หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ประสิทธิภาพของยา donepezil ในการรักษา mild cognitive impairment

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน มิถุนายน ปี 2552 -- อ่านแล้ว 12,158 ครั้ง
 
ยา donepezil นั้นเป็นยาที่ได้รับการอนุมัติในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ จึงเป็นที่มาของแนวคิดที่ว่าน่าจะใช้รักษาโรค mild cognitive impairment (MCI) ได้ เพราะผู้ป่วย MCI มีโอกาสพัฒนาเป็นโรคอัลไซเมอร์ต่อไป จึงมีการศึกษาแบบ randomized, placebo controlled trial เป็นระยะเวลา 48 สัปดาห์ ในผู้ที่มีภาวะ MCI จำนวน 821 คน สุ่มให้ได้รับยา donepezil (5 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ต่อมาอีก 42 สัปดาห์ได้รับยาในขนาด 10 มิลลิกรัมต่อวัน) หรือยาหลอก ประเมินผล primary endpointsโดยใช้ Alzheimer Disease Assessment Scale–cognitive subscale (ADAS-Cog) ซึ่งจะประเมินผลในเรื่องความจำและ Clinical Dementia Rating Scale–sum of boxes (CDR-SB) ที่ประเมินผลในเรื่องความจำและความสามารถในการประมวลผลเพื่อการทำกิจกรรมต่างๆ ผลการศึกษาพบว่าผู้ที่ได้รับ donepezil มีค่า ADAS-Cog ที่ดีกว่ายาหลอก แต่พบความแตกต่างเพียง 1 point จาก 89-point scale เมื่อพิจารณาที่ CDR-SB พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ด้าน secondary endpoints ที่ทำการประเมินผล 8 endpoints นั้น donepezil ให้ผลดีกว่า 2 endpoints แต่ผลที่เหลืออีก 6 ไม่แตกต่างกันทั้งสองกลุ่ม ด้านผลข้างเคียงพบในกลุ่มที่ได้รับ donepezil (ร้อยละ 47) มากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก (ร้อยละ 25) จากการศึกษานี้ สรุปได้ว่ายา donepezil ไม่ได้มีประสิทธิภาพเหนือกว่ายาหลอกในการรักษาภาวะ MCI เมื่อประเมินผลโดยใช้ ADAS-Cog และ CDR-SB
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.4 ยาอันตรายควบคุม (Controlled dangerous drugs)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้