หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ความเป็นไปได้ของ SERMs ในการรักษาโรคกระดูกพรุนในผู้ชาย

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน มิถุนายน ปี 2549 -- อ่านแล้ว 2,654 ครั้ง
 
โรคกระดูกพรุนในผู้ชายถือเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญ ทั้งๆที่โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่พบได้ทั่วไปในผู้หญิง แต่ 1 ใน 3 ของการหักบริเวณสะโพกมักเกิดในผู้ชาย และอัตราตายหลังจากกระดูกสะโพกหักพบในผู้ชายมากกว่าในผู้หญิง โดยทั่วไปการสูญเสียมวลกระดูกจะเกิดในวัยกลางคนทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย และมักเกี่ยวข้องการสร้างฮอร์โมนเพศที่ลดลง

Testosterone เป็น androgen hormone ที่สำคัญในผู้ชาย จะถูกเปลี่ยนเป็น 5a-dihydroxytestosterone ที่ชอบจับกับ androgen receptor บน osteoblast และ osteoclast นอกจากนี้ androgen ยังถูก aromatize เป็น estrogen ได้

Selective estrogen receptor modulators (SERMs) จับกับ estrogen receptor และมีการเปลี่ยนแปลง conformation ก่อให้เกิดการแสดงออกของยีนที่แตกต่างไป นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติเป็น estrogenic effect ในกระดูก ผ่านทาง ER- และ ER- receptor ซึ่ง receptor ทั้งสองนี้พบใน osteoblast และ osteoclast SERMs ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ใช้ในหญิงวัยหมดประจำเดือนนั้น จึงอาจเป็นประโยชน์ในการป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุนในผู้ชายสูงอายุได้ด้วย

 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้