หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Bevacizumab เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด arterial thromboembolism

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน สิงหาคม ปี 2550 -- อ่านแล้ว 3,223 ครั้ง
 
Bevacizumab ซึ่งเป็น monoconal antibody ยับยั้งการเกิด angiogenesis โดยมีผลในการยับยั้งการสร้างเส้นเลือดใหม่ มีการนำมาใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัดในการรักษามะเร็งหลายชนิด จากการที่ยาไปมีผลต่อ vascular endothelium growth factor (VEGF) ซึ่งอาจทำให้มีผลต่อ proinflammatory genes ในเซลล์ของผนังหลอดเลือด และนำไปสู่การเกิด thrombus

จากการศึกษาวิจัยที่รวบรวมจาก 5 randomized control trials ในผู้ป่วย 1745 คน ที่มีการแพร่กระจายของมะเร็งลำไส้ใหญ่,มะเร็งเต้านม หรือ มะเร็งปอด โดยทำการเปรียบเทียบระหว่างการรักษาด้วย bevacizumab ร่วมกับ chemotherapy หรือ การให้ chemotherapy อย่างเดียว พบว่า absolute risk ในการเกิด arterial thromboembolism เป็น 5.5 /100 คน-ปี ในกลุ่มที่ได้รับ combination therapy และ 3.1/100 คน-ปี ในกลุ่มที่ได้รับ chemotherapy อย่างเดียว (hazard ratio [HR] = 1.8; 95% CI, 0.94 – 3.33; P = .076). ซึ่งแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยจากข้อมูลที่ได้จาก product data sheet (4.4% vs 1.9%) และหลังจากทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Kaplan-Meier hazard estimates พบว่า bevacizumab เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด arterial thromboembolism โดยมี HR = 2.0; 95% CI, 1.05 – 3.75, P = .031 แต่ไม่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด venous thromboembolism โดยมี HR = 0.89; 95% CI, 0.66 – 1.20, P = .44 และพบว่ามีความเสี่ยงสูงขึ้นในผู้ป่วย ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี และมีประวัติของ arterial thromboembolism อย่างไรก็ตามจากการศึกษานี้ก็ยังไม่สามารถตอบคำถามได้ว่าการเพิ่มขึ้นของปัจจัยเสี่ยงในการเกิด arterial thromboembolism เกิดจากชนิดของ tumor หรือความแตกต่างของ chemotherapy regimen



 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้