หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลของ calcium, vitamin K1 และ D3 ต่อมวลกระดูกในผู้ที่มี galactose ในเลือด

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน พฤษภาคม ปี 2549 -- อ่านแล้ว 1,735 ครั้ง
 
ภาวะที่มี galactose ในเลือดเกิดจากความปิดปกติของกระบวนการเมตาบอลิสม ถึงแม้ว่าจะรักษาภาวะดังกล่าว แต่ก็ยังมีอาการข้างเคียงเกิดขึ้น เช่น ความผิดปกติทางการเรียนรู้และการเคลื่อนไหว, พูดไม่รู้เรื่อง รวมทั้งมีผลลดปริมาณแร่ธาตุในมวลกระดูก จึงมีการศึกษาแบบ double-blind, placebo-controlled, clinical-trial เพื่อประเมินผลของการเสริมวิตามินและแร่ธาตุต่อมวลกระดูกในเด็กอายุ 3-18 ปีที่มี galactose ในเลือด แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับยาหลอก 18 คน และกลุ่มที่เสริม calcium 750 มิลลิกรัม, vitamin K1 1มิลลิกรัมและ D3 10 มิลลิกรัม 19 คน เป็นเวลา 2 ปี พบว่าผู้ป่วยให้ความร่วมมือต่อการรับประทานยาดี (ร้อยละ 98.5) และไม่มีอาการข้างเคียงใดๆ ในกลุ่มที่ได้รับการเสริมวิตามินและแร่ธาตุ จะมีความเข้มข้นของ carboxylated osteocalcin เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อประเมินจากผู้ป่วยทั้งหมด (p<0.001) จากผู้ป่วยเด็กเล็ก (p<0.001) และจากผู้ป่วยวัยรุ่น (p=0.004) และลด undecarboxylated osteocalcin ลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อประเมินจากผู้ป่วยทั้งหมด (p=0.001) จากผู้ป่วยเด็กเล็ก (p=0.006) และจากผู้ป่วยวัยรุ่น (p=0.042) นอกจากนั้นยังเพิ่มปริมาณแร่ธาตุในมวลกระดูกบริเวณ lumbar spine (p=0.001), lean tissue mass (p=0.016) และ fat mass (p=0.0014) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การเพิ่มขึ้นของมวลกระดูกบริเวณ lumbar spine พบในเด็กเล็กเท่านั้น (p=0.015) ดังนั้นการเสริม calcium, vitamin K1 และ D3 ในปริมาณข้างต้นน่าจะมีบทบาทในการเพิ่มปริมาณแร่ธาตุในมวลกระดูกในผู้ป่วยที่มี galactose ในเลือดได้
 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้