หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Reports of Altered Kidney Function in patients using Exenatide

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน พฤศจิกายน ปี 2552 -- อ่านแล้ว 2,703 ครั้ง
 
องค์การอาหารและยา (FDA) สหรัฐอเมริกาได้อนุมัติข้อมูลบนฉลากยา exenatide (Byetta®) โดยระบุถึง post-marketing report เกี่ยวกับผลในการรบกวนการทำงานของไต ได้แก่ การทำให้เกิด renal failure หรือ renal insufficiency จากการใช้ยา exenatide

Exenatide เป็นยากลุ่ม incretin mimetic ที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ถึงเป้าหมายร่วมกับการคุมอาหารและออกกำลังกาย โดยตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2005 จนถึงตุลาคม 2008 FDA ได้รับรายงานทั้งหมด 78 ชิ้นที่ระบุถึงผลในการรบกวนการทำงานของไต ( รายงาน 62 ชิ้นระบุถึงการเกิด acute renal failure และ รายงาน 16 ชิ้นระบุถึงการเกิด renal insufficiency) ของผู้ป่วยที่ได้รับยา exenatide บางรายงานระบุว่าเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ดังกล่าวเกิดในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคไตอยู่แล้ว หรือในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาเกี่ยวกับไตอย่างน้อย 1 อย่าง

ตั้งแต่เริ่มมีจำหน่ายยา exenatide ในปี 2005 จนถึงเดือนกันยายนปี 2008 มีการจ่ายยา exenatide สูงถึง 6.6 ล้านใบสั่งยา ดังนั้นเมื่อคิดสัดส่วนจำวนรายงานที่เกี่ยวกับผลในการรบกวนการทำงานของไต 78 ชิ้นต่อจำนวนการใช้ยาทั้งหมดถือว่าการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ดังกล่าวมีสัดส่วนที่น้อยมาก นอกจากนี้ยังมีการรายงานเกี่ยวกับผลข้างเคียงอื่นๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสียเพิ่มเติมอีกด้วย

ข้อมูลหลักๆที่จะระบุเพิ่มเติมลงในฉลากข้อมูลยา มีดังนี้

• Byetta ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะ severe renal impairment (creatinine clearance <30 ml/min) หรือ end-stage renal disease

• แพทย์ต้องระวังในการเริ่มต้นการรักษาหรือการเพิ่มขนาดยา Byetta จาก 5 mcg เป็น 10 mcg ในผู้ป่วยที่มีภาวะ moderate renal impairment (creatinine clearance 30 to 50 ml/min)

• แนะนำให้มีเฝ้าระวังการเกิด renal dysfunction อย่างใกล้ชิด และควรประเมินความจำเป็นในการใช้ Byetta ต่อ หากผู้ป่วยสงสัยว่าจะเกิด renal dysfunction จากการใช้ยา Byetta



 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.2 เกลือแร่สำหรับท้องเสีย ORS (Oral Rehydration Salts)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้