บุคลากรรำลึก

ความรู้สึกถึงอาจารย์ประดิษฐ์ จากบุคลากรปัจจุบันและบุคลากรที่เกษียณอายุราชการ
   

โดย ยุพิน รุ่งเวชวุฒิวิทยา ศิษย์เภสัชมหิดลรุ่น 1 และอาจารย์ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

1329  Views  

เคารพรักและระลึกถึง อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร

 

สมัยเป็นนักศึกษา ด้วยบุคคลิกเคร่งขรึมแต่แววตาใจดีมีเมตตาของอาจารย์ประดิษฐ์ทำให้รู้สึกทั้งเคารพและยำเกรง

เวลาสอนนอกจากวิชาการ อาจารย์จะสอนความรับผิดชอบในฐานะเภสัชกรร่วมด้วยเสมอ

พวกเราเห็นอาจารย์แล้วมักหลบด้วยความเกรงผู้ใหญ่ แต่อาจารย์จะเข้าหาพูดคุยด้วยอย่างเป็นกันเองอยู่บ่อยๆ 

 

เมื่อเข้าทำงานเป็นอาจารย์ในภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรมซึ่งขณะนั้นอาจารย์เป็นหัวหน้าภาควิชา นอกจากงานประจำแล้วอาจารย์ยังชักชวนให้ทำงานให้กลุ่มเภสัชกรการอุตสาหกรรม เช่นช่วยกระจายวารสารวิชาการของกลุ่มให้สมาชิกโดยไม่คิดเงิน อาจารย์เป็นตัวอย่างในการทำงานเพื่อส่วนรวม ตลอดการทำงานได้เห็นอาจารย์อุทิศตนเพื่อความเจริญก้าวหน้าให้วงการเภสัชกรรม วงการการศึกษา วงการเภสัชอุตสาหกรรมอย่างมากมาย 

 

โดยส่วนตัวอาจารย์ให้ข้อคิดในการใช้ชีวิต

"เมื่อตัดสินใจทำอะไรโดยคิดดีแล้ว ก็ไม่ต้องมาเสียใจในภายหลัง"  

"ให้ดำเนินชีวิตเราอย่างเป็นสุข"   

ซึ่งเป็นประโยชน์กับตัวเองมาจนถึงปัจจุบัน

 

เคารพรักและระลึกถึง อาจารย์ประดิษฐ์อยู่เสมอ

บทความอื่นๆ จากบุคลากรและผู้เกษียณฯ

ระลึกถึงอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูรข้าพเจ้าขอรำลึกถึงอาจารย์ประดิษฐ์ ใน 3 สถานภาพ คือ เมื่อท่านเป็นอาจารย์ ผู้ร่วมงาน และผู้บังคับบัญชาตอนที่ข้าพเจ้าเป็นนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ม.แพทยศาสตร์ ยังจำได้ว่าพวกเรา...

อรพรรณ มาตังคสมบัติ อาจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยา

ด้วยความเคารพรักจาก ศิษย์นักศึกษาเภสัชศาสตร์รุ่นแรก ๆ ที่ได้เรียนกับท่านอาจารย์ ประดิษฐ์ หุตางกูร หลังท่านกลับจากศึกษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกานั้นมีดิฉันร่วมอยู่ด้วยคนหนึ่ง ซึ่งเป็นประมาณปี พ.ศ. 250...

รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ. จันทรา ชัยพานิช คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2536-2540) คณบดีคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (พ.ศ. 2540-2559)

อาจารย์ประดิษฐ์… ผู้เป็นเสมือนพ่อคอบดูแลลูก (ลูกน้อง)เริ่มเข้าทำงานที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อ พ.ศ. 2512 ดิฉันประทับใจ อ.ประดิษฐ์ มาก ท่านเป็นเสมือนพ่อคอยดูแลลูก (ลูกในที่นี้ ที่จริง...

รองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง อรุณี สาระยา ภาควิชาจุลชีววิทยา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
Copyright © 2021 - 2025
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา