หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โรคหนองในกับแนวทางการรักษาใหม่

โดย นศภ.พีรวัส น้อยภาษี ภายใต้คำแนะนำของ อาจารย์ ภญ.กชรัตน์ ชีวพฤกษ์ เผยแพร่ตั้งแต่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2568 -- 262 views
 

โรคหนองในคืออะไร1

หนองในเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยในปี พ.ศ. 2563 พบผู้ป่วยโรคหนองใน จำนวน 82 ล้านคน จาก 374 ล้านคน ที่ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ทั่วโลก ซึ่งกลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ 15-24 ปี โรคนี้สามารถพบได้ทั้งในเพศชายและหญิง และแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ หนองในแท้และหนองในเทียม โรคนี้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องผู้ป่วยอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การอักเสบในอุ้งเชิงกรานหรือภาวะมีบุตรยาก ซึ่งล่าสุดมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการรักษาหนองในด้วยยาของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2564 บทความนี้จึงรวบรวมข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการเกิดโรคและแนวทางการรักษาหนองในเมื่อเปรียบเทียบกับอดีต

หนองในแท้ (gonorrhea)

สาเหตุ2 เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า “Neisseria gonorrhoeae” ซึ่งแพร่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์จากน้ำอสุจิและน้ำในช่องคลอดเป็นหลัก หรือแพร่จากการสัมผัสเชื้อโดยตรง เช่น การแพร่จากมารดาที่ติดเชื้อสู่ทารกผ่านการคลอดทางช่องคลอดทำให้เยื่อบุตาเกิดการติดเชื้อได้

อาการ1,2 ในเพศชายร้อยละ 10 และผู้หญิงร้อยละ 50 จะไม่แสดงอาการ ในกรณีที่มีอาการแสดงจะเริ่มแสดงเมื่อได้รับเชื้อไปแล้ว 1-14 วัน ซึ่งอาการแสดงจะแตกต่างกันในแต่ละเพศ คือ

- เพศชาย: พบหนองไหลออกมาจากท่อปัสสาวะ ปัสสาวะแสบขัด ในบางรายอาจมีลูกอัณฑะอักเสบ หรือเป็นฝีที่บริเวณอวัยวะเพศ

- เพศหญิง: พบตกขาวผิดปกติ ไม่คัน ปากมดลูกอักเสบ หรือมีโรคหนองในเทียมร่วมด้วยหนองที่่ปากมดลูก

นอกจากนี้ยังสามารถพบหนองในแท้ที่เยื่อบุตาได้ โดยมีอาการแสดง เช่น ตาแดงมาก เปลือกตาบวม ปวดตา ตามัวลง มีขี้ตาหรือน้ำหนองไหลออกจากตาตลอดเวลา กดเจ็บที่่ดวงตา ซึ่งสามารถเกิดที่ตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ ในบางรายอาจพบเลือดออกใต้เยื่อบุตาขาว (subconjunctival hemorrhage)

การรักษา1,4 แบ่งเป็น 2 ประเภทตามอวัยวะที่ติดเชื้อ โดยการใช้ยารักษาทั้งแบบใหม่ซึ่งระบุในแนวทางการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พ.ศ. 25671 และเดิมซึ่งระบุในแนวทางการดูแลรักษาโรคหนองใน พ.ศ. 25624 คือ

1. หนองในแท้ที่่อวัยวะเพศ คอ และทวารหนัก ทั้งนี้แนะนำให้รักษาหนองในเทียมร่วมด้วย เนื่องจากประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยโรคหนองในมักมีการติดเชื้อหนองในเทียมร่วมด้วย แต่กรณีที่ได้รับ azithromycin ไม่จำเป็นต้องเพิ่มยารักษาโรคหนองในเทียมอีก1,4

ใหม่1

เดิม4

ยาแนะนำ

ceftriaxone 1 g

ฉีดเข้ากล้ามเนื้อครั้งเดียว

ceftriaxone 500 mg

ฉีดเข้ากล้ามเนื้อครั้งเดียว

ยาทางเลือก

cefixime 800 mg และ azithromycin 2 g

รับประทานครั้งเดียว

cefixime 400 mg

รับประทานครั้งเดียว

2. หนองในแท้ที่เยื่อบุุตา และเช่นเดียวกับหนองในแท้ที่อวัยวะเพศ คอ และทวารหนัก แนะนำให้การรักษาโรคหนองในเทียมร่วมด้วย นอกจากนี้ยังแนะนำให้้ทำการล้างตาด้วยน้ำเกลือที่ปราศจากเชื้อบ่อย ๆ เมื่อมีขี้ตาจำนวนมาก หากอาการไม่ดีขึ้นให้ปรึกษาจักษุแพทย์1,4

ใหม่1

เดิม4

ยาแนะนำ

ceftriaxone 1 g

ฉีดเข้ากล้ามเนื้อครั้งเดียว

ceftriaxone 1 g

ฉีดเข้ากล้ามเนื้อครั้งเดียว

ประเด็นน่าสนใจอื่น ๆ

- คู่นอนที่มีเพศสัมพันธ์ภายใน 60 วัน ควรได้รับการรักษาเช่นเดียวกับผู้ป่วย1,2

- หญิงตั้งครรภ์/ให้นมบุตร แนะนำ ceftriaxone 1 g ฉีดเข้ากล้้ามเนื้อครั้งเดียว1

- การติดเชื้อหนองในแท้ในทารกแรกเกิด มักพบที่บริเวณเยื่อบุตาเป็นหลักจากการติดเชื้อทางช่องคลอด ยาที่ใช้รักษา คือ ceftriaxone 25-50 mg/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (ไม่่เกิน 250 mg) ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือให้้ยาทางหลอดเลือดดำครั้งเดียว1

- กรณีพบการติดเชื้อหนองในแท้ในเด็กที่่ไม่่ใช่่ทารกแรกเกิด ควรพิจารณาหรือคำนึงถึงการล่วงละเมิดทางเพศ ดังนั้นควรให้เด็กเข้ารับการประเมินและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อสืบสวน รักษา และปกป้องเด็กอย่างเหมาะสม หากเป็นกรณีีถููกล่วงละเมิดทางเพศต้องดำเนินการทางนิติิเวชต่อไป ยาที่ใช้รักษาขึ้นกับบริเวณอวัยวะที่ติดเชื้อและขนาดน้ำหนักตัวของเด็ก1

- ยาที่ใช้รักษาโรคหนองในแท้ที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก และช่องคอในเด็ก คือ ceftriaxone ซึ่งมีขนาดยาแนะนำขึ้นกับน้ำหนักตัว

หนองในเทียม (chlamydia)

สาเหตุ3 เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า “Chlamydia trachomatis” ซึ่งแพร่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ หรือจากมารดาที่ติดเชื้อสู่ทารกระหว่างการคลอด

อาการ1,3 พบว่าในเพศชายร้อยละ 50 และผู้หญิงร้อยละ 70-80 จะไม่แสดงอาการ ในกรณีที่มีอาการแสดงมักเริ่มขึ้นหลังได้รับเชื้อไปแล้ว 1-3 สัปดาห์ ซึ่งอาการแสดงจะแตกต่างกันไปในแต่ละเพศ

- เพศชาย: ปัสสาวะแสบขัด อาจมีีมูกใสหรือมูกขุ่นที่ท่อปัสสาวะ คันที่่ท่อปัสสาวะ ปวดที่ถุงอัณฑะ ปวดท้องน้อย

- เพศหญิง: ปัสสาวะแสบขัด เลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบเดือน ตกขาวผิดปกติ ปวดท้องน้อยหลังมีเพศสัมพันธ์

การรักษา1,4 แบ่งการรักษาเป็น 2 ชนิดตามอวัยวะที่ติดเชื้อเหมือนหนองใน ทั้งนี้แนวทางการรักษาล่าสุดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเล็กน้อยเช่นกัน ได้แก่

เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเล็กน้อยเช่นกัน ได้แก่

ใหม่1

เดิม4

ยาแนะนำ

doxycycline 100 mg

รับประทานวันละ 2 ครั้ง นาน 7 วัน

azithromycin 1 g

รับประทานครั้งเดียว

ยาทางเลือก

azithromycin 1 g

รับประทานครั้งเดียว

- doxycycline 100 mg

รับประทานวันละ 2 ครั้ง นาน 14 วัน

- Roxithromycin 150 mg
รับประทานวันละ 2 ครั้ง นาน 14 วัน

- erythromycin stearate 500 mg
รับประทานวันละ 4 ครั้ง นาน 14 วัน

1. หนองในเทียมที่่อวัยวะเพศ คอ และทวารหนัก ในแนวทางการรักษาใหม่ได้เปลี่ยนยาหลักที่แนะนำเป็น doxycycline ส่วนยาทางเลือกเป็น azithromycin เนื่องจาก doxycycline มีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อและมีอัตราการรักษาหายสูงกว่า นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มการดื้อยาต่ำกว่า azithromycin6 ส่วน roxithromycin และ erythromycin ใช้ระยะเวลาในการรักษานานอาจทำให้เกิดความร่วมมือในการใช้ยาต่ำ จึงไม่แนะนำ

2. หนองในเทียมที่เยื่อบุุตา เช่นเดียวกับหนองในเทียมที่่อวัยวะเพศ คอ และทวารหนัก แนะนำให้ใช้ doxycycline เป็นยาหลัก และไม่แนะนำ tetracycline และ erythromycin เนื่องจากระยะเวลาในการรักษานาน อาจทำให้เกิดความร่วมมือในการใช้ยาต่ำ

ใหม่1

เดิม4

ยาแนะนำ

doxycycline 100 mg

รับประทานวันละ 2 ครั้ง นาน 10 วัน

azithromycin 1 gm

รับประทานครั้งเดียว

ยาทางเลือก

azithromycin 1 g

รับประทานครั้งเดียว

- tetracycline 250 mg
รับประทานละ 4 ครั้ง นาน 21 วัน

- erythromycin 500 mg
รับประทานวันละ 4 ครั้ง นาน 21 วัน

- doxycycline 100 mg
รับประทานวันละ 2 ครั้ง นาน 10 วัน

ประเด็นน่าสนใจอื่น ๆ

- คู่นอนที่มีเพศสัมพันธ์ภายใน 60 วัน ควรได้รับการรักษาเช่นเดียวกับผู้ป่วย1,3

- หญิงตั้งครรภ์/ให้นมบุตร ห้ามใช้้ doxycycline แนะนำให้ใช้ azithromycin 1 g รับประทานครั้งเดียว หรือ amoxicillin 500 mg รับประทานวันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน1

- เชื้อ Chlamydia trachomatis สามารถทำให้เกิดโรคปอดอักเสบในทารกได้ จึงต้องได้รับยาที่ครอบคลุมทั้งที่ตาและปอด โดยเด็กทารกจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดโดยแพทย์เฉพาะด้าน

- ยาที่่แนะนำในรักษาการติดเชื้อโรคหนองในเทียมในเด็กที่่ไม่่ใช่่ทารกแรกเกิดซึ่งติดเชื้อบริเวณช่องคลอด อวัยวะเพศ และทวารหนัก ขึ้นกับอายุและขนาดน้ำหนักตัวของเด็ก เช่น erythromycin, azithromycin และ doxycycline1

ผลข้างเคียงที่อาจพบได้จากการใช้ยารักษาหนองใน5

ผู้ที่ได้รับยาในการรักษาไม่ว่าจะเป็นชนิดใด อาจพบอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง ปวดศีรษะ ท้องเสีย ผื่นแพ้ทางผิวหนังได้ หากมีอาการแพ้ยาอย่างรุนแรง เช่น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ปากบวม เป็นต้น ควรหยุดยาและไปพบแพทย์ทันที

บทสรุป

โรคหนองในเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhoeae และ Chlamydia trachomatis ซึ่งสามารถแพร่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์หรือจากแม่สู่ลูกผ่านการคลอด อาการของโรคอาจไม่ชัดเจนและแตกต่างกันในแต่ละเพศ การรักษาจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ceftriaxone หรือ doxycycline ขึ้นอยู่กับประเภทของเชื้อ ทั้งนี้การป้องกันการติดเชื้อทำได้โดยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์และการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ควรงดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะได้รับการรักษาจนครบและอาการหายเป็นปกติ หรืออย่างน้อย 7 วัน หลังเริ่มการรักษาและควรให้คู่นอนได้รับการรักษาพร้อมกัน

เอกสารอ้างอิง

  1. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดูแลรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พ.ศ. 2567. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซน์; 2567.
  2. เจนจิต ฉายะจินดา. โรคติดเชื้อระบบสืบพันธุ์น่ารู้: โรคหนองใน. หน่วยโรคติดเชื้อทางนรีเวชและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สตรี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. 19 มีนาคม 2557. [เข้าถึงเมื่อ 17 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก : https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=895.
  3. เจนจิต ฉายะจินดา. โรคติดเชื้อระบบสืบพันธุ์น่ารู้ : การติดเชื้อคลาไมเดีย. หน่วยโรคติดเชื้อทางนรีเวชและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สตรี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. 19 มีนาคม 2557. [เข้าถึงเมื่อ 17 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก : https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp? aid =1083
  4. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดูแลรักษาโรคหนองใน พ.ศ. 2562. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซน์; 2562.
  5. Micromedex. Drug interaction [Internet]. 2025 [cited 2025 Jan 23]. Available from: https://www.micromedexsolutions.com.
  6. พิมพ์ชนก ปะดุกะ. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี. Comparison of the Effectiveness between Ceftriaxone with Azithromycin and Ceftriaxone with Doxycycline on the Treatment of Gonorrhea and Non-gonococcal Urethritis: a Systematic Review. [อินเทอร์เน็ต]. 24 พฤศจิกายน 2567. [เข้าถึงเมื่อ 5 ก.พ. 2568]. เข้าถึงได้จาก : https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JODPC8/article/view/1446

คำค้นที่เกี่ยวข้อง:
หนองในแท้ หนองในเทียม
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.2 เกลือแร่สำหรับท้องเสีย ORS (Oral Rehydration Salts)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้