บุคลากรรำลึก

ความรู้สึกถึงอาจารย์ประดิษฐ์ จากบุคลากรปัจจุบันและบุคลากรที่เกษียณอายุราชการ
   

โดย นางจำเนียร ภวังคนันต์ เจ้าหน้าที่ธุรการ

998  Views  

“จำเนียร รำลึกถึง อาจารย์ประดิษฐ์”

ขอเรียกตัวเองว่าจำเนียร ในเนื้อหาที่เขียนนี้ จำเนียร เริ่มทำงานที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประมาณปี พ.ศ. 2509 ขณะนั้น อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร เป็นเลขานุการคณะฯ 

จนกระทั่ง อาจารย์ประดิษฐ์ ไปตั้งคณะใหม่ที่ ทุ่งพญาไท ประมาณปี พ.ศ. 2512 และเจ้าหน้าที่ มี

  1. พี่แหม่ม (นางดาวพิมล เรืองแสงดี) 
  2. นางจำเนียร ภวังคนันต์
  3. นายทองอินทร์ พฤศชาติ

มี 3 คนเอง

ประมาณ ปี พ.ศ. 2514 พวกเรา 3 คน ก็ย้ายมาอยู่คณะเภสัชฯ แห่งใหม่ที่ ถนนศรีอยุธยา ต่อมาคณะเภสัชฯ ก็ได้รับเจ้าหน้าที่ – คนงานเพิ่มเติมอีกมากมาย อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร เป็นคนมีเมตตา ไม่พูดเยอะ ใคร ๆ ที่ทำผิด อาจารย์ก็เรียกมาสอบสวนด้วยตัวเองก่อน เหมือนพ่อดุลูก ๆ เลย เท่าที่จำเนียรทำงานมากับอาจารย์นะ อาจารย์มาทำงานเช้ามาก ๆ เลยค่ะ สังเกตดูพวกเรา (อาจารย์และเจ้าหน้าที่) แทบทุกคน จำเนียรด้วยไม่รู้ว่ากลัวอะไรอาจารย์ประดิษฐ์ เวลาจะเข้าหาอาจารย์นะ ต้องแอบดูก่อนทั้ง ๆ ที่อาจารย์ไม่ดุเลย พูดก็น้อย จำเนียรรู้สึกว่าอาจารย์มีบารมีมาก ๆ เป็นอาจารย์ที่น่ารักมากค่ะ มีเมตตากับลูกน้องทุก ๆ คนทั้งอาจารย์และเจ้าหน้าที่ค่ะ

บทความอื่นๆ จากบุคลากรและผู้เกษียณฯ

"พระคุณที่ยิ่งกว่า  พระคุณที่สาม"ดิฉันเป็นศิษย์คนหนึ่งของ "ท่านอาจารย์ ประดิษฐ์ หุตางกูร" ผู้ก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เรียนหลักสูตร 5 ปี รุ่นที่ 4 พ.ศ. 2502-2507 จบเป็นบัณฑิตเภสัชศา...

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง เสริมสิริ วินิจฉัยกุล ภาควิชาชีวเคมี

อาจารย์ผู้เป็นที่เคารพอย่างสูงอาจารย์ประดิษฐ์เป็นหลาย ๆ อย่างในชีวิตของลูกศิษย์และผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีโอกาสพบอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร เป็นครั้งแรกเมื่อเริ่มเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ในชั้นเรียนปีที่&nbs...

วิมล ศรีศุข ศิษย์เภสัชจุฬาฯรุ่น 30/เภสัชมหิดลรุ่น 0 และอาจารย์ภาควิชาอาหารเคมี

บูชาคุณครู “ประดิษฐ์ หุตางกูร ก่อนเริ่มบทความนี้ขอบูชาคุณครูด้วยบทร้อยกรองของอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ครูคือครู“ใครคือครู ครูคือใคร ในวันนี้ ใช่อยู่ที่ปริญญามหาศาลใช่อยู่ที่เรียกว่า ครู อาจารย...

รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิง เฉลิมศรี ภุมมางกูร ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันเป็นคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา