หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การควบคุมอัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจใน AF

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน ธันวาคม ปี 2546 -- อ่านแล้ว 4,137 ครั้ง
 
กลยุทธ์ในการรักษา atrial fibrillation (AF) มี 2 แบบคือ การควบคุมอัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจ มีหลายการศึกษาด้วยกันอันได้แก่ PIAF (Pharmacological Intervention in Atrial Fibrillation), STAF (Strategies of Treatment of Atrial Fibrillation), RACE (Rate Control vs Electrical Cardioversion for Persistent Atrial Fibrillation) และ AFFIRM (Atrial Fibrillation Follow-Up Investigation of Rhythm Management) ซึ่งการศึกษาทั้งหมดเป็น randomized trial เปรียบเทียบการควบคุมระหว่างทั้ง 2 ปัจจัยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างการควบคุมทั้งอัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจใน primary endpoint ของการศึกษา ได้แก่ overall mortality rate ใน AFFIRM, composite endpoint ใน STAF, RACE และ symptom improvement ใน PIAF

การควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจไม่ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ทั้งใน AFFIRM และ RACE ขณะที่การป้องกันการแข็งตัวของเลือดเป็นสิ่งสำคัญในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อ stroke โดยการเกิด thromboembolism จะสูงขึ้น กรณีหากหยุดการให้ anticoagulant หรือมีระดับของ anticoagulant ต่ำกว่าระดับที่มีผลในการรักษาทั้งใน 2 การศึกษา

จากผลทั้ง 4 การศึกษาชี้ให้เห็นถึงการควบคุมอัตราการเต้นหัวใจแทนการควบคุมจังหวะการเต้นหัวใจได้ในผู้ที่เป็น AF มานาน แต่สำหรับผู้ที่เริ่มเป็น AF อาจเริ่มจากการควบคุมจังหวะการเต้นหัวใจโดยการทำ cardioversion หรือใช้ antiarrhythmic drug ในระยะสั้น และผลการศึกษาอาจไม่สนับสนุนสำหรับผู้ที่อายุน้อยกว่า 65 ปี

 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้