Another Study of Proton-Pump Inhibitor \"Withdrawal Symptoms\"
ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน กรกฎาคม ปี 2553 -- อ่านแล้ว 1,725 ครั้ง
ประมาณเกือบครึ่งหนึ่งของอาสาสมัครที่ไม่มีอาการในระบบทางเดินอาหาร (asymptomatic dyspepsia) มีการเกิด dyspepsia หลังจากได้รับการรักษาด้วย pantoprazole เมื่อครบระยะเวลาของการรักษานาน 4 สัปดาห์ และอีกการศึกษาซึ่งเป็นแบบ randomized trial พบว่าอาสาสมัครที่ไม่มีอาการของ dyspepsia มาก่อน มีการเกิด dyspeptic symptoms หลังจากได้รับการรักษาด้วย esomeprazole ครบ 8 สัปดาห์ ซึ่งภาวะดังกล่าวอาจเกิดจาก rebound dyspepsia หลังจากที่มีการหยุดยา proton-pump inhibitors (PPIs)
ในการศึกษาของ pantoprazole อาสาสมัครที่มีผลลบต่อ Helicobactor pylori และ asymptomatic dyspepsia จำนวน 48 คน ได้รับการสุ่มให้ได้รับ pantoprazole 40 มิลลิกรัมต่อวัน หรือยาหลอกเป็นเวลา 4 สัปดาห์ และถูกติดตามต่อเป็นเวลา 6 สัปดาห์ โดยจากการศึกษาพบว่า 1 สัปดาห์หลังสิ้นสุดการรักษา ในกลุ่มอาสาสมัครที่ได้รับ pantoprazole มีรายงานการเกิด dyspeptic symptoms มากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก คิดเป็นร้อยละ 44 เทียบกับร้อยละ 9 ตามลำดับ และในกลุ่มที่ได้รับ pantoprazole มีค่าเฉลี่ยของ 12-point dyspeptic symptoms มากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก คือ 5.7 เทียบกับ 0.7 ซึ่งผลดังกล่าวจะแตกต่างกันลดลงในสัปดาห์ที่ 2 และไม่พบความแตกต่างกันในสัปดาห์ที่ 3
จากการศึกษาล่าสุดของ PPIs เมื่อเทียบกับยาหลอก 2 การศึกษาได้มีคำอธิบายสำหรับการเกิด “withdrawal symptoms” หลังจากได้รับการรักษาด้วย PPIs ว่าสาเหตุนั้นอาจเกิดจาก gastrin-mediated rebound hyperacidity ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรรับประทานยา PPIs เมื่อมีข้อบ่งใช้เท่านั้น และหากหยุดการรักษาด้วย PPIs ให้ระวังการเกิด dyspeptic symptoms ซึ่งมักจะเกิดขึ้นได้ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังจากหยุดการรักษา