หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การทำ skin test ทำอย่างไร

ถามโดย กนกอร เผยแพร่ตั้งแต่ 27/02/2009-00:26:51 -- 4,055 views
 

คำตอบ

การทำ skin testing มีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยอาการแพ้ที่เกิดจากสาร IgE ซึ่งสามารถช่วยวินิจฉัยอาการแพ้ที่เกิดจาก ยา อาหาร พืช เกสรดอกไม้ ฝุ่นละออง ขนสัตว์ เชื้อราบางชนิด อาการแพ้ที่เกิดมักเป็นอาการแพ้ทางผิวหนังเช่น ผื่น คัน บวม แดง และอาการทางระบบเดินหายใจ เช่น อาการหายใจลำบาก เป็นต้น โดยมีวิธีที่ใช้ในการตรวจหลายรูปแบบ เช่น prick technique, intradermal technique เนื่องจาก skin testingเป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยโรคและยังอาจเกิดอันตรายหากผู้ที่ได้รับการตรวจเกิดอาการแพ้สารที่นำมาตรวจดังนั้นการทำ skin testing จึงควรทำภายใต้การดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากระหว่างการทำ skin testing หากเกิดอันตรายจะได้แก้ไขได้ทันที ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้, ผู้ที่มีประวัติการแพ้ที่รุนแรงไม่ควรทำ skin testing เพราะอาจเกิดอันตรายได้ และผู้ที่มีการใช้ยาบางประเภทเช่น ยากลุ่ม beta 2 agonist หรือ ACEI ไม่ควรทำ skin testing เนื่องจากยาอาจมีผลรบกวนการตรวจทำให้ผลการตรวจคลาดเคลื่อนได้ ในทางปฏิบัติจะใช้การตรวจ Prick method ก่อนหากได้ผลลบจึงตรวจยืนยันด้วย Intradermal method Prick method ทำได้โดยนำสิ่งที่คาดว่าเป็นสาเหตุของการแพ้ (allergen) โดยใช้เป็นสารสกัดในอัตราส่วน 1:10 หรือ 1:20 ของน้ำหนักต่อปริมาตร หยดบนผิวหนังบริเวณหน้าแขนที่อยู่ระหว่างข้อศอกกับข้อมือ หรืออาจเป็นบริเวณหลังส่วนบน โดยผิวหนังบริเวณที่ใช้ทดสอบต้องทำความสะอาดโดยการเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ 70% และควรมีตัวเปรียบเทียบหรือ control เพื่อช่วยยืนยันว่าผิวหนังเป็นปกติ โดย positive control จะใช้ histamine hydrochloride (10 mg/ml) และ negative control จะใช้น้ำเกลือ ระยะเวลาที่ใช้ในการทดสอบอยู่ระหว่าง 15-20 นาที สำหรับการตัดสินว่าเกิดการแพ้หรือไม่ อาจเปรียบเทียบจาก positive control โดยหากมีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับหรือมากกว่า positive control จะจัดว่าแพ้ หรือ มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 3 มิลลิเมตร ก็จัดว่าแพ้ได้เช่นกัน Intradermal method ทำโดยการฉีดสารที่คาดว่าก่อให้เกิดอาการแพ้บริเวณผิวหนัง โดยเจือจางใช้สารสกัด allergen ในปริมาณ 1:500 ถึง 1:1,000 น้ำหนักต่อปริมาตร โดยใช้เพียง 0.02-0.05 มิลลิลิตร ฉีดเข้าบริเวณใต้ผิวหนัง โดยฉีดทำมุม 45 องศากับผิวหนัง สำหรับวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องมี positive control ส่วน negative control จะใช้น้ำเกลือ วิธีนี้สามารถตรวจการแพ้จากสิ่งแวดล้อมเช่นฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ พืช และยาได้ แต่ไม่สามารถใช้ตรวจการแพ้อาหารหรือแพ้ยาง

Reference:
www.uptodate.com

Keywords:
-





ผิวหนังและเครื่องสำอาง

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้