บุคลากรรำลึก

ความรู้สึกถึงอาจารย์ประดิษฐ์ จากบุคลากรปัจจุบันและบุคลากรที่เกษียณอายุราชการ
   

โดย รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิง นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

1070  Views  

รำลึกถึงอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร

          ถ้าเอ่ยชื่อ อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร ทุกคนก็จะรำลึกถึงบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงการพัฒนางานเภสัชกรรมอุตสาหกรรมในประเทศไทย ตลอดจนนโยบายสำคัญของประเทศที่เกี่ยวกับยา สำหรับดิฉันแล้วซึ่งเป็นลูกศิษย์รุ่น ๓ ของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชวินิจฉัย ตั้งแต่ปี ๒๕๑๙ อาจารย์ประดิษฐ์เป็นคณบดีในสมัยนั้น อาจารย์เปรียบเสมือนพ่ออีกคนของดิฉัน เนื่องจากตอนที่ดิฉันเป็นนักศึกษา และเป็นหัวหน้าทีมวอลเล่ย์บอลหญิงของคณะเภสัชศาสตร์ อาจารย์ประดิษฐ์จะไปให้กำลังใจทุกนัดที่มีการแข่งขันกับคณะอื่น ๆ เมื่อเข้ามาบรรจุเป็นอาจารย์ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย อาจารย์ประดิษฐ์จะดูแลอาจารย์ทุกคนเป็นอย่างดี อาจารย์ปกครองพวกเราอย่างมีความเมตตาและความยุติธรรม อาจารย์ให้ความเป็นกันเองกับอาจารย์และข้าราชการฝ่ายสนับสนุนทุกคน อาจารย์ปกครองพวกเราเหมือนกับพ่อปกครองลูก 

          ในโอกาส ๑๐๐ ปีชาตกาล อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร พวกเราชาวเภสัช มหิดล รู้สำนึกในคุณงามความดี และเกียรติคุณของอาจารย์ และจะนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

บทความอื่นๆ จากบุคลากรและผู้เกษียณฯ

ร่วมรำลึกและสืบสานปณิธาน “100 ปีชาตกาลอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร”            ในฐานะที่ดิฉันเป็นทั้งลูกศิษย์ เป็นผู้ร่วมงาน และเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา...

ฤดี เสาวคนธ์ อาจารย์ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

ระลึกถึงอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูรข้าพเจ้าขอรำลึกถึงอาจารย์ประดิษฐ์ ใน 3 สถานภาพ คือ เมื่อท่านเป็นอาจารย์ ผู้ร่วมงาน และผู้บังคับบัญชาตอนที่ข้าพเจ้าเป็นนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ม.แพทยศาสตร์ ยังจำได้ว่าพวกเรา...

อรพรรณ มาตังคสมบัติ อาจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยา

อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร ผู้อยู่ในความทรงจำของดิฉันเมื่อครั้งเป็นนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ม.แพทยศาสตร์ ที่เรียนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ดิฉันรับรู้ได้ว่า อาจารย์ประดิษฐ์ มีจิตวิญญาณของความเป็นครู ที่จะอ...

พจนีย์ สุริยะวงค์ ลูกศิษย์ และอาจารย์ภาควิชาจุลชีววิทยา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา