หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Azithromycin สำหรับ CHD secondary prevention

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน ธันวาคม ปี 2546 -- อ่านแล้ว 3,007 ครั้ง
 
การใช้ azithromycin นาน 3 เดือน ลดการเกิด coronary heart disease (CHD) related event อย่างไม่มีนัยสำคัญ ในผู้ป่วย stable post-myocardial infarction (MI) ที่สัมผัสเชื้อ Chlamydia pneumoniae มาก่อน

กระบวนการอักเสบ (inflammation) มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะ atherosclerosis ซึ่งเป็นสาเหตุของ cardiovascular disease เช่น CHD ปัจจัยส่งเสริมการตอบสนองกระบวนการดังกล่าวนอกจาก modified low-density lipoprotein (LDL) cholesterol แล้วยังมี intracellular pathogen ได้แก่ C. pneumoniae และ cytomegalovirus เป็นต้น ก่อนหน้านี้มีรายงานความสัมพันธ์ระหว่าง C. pneumoniae และ atherogenesis ซึ่งเป็นเพียงการศึกษาเล็ก ๆ เท่านั้น

Christopher M O’Connor และคณะ ได้ทำการศึกษา the Weekly Intervention with Zithromax for Atherosclerosis and its Related Disorder (WIZARD) เพื่อดูผลของ azithromycin ในการลด recurrent coronary event ในผู้ป่วยที่เป็น MI อย่างน้อย 6 สัปดาห์ และมี IgG Titer ต่อ C. pneumoniae 1:16 ขึ้นไป

7747 ราย ระยะเวลา 3 เดือน เทียบกับยาหลอก โดยได้รับ azithromycin 600 mg/day 3 วัน ในสัปดาห์แรกและ azithromycin 600 mg ต่อสัปดาห์ ในสัปดาห์ถัดไปจนสิ้นสุดการศึกษา การศึกษานี้เป็น randomized controlled trial

ภายหลังการติดตามผลเฉลี่ย 14 เดือน พบว่า ไม่มีความแตกต่างในการลดความเสี่ยงต่อ primary event ได้แก่ all-caused death, recurrent MI, coronary revascularization หรือ hospitalization สำหรับ angina ระหว่างกลุ่ม azithromycin และยาหลอก รวมทั้ง primary end point โดยรวมนั้นไม่แตกต่างด้วยเช่นกัน (hazard ratio=0.93, 95%CI=0.83-1.05, P=0.23)

สำหรับ adverse event ส่วนใหญ่พบอาการท้องเสีย และปวดท้องมากกว่าในกลุ่ม azithromycin แต่อย่างไรก็ตามในกลุ่มนี้ยังพบการติดเชื้อทางเดินหายใจ และการใช้ยาปฏิชีวนะอื่นระหว่างการศึกษาน้อยกว่ากลุ่มยาหลอก

Sorin V Pislaru และ Frans Van de Werf กล่าวถึงการศึกษา WIZARD ว่าแม้ผลการศึกษาไม่แสดงประโยชน์ระหว่างการใช้ยาปฏิชีวนะ และการรักษา CHD แต่ข้อมูลจากการทดลองกลับให้ผลตรงกันข้าม อย่างไรก็ตาม ผล post hoc analysis ของการศึกษา WIZARD การใช้ยาปฏิชีวนะมีแนวโน้มลดความเสี่ยงในผู้ที่สูบบุหรี่, เป็นโรคเบาหวาน หรือ โรคไขมันในเลือดสูง

 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้