หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Prasugrel เปรียบเทียบกับ Clopidogrel ในผู้ป่วย Acute coronary Syndrome

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน พฤศจิกายน ปี 2550 -- อ่านแล้ว 18,738 ครั้ง
 
Prasugrel เป็นยาใหม่ในกลุ่ม thienopyridine ซึ่งเป็น prodrug เช่น เดียวกับ clopidogrel คือต้องถูกเปลี่ยนเป็น activr metabolite ก่อนที่จะจับกับ P2Y12 receptor ที่เกล็ดเลือด จากการศึกษาในปัจจุบันของยา prasugrel มีผลยับยั้งการรวมตัวกันของเกล็ดเลือดได้รวดเร็วและดีกว่าการใช้ clopidogrel จากการศึกษา TRITON-TIMI 38 ในผู้ป่วย Acute coronary Syndrome (ACS) ซึ่งมีความจำเป็นต้องทำ percutaneous coronary intervention (PCI) จำนวน 13,608 คน โดยผู้ป่วย 10,074 คนเป็น moderate-high risk unstable angina หรือ non-ST elevation MI และ 3543 คนมี ST elevation MI ผู้ป่วยถูกสุ่มให้ได้รับ prasugrel หรือ clopidogrel โดยได้รับ loading dose ของ praugrel 60 mg. หรือ 300 mg. ของ clopidogrel ก่อนทำ PCI และหลังจากทำ PCI ผู้ป่วยจะได้รับ maintenance dose ของ prasugrel 10 mg. หรือ clopidogrel 75 mg. ต่อวัน เป็นเวลา 6-15 เดือน และ primary end point ของการศึกษานี้ คือ การเสียชีวิตจากสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด, nonfatal-MI, nonfatal stroke ผลจากการศึกษาพบว่า hazard ratio ของกลุ่มที่ได้ prasugrel เปรียบเทียบกับ clopidogrel เท่ากับ 0.81; 95% CI เท่ากับ0.73-0.90 (P<0.001) และผู้ป่วยกลุ่มที่ได้ prasugrel มีอัตราการเกิด MI ,การทำ target-vessel revascularization และการเกิดก้อนเลือดอุดตันจากการใส่ขดลวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้ clopidogrel ส่วนการเกิด major bleeding พบได้ร้อยละ 24 ในกลุ่มที่ได้ prasugrel และร้อยละ 1.8 ในกลุ่มที่ได้ clopidogrel โดยมี hazard ratio เท่ากับ 1.32; 95% CI เท่ากับ 1.03-1.68 (P=0.03) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยกลุ่มที่ได้ prasugrel พบว่าเกิด life-threatening bleeding และ fatal bleeding ได้มากกว่ากลุ่มที่ได้ clopidogrel อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับการนำ prasugrel มาใช้ในผู้ป่วย ACS นั้นคงต้องประเมินถึงผลประโยชน์และความเสี่ยงที่จะได้รับจากฤทธิ์ในการยับยั้งการรวมตัวกันของเกล็ดเลือดที่เพิ่มขึ้น
 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้