเทศว่าผู้ที่ได้รับการฉีดกลูต้าไทโอนขนาดสูงที่ใช้กันอยู่มีอาการ ช็อค ความดันต่ำ หายใจไม่ออก และ เสียชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที 2. สารกลูต้าไทโอน ที่ใช้อยู่เป็นการลักลอบนำเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ไม่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา สารนี้ที่ใช้ในการแพทย์ ้มีชื่อว่า Tationil ซึ่งผลิตโดยบริษัท Roach ประเทศอิตาลี แต่บริษัท Roach ประเทศไทย ได้ยืนยันมาว่าบริษัทไม่ได้เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่าย และยังพบว่ามียาปลอมมีที่ผลิตที่เวียดนาม และ จีน โดยที่พิมพ์ว่าผลิตในอิตาลี ทำให้เกิดผลข้างเคียงในการฉีดได้ 3.การที่ฉีดมักจะให้วิตามินซีในขนาดสูงร่วมด้วย ซึ่งการฉีดวิตามินซี ในขนาดที่สูงและ เร็วเกินไปอาจทำให้เกิดอาการมึนศีรษะ คล้ายจะเป็นลมได้ 3. พบว่าการที่ได้รับสารกลูต้าไทโอนเป็นเวลานานๆจะทำให้เม็ดสีที่จอตาลดลง ทำให้รับแสงได้น้อยลง เสี่ยงต่อการมองเห็นได้ในอนาคต ทางวารสารทางการแพทย์สหรัฐอเมริกาจัดว่าเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงทางตา 4. การใช้สารกลูต้าไทโอนในผู้ป่วยมะเร็งทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาทางเคมีลดลง 5. การได้รับสารกลูต้าไทโอนปริมาณมาก มีผลต่อแร่ธาตุในขบวนการเมตาบอลิซึม และ ตัวมันเองสามารถกลายเป็นอนุมูลอิสระ มาทำร้ายร่างกายได้ 5. ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดในเรื่อง “กลูต้าไธโอน” นั้น เท่าที่ทราบมีการขายเกลื่อนตามเว็บไซต์ ราคาตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงเป็นหมื่นบาท และมีการแนะนำวิธีฉีดและอวดอ้างสรรพคุณจนทำให้คนที่อยากขาวเกิด ความสนใจ และซื้อหาไปทดลองทั้งฉีดกันเองซึ่งอาจทำให้เกิดการแพ้ การติดเชื้อ และปัญหาอื่นๆอีกมากมาย ผู้บริโภคไม่ควรหลงเชื่อโฆษณาที่อ้างว่าสามารถช่วยให้ผิวขาวขึ้นเพราะไม่มีผลิตภัณฑ์ในที่จะทำให้ผิวขาวขึ้นได้ อย่างถาวร ผลิตภัณฑ์หรือยาอาจช่วยได้ชั่วคราวแต่เมื่อหมดฤทธิ์ร่างกายก็ผลิตเม็ดสีตามปกติ ทั้งนี้การที่ประชาชนในแถบเอเชียมีผิวคล้ำถือเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ เพราะสามารถป้องกันแสงอัลตราไวโอเลต จากแสงอาทิตย์ได้ ทำให้โอกาสการเกิดมะเร็งผิวหนังน้อยกว่าคนผิวขาว จึงไม่ควรมีค่านิยมที่ผิดในการเปลี่ยนสีผิวให้ ผิดธรรมชาติ ผู้เขียน :: สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย 2009-02-13

Reference:
www.dst.or.th

Keywords:
-





ผิวหนังและเครื่องสำอาง

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้