หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด atrial fibrillation ในผู้หญิง

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 3 เดือน มกราคม ปี 2552 -- อ่านแล้ว 1,447 ครั้ง
 
ข้อมูลในปัจจุบันพบว่าการดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด atrial fibrillation ในผู้ชาย แต่ขาดข้อมูลสนับสนุนในเพศหญิง มีการศึกษาเแบบ prospective โดยเก็บข้อมูลจาก Women’s Health Study เพื่อประเมินความสัมพันธ์ของการดื่มแอลกอฮอล์ต่อความเสี่ยงในการเกิด atrial fibrillation ในผู้หญิงจำนวน 34,715 ราย อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 45 ปี ที่ไม่เป็น atrial fibrillation ใช้ระยะเวลาในการติดตามโดยเฉลี่ย 12 ปี ผลการศึกษาพบว่ามีการเกิด atrial fibrillation 653 ราย โดยอุบัติการณ์ของการเกิด atrial fibrillation คือ 1.59, 1.55, 1.27 และ 2.25 ครั้งต่อ 1,000 ราย-ปี ในผู้หญิงที่ดื่มแอลกอฮอล์ 0, <1, 1 แต่ <2 และ 2 แก้วต่อวัน ตามลำดับ และผู้หญิงที่ดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าหรือเท่ากับ 2 แก้วต่อวันจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด atrial fibrillation 60% (hazard ratio=1.60; ช่วงความเชื่อมั่น 95%, 1.13–2.25) โดยความเสี่ยงนี้มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาในการการดื่มแอลกอฮอล์เป็นระยะเวลา 4 ปี (hazard ratio=1.49; ช่วงความเชื่อมั่น 95%, 1.05–2.11)
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.5 น้ำตาลตกจากยาเบาหวาน (Hypoglycemia from anti-diabetics)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้