Do Proton-Pump Inhibitors Decrease Bone-Mineral Density?
ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน มกราคม ปี 2553 -- อ่านแล้ว 2,228 ครั้ง
จากผลการศึกษาด้านระบาดวิทยาที่ได้รับการตีพิมพ์เมื่อ 3 ตุลาคม 2552 ชี้ให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องที่เป็นไปได้ระหว่างการใช้ยากลุ่ม proton-pump inhibitors (PPIs) ในระยะยาว กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการเกิดกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุน ดังนั้นเพื่อประเมินว่าการใช้ยาในกลุ่ม PPI นั้นมีความเกี่ยวข้องกับการเกิด osteoporosis หรือไม่ นักวิจัยจึงทำการศึกษาต่อโดยอาศัยข้อมูลจาก Manitoba Provincial Bone Mineral Density Database เพื่อเปรียบเทียบผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกพรุนบริเวณสะโพกหรือสันหลัง ประมาณ 5,800 ราย กับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้มีภาวะกระดูกพรุนจำนวน 15,800 ราย จากนั้นทำการวิเคราะห์แบบ cross-sectional study และ longitudinal study
ใน cross-sectional study หลังจากทำการปรับตัวแปรทางด้านประชากร ตัวแปรทางคลินิก และตัวแปรอื่นๆแล้ว พบว่าการใช้ยากลุ่ม PPI เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการเกิดกระดูกพรุนบริเวณสะโพกหรือสันหลัง อย่างไม่มีนัยสำคัญ โดยไม่คำนึงถึงจำนวนการรับประทานยาสะสม ซึ่งผลข้างต้นเป็นการวิเคราะห์กลุ่มย่อยในผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
ใน longitudinal study ที่ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ป่วย 2,549 ราย และผู้ที่ไม่ได้ใช้ยากลุ่ม PPI พบว่าการใช้ยากลุ่ม PPI เกี่ยวข้องกับการลดลงของความหนาแน่นมวลกระดูกทั้งบริเวณสะโพกหรือสันหลังแบบไม่มีนัยสำคัญ โดยไม่คำนึงถึงจำนวนของการรับประทานยาสะสม