หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Oral bisphosphonates...มีความเสี่ยงต่อกระดูกขากรรไกรตายหรือไม่?

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน สิงหาคม ปี 2558 -- อ่านแล้ว 6,156 ครั้ง
 
Bisphosphonates เป็นยารักษาโรคกระดูกพรุน (osteoporosis) ยาบางตัวมีข้อบ่งใช้กับ Paget’s disease โรคมะเร็งบางชนิดและความผิดปกติอื่นเกี่ยวกับกระดูก ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น alendronate, pamidronate, ibandronate, risedronate, zoledronate ได้มีรายงานออกมาเป็นระยะๆ เกี่ยวกับการใช้ bisphosphonates กับความเสี่ยงต่อการทำให้กระดูกขากรรไกรตาย (osteonecrosis of the jaw; ONJ) โดยเฉพาะเมื่อใช้ยาชนิดฉีด จึงเกิดข้อสงสัยว่า bisphosphonates ชนิดรับประทาน (oral bisphosphonates) จะมีความเสี่ยงต่อการทำให้กระดูกขากรรไกรตายด้วยหรือไม่?

เมื่อพิจารณาจากข้อมูลที่มีอยู่ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด ONJ มีทั้งปัจจัยด้านผู้ป่วย (เช่น อนามัยในช่องปาก ลักษณะทางชีวภาพของกระดูกขากรรไกร การใช้ยาอื่นร่วมด้วย เป็นต้น) และปัจจัยด้านยาซึ่งความเสี่ยงต่อ ONJ ขึ้นกับ (1) ขนาดยา พบว่าผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนที่ใช้ bisphosphonates (ไม่เจาะจงว่าชนิดใด) ในขนาดที่แนะนำสำหรับการรักษาโรคกระดูกพรุนจะมีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิด ONJ เมื่อเทียบกับการใช้ bisphosphonates ในขนาดสูงเพื่อรักษา cancer-related conditions (2) ความแรงยา (drug potency) หากยามีความแรงมากขึ้นจะเสี่ยงมากขึ้น เช่น zoledronate, pamidronate (3) ช่องทางที่ให้ยา ซึ่งยาฉีดจะมีความเสี่ยงมากกว่ายากิน และ (4) ปริมาณยาที่สะสมยาในร่างกาย ดังนั้น bisphosphonates ชนิดรับประทานจึงมีความเสี่ยงต่อการเกิด ONJ ได้เช่นกัน หากใช้ในขนาดสูง หรือใช้ยาที่มีความแรงสูง หรือมียาสะสมในร่างกายมาก หรือมีปัจจัยเสี่ยงด้านตัวผู้ป่วย เป็นต้น เมื่อเดือนที่แล้ว (กรกฎาคม 2558) หน่วยงาน MHRA (the Medicines and Healthcare Products Regulatory Agency) ซึ่งเป็น executive agency ในสังกัดของ Department of Health ของสหราชอาณาจักร (UK) ได้ออกมาย้ำเตือนอีกครั้งเกี่ยวกับเรื่องนี้รวมทั้งเพิ่มเติมข้อแนะนำเพื่อลดความเสี่ยง โดยแนะนำว่าก่อนการสั่งจ่ายยา bisphosphonates (ไม่ว่าจะเป็นชนิดฉีดหรือชนิดรับประทาน) ให้แจ้งผู้ป่วยรับทราบเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการเกิด ONJ พร้อมทั้งแจ้งข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวด้วยดังนี้

o เมื่อเริ่มเข้ารับการรักษา แจ้งแพทย์หากมีปัญหาทางช่องปากและฟัน

o ถ้าใส่ฟันปลอมต้องมั่นใจว่าฟันอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและติดแน่น

o รักษาสุขภาพช่องปากและเข้ารับการตรวจฟันสม่ำเสมอตลอดช่วงที่ใช้ยา

o แจ้งแพทย์และทันตแพทย์ทันทีหากเกิดปัญหาในช่องปากหรือฟันในช่วงที่ใช้ยา เช่น ฟันโยก ปวดฟัน เหงือกบวม แผลในปากที่รักษาไม่หาย

อ้างอิงจาก:

(1) Denosumab (Xgeva, Prolia); intravenous bisphosphonates: osteonecrosis of the jaw—further measures to minimise risk. Drug Safety Update Volume 8 issue 12 July 2015:1; (2) Kumar V, Sinha RK. Bisphosphonate related osteonecrosis of the jaw: an update. J Maxillofac Oral Surg 2014;13:386-93; (3) Günaldi M, Afsar CU, Duman BB, Kara IO, Tatli U, Sahin B. Effect of the cumulative dose of zoledronic acid on the pathogenesis of osteonecrosis of the jaws. Oncol Lett 2015;10:439-42.

คำค้นที่เกี่ยวข้อง:
bisphosphonate osteoporosis Paget’s disease osteonecrosis of the jaw ONJ oral bisphosphonate cancer-related condition drug potency alendronate pamidronate ibandronate risedronate zoledronate MHRA the Medicines and Healthcare Products Re
 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้