หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนหลังการผ่าตัด

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน เมษายน ปี 2549 -- อ่านแล้ว 14,841 ครั้ง
 
ถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนาด้านการใช้ยาสลบ แต่ผู้ป่วยร้อยละ 20-30 ยังคงมีอาการคลื่นไส้อาเจียนภายหลังการผ่าตัดอยู่ dexamethasone ถือเป็นยาอันดับแรกที่ใช้รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนดังกล่าว เพราะมีความปลอดภัยและราคาถูก

การศึกษาแบบ randomized, double blind, multicenter trial ระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤศจิกายน 2004 เพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้ dexamethasone ร่วมกับ metoclopramide เพื่อรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยอายุมากกว่า 18 ปีที่ต้องมีการดมสลบระหว่างการผ่าตัด แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 4 กลุ่ม ทุกกลุ่มจะได้รับ dexamethasone 8 มิลลิกรัม และได้รับ metoclopramide 0, 10, 25 และ 50 มิลลิกรัม ในกลุ่มที่ 1 – 4 ยาทั้ง 2 ตัวให้โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ 30-60 นาทีก่อนการผ่าตัดจะเสร็จสิ้น หรือให้ทันทีหลังจากเริ่มสลบหากการผ่าตัดใช้เวลาน้อยกว่า 1 ชั่วโมง สังเกตอาการข้างเคียงภายหลังการผ่าตัดแล้ว 24 ชั่วโมง พบว่าเมื่อให้ metoclopramide ในขนาด 10, 25 และ 50 มิลลิกรัมร่วมกับ dexamethasone จะช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนหลังการผ่าตัดที่ให้ dexamethasone เพียงอย่างเดียวลงจากร้อยละ 23.1 เป็นร้อยละ 20.6, 17.2 และ 14.5 ตามลำดับ metoclopramide ขนาด 50 มิลลิกรัมเท่านั้นที่มีประสิทธิภาพช่วยลดการคลื่นไส้อาเจียนหลังการผ่าตัด อาการข้างเคียงที่พบคือ ความดันโลหิตต่ำ และหัวใจเต้นเร็ว อาการข้างเคียงนี้ขึ้นกับขนาดของยาด้วย ซึ่งจะพบในผู้ที่ได้รับ metoclopramide 0, 10, 25 และ 50 มิลลิกรัม เท่ากับร้อยละ 8.8, 11.2, 12.9 และ 17.9 ตามลำดับ แต่ในกลุ่มผู้ป่วยที่ทนต่อยา metoclopramide มากไม่ได้ อาจให้ลดขนาดของ metoclopramide เป็น25 มิลลิกรัม ซึ่งมีผลช่วยลดการคลื่นไส้อาเจียนในช่วง 12 ชั่วโมงแรกได้เทียบเท่ากับ metoclopramide ขนาด 50 มิลลิกรัม แต่ก่อให้เกิดอาการข้างเคียงน้อยกว่า

การให้ dexamethasone ร่วมกับ metoclopramide ในขนาด 50 มิลลิกรัมมีประสิทธิผลลดการคลื่นไส้อาเจียนหลังการผ่าตัดได้ดี ทั้งยังมีความปลอดภัยและราคาถูก สามารถใช้ metoclo-pramide ขนาด 25 มิลลิกรัมในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงเพื่อลดอาการข้างเคียงจาก metoclopramide ได้

 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้