บุคลากรรำลึก

ความรู้สึกถึงอาจารย์ประดิษฐ์ จากบุคลากรปัจจุบันและบุคลากรที่เกษียณอายุราชการ
   

โดย มัณฑนา ภาณุมาภรณ์ ลูกศิษย์ และอาจารย์ภาควิชาเภสัชกรรม

1013  Views  

ด้วยความเคารพอย่างสูง

 

เรื่องสั้นเล่าสู่กันฟังด้วยตัวอักษร ในฐานะลูกศิษย์และผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อรำลึกถึงอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร คณบดีคนแรกของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยความเคารพอย่างสูง เป็นเหตุการณ์จริงในอดีต

กลุ่มลูกศิษย์ 8 คน พ.ศ. 2505

ลูกศิษย์ “อาจารย์คะ เลี้ยงขนมหน่อย”

อาจารย์ยิ้ม ล้วงมือลงไปในกระเป๋ากางเกง หยิบเงินขึ้นมา 1 สลึง

อาจารย์ประดิษฐ์ “เอ้า เอาไปซื้อเม็ดแมงลักกินกัน” 

ไม่น่าเชื่อว่า ต่อมา เม็ดแมงลักจะกลายเป็นตำนานหนึ่งของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ศาสตราจารย์ ดร.ฉวี บุนนาค พ.ศ. 2514

อาจารย์ฉวี “คุณดิษฐ์ต้องการให้อาจารย์สมัครใจโอนย้ายไปอยู่คณะเภสัชศาสตร์พญาไท เอง เพราะคุณดิษฐ์ทราบดีว่าสวัสดิการคงสู้ทางคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ไม่ได้”

ดิฉันเป็นผู้หนึ่งที่เต็มใจโอนย้ายไปสังกัดคณะเภสัชศาสตร์พญาไท มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานนาม เปลี่ยนเป็น มหาวิทยาลัยมหิดล

 

อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร พ.ศ. 2515 

อาจารย์ประดิษฐ์ “ผมได้สิทธิเลือกก่อนคณะทันตแพทย์ ว่า จะย้ายคณะฯ ไปอยู่ที่ถนนโยธีหรือจะเลือกอยู่ที่คณะวิทยาศาสตร์เดิม บนถนนพญาไท ซึ่งมีตึกเก่า ร้าง ผมเลือกสถานที่หลัง เพราะทำเลติดถนนใหญ่ เหมาะแก่การเปิดร้านยา model ของคณะฯ ซึ่งต่อไปอาชีพเภสัชกรรมชุมชนจะเป็นอาชีพหลักอาชีพหนึ่งของเภสัชกร จำเป็นที่นักศึกษาจะต้องมีแหล่งฝึกที่เป็นแบบอย่าง”                                               

ด้วยวิสัยทัศน์ของอาจารย์ประดิษฐ์ ร้านยาของคณะจึงได้ถือกำเนิด ในปี พ.ศ. 2523

 

อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร  พ.ศ. 2523

คณบดีประดิษฐ์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน และได้มอบหมายให้อาจารย์มัณฑนา ภาณุมาภรณ์ เป็นผู้จัดการร้านยา autonomous แห่งนี้ของคณะ มีคณบดีเป็นผู้ประกอบการ  ยาในตู้ยาได้มาจากระบบ consignment แรก ๆ เปิดร้านยา มีลูกค้าน้อย เพราะคนไม่รู้จัก ต่อมาได้รับความช่วยเหลือจากนักศึกษาปีที่ 5 ช่วยทำประชาสัมพันธ์ให้

อาจารย์ประดิษฐ์  (พูดกับดิฉันซึ่งเป็นผู้จัดการร้านยาและอาจารย์ฝ่ายวิชาการของร้านยา) “ไม่ต้องกังวลและเครียดเรื่องลูกค้า ถ้าไม่มี เราก็ผลัดกันไปเล่นเป็นลูกค้า”                                                           

ด้วยภาวะผู้นำของอาจารย์ ทำให้พวกเรามีกำลังใจ การดำเนินการของร้านยาจึงบรรลุเป้าหมายภายใน 6 เดือน

 

อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร ณ สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน เช้าวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2528

อาจารย์ประดิษฐ์ “แต่งดำทำไม”

ผู้จัดการ “ไว้ทุกข์ให้คุณพ่อสามีค่ะ”

อาจารย์ประดิษฐ์ “อายุเท่าไหร่”

ผู้จัดการ “ 75 ปี ค่ะ”

อาจารย์ประดิษฐ์ “ผมไม่รู้ว่าจะอยู่ถึง 75 มั๊ย”

แล้วอาจารย์ก็จากไปประชุมที่กระทรวงสาธารณสุข และไม่ได้กลับมาที่ร้านยาคณะฯ อีกเลย ร้านยาคณะฯ ที่เป็น ร้านยา model แห่งแรกของคณะเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย ที่คณะเภสัชศาสตร์อื่นที่มีแผนจะเปิดร้านยาคณะมาขอดูงาน ร้านยาที่อาจารย์ประดิษฐ์รักและคอยแวะมาเยี่ยมทุกวันไม่เคยขาด ตั้งแต่เปิดร้านยาวันแรก จนกระทั่งวันสุดท้ายของชีวิต 

บทความอื่นๆ จากบุคลากรและผู้เกษียณฯ

รำลึกถึงอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร          ถ้าเอ่ยชื่อ อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร ทุกคนก็จะรำลึกถึงบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยม...

รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิง นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

"พระคุณที่ยิ่งกว่า  พระคุณที่สาม"ดิฉันเป็นศิษย์คนหนึ่งของ "ท่านอาจารย์ ประดิษฐ์ หุตางกูร" ผู้ก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เรียนหลักสูตร 5 ปี รุ่นที่ 4 พ.ศ. 2502-2507 จบเป็นบัณฑิตเภสัชศา...

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง เสริมสิริ วินิจฉัยกุล ภาควิชาชีวเคมี

“จำเนียร รำลึกถึง อาจารย์ประดิษฐ์”ขอเรียกตัวเองว่าจำเนียร ในเนื้อหาที่เขียนนี้ จำเนียร เริ่มทำงานที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประมาณปี พ.ศ. 2509 ขณะนั้น อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร เป็นเลขานุก...

นางจำเนียร ภวังคนันต์ เจ้าหน้าที่ธุรการ

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา