หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Amphotericin B ระหว่างทำ hemodialysis ใน ESRD

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน มกราคม ปี 2547 -- อ่านแล้ว 5,452 ครั้ง
 
การให้ amphotericin B เพื่อรักษาอาการแทรกซ้อน, การติดเชื้อรา, ในผู้ป่วย end stage renal disease (ESRD) ในระหว่างการฟอกเลือดหรือ hemodialysis (HD) อาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยได้



โดยทั่วไปจะไม่แนะนำให้ใช้ amphotericin B รักษาการติดเชื้อราในกรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในระหว่างการทำ HD เพื่อลดความเสี่ยงจากความเป็นพิษของมันเช่น ความดันโลหิตต่ำ (hypotension), หัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะ (ventricular arrhythmia), การเปลี่ยนแปลงของระดับโปแทสเซียมในเลือด (hypo หรือ hyperkalemia) เป็นต้น อาการต่าง ๆ เหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการทำ HD ได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังมีผู้ป่วย ESRD ที่จำเป็นต้องรักษาด้วย amphotericin B ซึ่งส่วนใหญ่ต้องทำ HD ด้วย



James E Wood และคณะได้ทำการเก็บข้อมูลย้อนหลัง 3 ปีในผู้ที่เป็น ESRD ซึ่งได้รับ parenteral amphotericin B ในระหว่างการทำ HD ในขนาด 0.5 ถึง 1.0 mg/kg จำนวน 24 รายพบว่ามีอัตราการเกิดhypotension ใกล้เคียงกันระหว่างในการทำ HD เดี่ยว ๆ (ร้อยละ 28.8) และให้ amphotericin B ร่วมกับ HD (ร้อยละ28.7) มีระดับโปแทสเซียมในเลือดเพิ่มขึ้น 0.5 mEq/L และลดลง 0.47 mEq/L ในผู้ป่วย 10 ราย และ 14 ราย ตามลำดับซึ่งไม่ถือว่าทำให้เกิดภาวะ hypo หรือ hyperkalemia



แม้ว่าผลการรวบรวมข้อมูลชี้ให้เห็นว่าการให้ amphotericin B ในระหว่างการทำ HD มีแนวโน้มไม่แตกต่างกับการทำ HD เดี่ยว ๆ แต่ก็เป็นเพียงการสังเกตการณไม่ได้ทำการวัดผลทางสถิติอย่างชัดเจนจึงไม่สามารถเปรียบเทียบข้อมูลได้ หรืออาจเป็นแค่เพียงการศึกษานำร่องซึ่งนำไปสู่การศึกษาระดับต่อ ๆ ไป

 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.5 น้ำตาลตกจากยาเบาหวาน (Hypoglycemia from anti-diabetics)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้