หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Ibuprofen ชนิดรับประทานให้ประโยชน์ในเด็กทารกที่มี patent ductus arteriosus (PDA) ยังไม่ปิด

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน มกราคม ปี 2552 -- อ่านแล้ว 11,174 ครั้ง
 
Reuters Health รายงานผลการศึกษานำร่องเรื่องการเปรียบเทียบอัตราการปิดของ patent ductus arteriosus (PDA) เมื่อใช้ ibuprofen ชนิดรับประทานและชนิดฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำในทารกที่คลอดออกมามีน้ำหนักตัวน้อยมาก โดยอุบัติการณ์ของการไม่ปิดของ PDA ในเด็กทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยมากเกิดขึ้นประมาณร้อยละ 30 ซึ่งการไม่ปิดของ PDA เพิ่มความเสียงต่อการเกิดภาวะเลือดออกในหัวใจห้องล่าง, necrotizing enterocolitis, โรคปอดชนิดเรื้อรังและเสียชีวิตได้ในเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด ดังนั้นการปิดของ PDA จึงมีความสำคัญต่อระบบไหลเวียนโลหิตของทารก ในการศึกษาแบบไปข้างหน้าและสุ่มเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของ ibuprofen ชนิดรับประทานและฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำเพื่อให้เกิดการปิดของ PDA ในเด็กทารกที่คลอดออกมามีน้ำหนักตัวน้อยมากและมีภาวะ respiratory distress จำนวน 64 ราย ซึ่งสุ่มให้ได้รับ ibuprofen ชนิดรับประทานหรือฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำในวันที่ 3 ของการมีชีวิตและประเมินผลรวมถึงกำหนดว่าจะต้องให้ยาครั้งที่ 2 หรือ 3 หรือไม่หลังจากได้รับยาครั้งแรกโดยใช้ echocardiography ผลการศึกษาจากการประเมินทารก 47 ราย พบว่า อัตราการปิดของ PDA เกิดขึ้นร้อยละ 84.3 และ 62.5 ในกลุ่มที่รับ ibuprofen ชนิดรับประทานและฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำตามลำดับ (p = 0.04) โดยการปิดของ PDA ในกลุ่มที่รับ ibuprofen ชนิดรับประทานและฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำเกิดขึ้นหลังจากได้รับยาครั้งแรกหรือครั้งที่ 2 เกิดขึ้นร้อยละ 70.3 และ 70 ตามลำดับ อีกทั้งทารกในกลุ่มที่ได้รับ ibuprofen ชนิดรับประทานมีการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับ ibuprofen ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ (ร้อยละ 9.3 และ 31.2 ตามลำดับ) และไม่พบความแตกต่างของการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างที่นอนโรงพยาบาลใน 2 กลุ่มการศึกษา อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาที่ใหญ่ขึ้นเพื่อยืนยันผลที่ได้จากการศึกษานำร่องนี้
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.5 น้ำตาลตกจากยาเบาหวาน (Hypoglycemia from anti-diabetics)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้