Evidence-based treatment of hypercalcemia
ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน พฤษภาคม ปี 2552 -- อ่านแล้ว 10,259 ครั้ง
Hypercalcemia คือภาวะที่มีระดับ Ca ในเลือดมากกว่า 10.5 mg/dl (หรือ ionized calcium สูงกว่า 2.7 mmol/L) และภาวะนี้สามารถพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มี underlying malignancy หรือ hyperparathyroidism โดยอาการและอาการแสดงได้แก่ generalized weakness, dehydration, headaches, confusion/coma, bone pain, hypertension, QT shortening on ECG, abdominal pain, nausea, vomiting and kidney stones วิธีการรักษาภาวะนี้จะรักษาโดยการให้สารน้ำ การลดการสร้างแคลเซียมของร่างกาย และการเพิ่มการกำจัดแคลเซียม โดยเป็นเวลาหลายทศวรรษที่มีการรักษาหลักคือการให้สารน้ำร่วมกับการให้ furosemide เพื่อกำจัดแคลเซียมออกทางปัสสาวะ อย่างไรก็ตามเร็วๆนี้ได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างการให้ furosemide เทียบกับการให้ยาในกลุ่ม bisphosphonates ในการใช้เป็น primary treatment ของภาวะ hypercalcemia
ผู้ทำการศึกษารวบรวมข้อมูลโดยทำการสืบค้นตั้งแต่ปี 1950 ถึง 2008 พบการศึกษาจำนวน 9 การศึกษา (ที่เป็น case series/case reports) สำหรับการใช้furosemide โดยมีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 37 ราย (39 treatment episodes) พบว่าขนาดยาโดยเฉลี่ยของการใช้ Lasix เท่ากับ 1,120 มิลลิกรัม นอกจากนี้ยังต้องทำการติดตามผู้ป่วยอย่างเคร่งครัดและระดับ electrolyte ทุก 2-4 ชั่วโมง พบผู้ป่วยเพียงร้อยละ 36 ที่กลับมามีระดับแคลเซียมในเลือดเป็นปกติ และต้องใช้เวลาถึง 6 ถึง 12 วันเพื่อจะลดระดับแคลเซียมได้ตามเป้าหมาย ซึ่งตรงข้ามกับข้อมูลของการใช้ยากลุ่ม bisphosphonates ข้อมูลที่ได้จะเป็นข้อมูลที่เป็น randomized controlled มีผู้เข้าร่วมทำการศึกษาทั้งหมดมากกว่า 1,000 คน ทำการประเมินการรักษาโดยการให้สารน้ำร่วมกับยาในกลุ่ม bisphosphonate ในการรักษาภาวะ hypercalcemia พบว่ามากกว่าร้อยละ 70% ประสบความสำเร็จในการรักษาโดยมีอาการข้างเคียงที่น้อยกว่า โดยใช้ระยะเวลาเฉลี่ยเพียง 48 ชั่วโมง โดยพบว่าการให้ IV zoledronic acid (4 mg IV over 15 minutes) หรือ pamidronate (60 mg IV over 2 hours) ให้ผลดีกว่ายาตัวอื่นในกลุ่ม bisphosphonates นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้ calcitonin ร่วมกับ bisphosphonate ในกรณีที่มีภาวะ hypercalcemia ที่รุนแรง พบว่า calcitonin ให้ผลลดระดับแคลเซียมภายใน 2 ชั่วโมง