หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Ergot derivatives กับการเกิด fibrosis และ ergotism

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน ธันวาคม ปี 2556 -- อ่านแล้ว 6,806 ครั้ง
 
Ergot derivatives เป็นยากลุ่มอัลคาลอยด์ที่พัฒนามาจากเชื้อราพวก ergot เมื่อไม่นานมานี้ The European Medicines Agency’s Committee for Medicinal Products for Human Use (CHMP) ได้ทบทวนข้อมูลยาในกลุ่มนี้จำนวน 5 ตัว คือ dihydroergocristine, dihydroergotamine, dihydroergotoxine, nicergoline, และ dihydroergocryptine ที่ผสมกับ caffeine จากข้อมูลพบว่ายาเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด fibrosis และ ergotism ซึ่ง fibrosis เป็นภาวะการเกิดพังผืดที่อาจรุนแรงจนเสียชีวิตได้ ความผิดปกตินี้วินิจฉัยได้ยาก เกิดขึ้นอย่างช้าๆ และอาจเกิดแบบถาวร ส่วน ergotism เป็นความผิดปกติที่เกิดเนื่องจากการบีบตัวอย่างมากของหลอดเลือดส่วนปลายจนอาจเกิดภาวะ gangrene ที่ปลายมือหรือปลายเท้า เป็นต้น

คณะกรรมการ CHMP ได้ให้ความเห็นว่ายา ergot derivatives ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นไม่ควรนำมาใช้สำหรับรักษาภาวะที่เกี่ยวกับความผิดปกติของการไหลเวียนของเลือด (blood circulation problems) หรือความผิดปกติด้านความจำ (memory) และการรู้สึก (sensation) หรือการใช้เพื่อป้องกันโรคปวดศีรษะไมเกรน (migraine headache) เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อผลเสียที่กล่าวมามากกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ การใช้ตามข้อบ่งใช้เหล่านั้นจึงถูกยับยั้งไว้ก่อน อย่างไรก็ตามในข้อบ่งใช้อื่นๆ ยังคงอนุญาตให้ใช้ได้ ได้แก่ dementia (ซึ่งรวมถึง Alzheimer's disease) และการรักษาโรคปวดศีรษะไมเกรนเฉียบพลัน (acute migraine headache)



อ้างอิงจาก:

(1) Ergot derivatives: restricted use. WHO Drug Information Vol. 27, No. 3, 2013;27(3):225; (2) http://www.medscape.com/viewarticle/807122; (3) http://www.drugs.com/news/new-restrictions-medicines-containing-ergot-derivatives-45622.html


คำค้นที่เกี่ยวข้อง:
ergot derivative dihydroergocristine dihydroergotamine dihydroergotoxine nicergoline dihydroergocryptine caffeine blood circulation problem dementia Alzheimer's disease migraine
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.4 ยาอันตรายควบคุม (Controlled dangerous drugs)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้