บุคลากรรำลึก

ความรู้สึกถึงอาจารย์ประดิษฐ์ จากบุคลากรปัจจุบันและบุคลากรที่เกษียณอายุราชการ
   

โดย รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิง เฉลิมศรี ภุมมางกูร ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันเป็นคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

2478  Views  

ความทรงจำอันเป็นทรัพย์มหาศาล

จดหมาย อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร ถึง อาจารย์เฉลิมศรี ภูมมางกูร

ขอขึ้นต้นบูชาด้วยจดหมายของอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร สิ่งนี้เป็นกำลังใจให้เฉลิมศรี ซึ่งกำลังตกอยู่ในภาวะลำบาก ขณะไปเรียนวิชา Clinical Pharmacy ด้วยทุน ก.พ. (ท่านอาจารย์ประดิษฐ์ เป็นผู้เสนอขอ ก.พ. พ.ศ. 2517) ไหนจะภาษา ไหนจะความยาก ในการเรียนวิชาใหม่ๆ ความเหงา สิ่งนี้คือกำลังใจที่มีค่ามหาศาล จึงทำให้มีชีวิตอยู่รอด และสำเร็จการศึกษา Clinical Pharmacy และดำเนินการตอบแทนท่านด้วยการจัดทำหลักสูตรดังกล่าวให้คณะเภสัชศาสตร์ มหิดลเป็นแห่งแรกของประเทศไทย

ท่านอาจารย์ประดิษฐ์ยังแนะนำให้เฉลิมศรีเรียนต่อปริญญาเอก ด้าน Clinical Pharmacy ซึ่งในเวลาต่อมาโดยความช่วยเหลือของ ศ.ดร.สุมนต์ สกลไชย ให้การสนับสนุนจนเฉลิมศรีสำเร็จได้ Ph.D. ด้าน Clinical Pharmacy จาก Cardiff University, Wales ประเทศสหราชอาณาจักร หลังจากนั้นเฉลิมศรีได้เพิ่มความสามารถทางวิชาชีพ (Board of Pharmacy) จากสภาเภสัชกรรม ขึ้นอีก

อาจารย์เฉลิมศรี ภูมมางกูร ในชุดครุยปริญญาเอก ถ่ายรูปต่อหน้ารูปหล่อของอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร

ผลงานของท่านอาจารย์ประดิษฐ์มีมากมาย

1. เป็นผู้ริเริ่มเภสัชกรรมคลินิก

2. เป็นผู้ริเริ่มคลังข้อมูลยา (Drug Information Center : DIC)

3. เป็นผู้ริเริ่มร้านยาในคณะเภสัชศาสตร์ มหิดล แต่ให้เรียก “สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน”

4. เป็นผู้ริเริ่มโรงงานยา ผลิตยาในคณะฯ

สำหรับตัวเฉลิมศรีเองไม่ได้อยู่เฉย พยายามทำสิ่งต่างๆ ที่มีประโยชน์ เช่น เภสัชกรรมคลินิก จะมีปัญหาจากการใช้ยา (Drug Related Problems : DRP) มี 9 หัวข้อ โดย Linda Strand

1. อาการไม่พึงประสงค์จากยา (Adverse Drug Reactions : ADR)

2. ปฏิกิริยาระหว่างยา-ยา, ยา-อาหาร เป็นต้น

3. การเลือกใช้ยาไม่เหมาะสม (Improper Drug Selection)

4. การประเมินการใช้ยา (Drug Use Evaluation : DUE)

5. การไม่ใช้ยาตามแพทย์สั่ง (Drug Compliance)

6. การให้ยาทางหลอดเลือดดำ (Intravenous Infusion)

7. Dosage too low

8. Dosage too high

9. Need for additional drug therapy 

นอกจากนี้ เฉลิมศรี ยังกระตุ้นให้เภสัชกรทำกิจกรรมการตรวจตราอาการไม่พึงประสงค์จากยา จนปัจจุบันเป็นกิจกรรมที่เภสัชกรทุกโรงพยาบาลต้องมี

คำว่า “การบริบาลทางเภสัชกรรม” ก็เป็นคำที่เฉลิมศรีบัญญัติขึ้น ให้เป็นคำแปลของ “Pharmaceutical Care”

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ มาจากวิสัยทัศน์ท่านอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร ท่านเดียว ซึ่งยังมีอีกมากมาย

ขอกราบบูชาและรำลึกถึง อาจารย์ ดร.(กิตติมศักดิ์) ประดิษฐ์ หุตางกูร ปูชนียบุคคลของเภสัชศาสตร์ตลอดกาล

บทความอื่นๆ จากบุคลากรและผู้เกษียณฯ

อาจารย์ดิษฐ์คะ อาจารย์ เป็นแบบอย่าง ที่ยอดเยี่ยมสำหรับเภสัชกรทุกคน มีความรู้ อดทน ขยันหมั่นเพียร ทำงานด้วยใจรัก รักและทุ่มเทให้สถาบัน ไม่โอ้อวด และอื่นๆอีกมากมาย ที่ไม่มีใครสักกี่คนที่จะทำตามได้หนูรู้...

ปริ่มเฉนียน มุ่งการดี รุ่น พ.ศ. 2512-2516

ด้วยความเคารพรักจาก ศิษย์นักศึกษาเภสัชศาสตร์รุ่นแรก ๆ ที่ได้เรียนกับท่านอาจารย์ ประดิษฐ์ หุตางกูร หลังท่านกลับจากศึกษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกานั้นมีดิฉันร่วมอยู่ด้วยคนหนึ่ง ซึ่งเป็นประมาณปี พ.ศ. 250...

รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ. จันทรา ชัยพานิช คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2536-2540) คณบดีคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (พ.ศ. 2540-2559)

อาจารย์ประดิษฐ์… ผู้เป็นเสมือนพ่อคอบดูแลลูก (ลูกน้อง)เริ่มเข้าทำงานที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อ พ.ศ. 2512 ดิฉันประทับใจ อ.ประดิษฐ์ มาก ท่านเป็นเสมือนพ่อคอยดูแลลูก (ลูกในที่นี้ ที่จริง...

รองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง อรุณี สาระยา ภาควิชาจุลชีววิทยา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา